ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สุสานใต้ทะเลไขปริศนาฉลามตายแล้วไปไหน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 17, 14, 21:24:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ภาพบันทึกจากกล้องใต้น้ำระหว่างทำการสำรวจก้นทะเลให้แก่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่งแองโกลา เมื่อราวสามปีก่อน สร้างความตื่นตะลึงแก่นักวิจัย เมื่อสิ่งที่พบกลายเป็นสุสานซากฉลามวาฬ 1 ซากและกระเบน 3 ซาก กองรวมกันอยู่ ณ ก้นมหาสมุทรแบบบังเอิญ โดยมีเพื่อนร่วมท้องทะเลราว 50 ตัวรุมกินเป็นอาหารอยู่รายรอบ ช่วยให้เข้าใจว่าสัตว์น้ำขนาดใหญ่ตายแล้วไปไหน และจะถูกรีไซเคิลอย่างไร


ดร.นิค ฮิกส์ จากสถาบันทางทะเล มหาวิทยาลัยพลีมัธ กล่าวกับบีบีซีว่า ที่ผ่านมา มีการวิจัยเกี่ยวกับซากวาฬ (whale-fall) มากมาย แต่เรายังไม่เคยทราบชะตากรรมซากสัตว์ทะเลขนาดใหญ่อื่นบนพื้นทะเลเลย

ซากวาฬ ณ ความลึกหลายพันเมตร เป็นแหล่งระบบนิเวศอันซับซ้อนเลี้ยงปากท้องชุมชนสัตว์น้อยใหญ่ใต้น้ำเป็นสิบปี ดึงดูดนักกินตัวแรกอย่างเช่น ฉลาม ก่อนที่ตัวอื่นๆ จะตามมา อาทิ ปู และแมลงน้ำคล้ายกุ้งที่เรียกว่า แอมฟิพอดส์ หนอนกินกระดูก (Osedax) และแบคทีเรียที่ย่อยสลายไขมัน


จากการสังเกตการณ์สุสานที่พบนอกฝั่งแองโกลาผ่านยานใต้น้ำติดกล้องวิดีโอควบคุมระยะไกล ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นกิจกรรมสลายซากฉลามวาฬ และกระเบนโมบูลา เป็นครั้งแรก

ซากเหล่านี้พบช่วงปี 2551-2553 บนพื้นที่ใต้ทะเล 1 ตารางกิโลเมตร และน่าจะตายมาแล้วประมาณเดือนหรือสองเดือน


นักวิจัยระบุว่า ซากฉลามและกระเบน เป็นอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตในละแวกนั้นราว 4% เป็นอาหารมากพอเลี้ยงชุมชนแถวนั้นนับสัปดาห์หรือเป็นเดือน ในแต่ละครั้ง โดยพบปลาสามถึงสี่ชนิด ประมาณ 50 ตัว โดยมากเป็นปลาไหลเพาท์ที่วนเวียนอยู่รอบซากปลา ดูเหมือนเพื่อคุ้มกัน และเพื่อรอตะครุบพวกแอมฟิพอดส์ที่มากินซากอีกต่อหนึ่ง แต่นักวิจัยไม่พบสัตว์อื่น อาทิ หนอนกินกระดูก เหมือนกับกรณีของซากวาฬ

ดร.ฮิกส์ กล่าวว่า การขาดหลักฐานไม่ใช่ว่าไม่มี และเชื่อว่าระบบนิเวศจากซากสัตว์ใหญ่ ไม่ต่างจากซากวาฬนัก แต่ที่ไม่แน่ใจคือเหตุใดซากสัตว์ทั้งสี่ตัว จึงมารวมกันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งเดียว ในเมื่อสัตว์ผิวน้ำพวกนี้มีอยู่มากมาย และเมื่อตายก็น่าจะมีซากสัตว์ดาษดื่นบนพื้นทะเล

ที่มา -