ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ไทยเป็นประเทศเดียวที่คัดค้านสนธิสัญญาใช้แรงงานฉบับใหม่ของ ไอแอลโอ

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 12, 14, 19:57:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ที่ประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ รับรองสนธิสัญญาฉบับใหม่ ว่าด้วยการบังคับใช้แรงงาน โดยไทยเป็นประเทศเดียวที่คัดค้าน


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 57 ว่า ผู้กระทำผิดฐานบังคับใช้แรงงาน ซึ่งมีผู้ตกเป็นเหยื่อราว 21 ล้านคนทั่วโลก จะถูกลงโทษโดยประเทศส่วนใหญ่ ภายใต้สนธิสัญญาของสหประชาชาติ ที่บรรลุข้อตกลงเมื่อวันพุธ จากการประชุมใหญ่ประจำปีระดับรัฐมนตรีของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ แม้ว่าสนธิสัญญาฉบับนี้จะถูกคัดค้านโดยรัฐบาลไทย และกลุ่มประเทศอาหรับเกือบทั้งหมดก็ตาม

แถลงการณ์ของ ไอแอลโอ ระบุว่า กว่าครึ่งของประชาชนประมาณ 21 ล้านคน ที่ถูกบังคับใช้แรงงาน เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งผู้กระทำได้ผลกำไรโดยผิดกฎหมาย คิดเป็๋นมูลค่าตามประเมิน 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในภาคการเกษตร การประมง เหมืองแร่ การก่อสร้าง คนใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรมขายบริการทางเพศ

สนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งเป็นพิธีสารต่อท้าย อนุสัญญาบังคับใช้แรงงาน ปี ค.ศ. 1930 ของ ไอแอลโอ มีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติดังกล่าว โดยกำหนดให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ร่วมตกลงและให้สัตยาบัน ระบุและเปิดเผยตัวตนผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมทั้งรับประกันว่าเหยื่อจะได้รับค่าชดเชย และผู้กระทำผิดต้องได้รับการลงโทษ  นายเดวิด การ์เนอร์ ประธานคณะกรรมาธิการบังคับใช้แรงงาน การประชุมประจำปีของ ไอแอลโอ กล่าวต่อที่ประชุม ว่า ความตกลงที่บรรลุแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของประชาคมโลก ที่จะร่วมมือกันทำงาน เพื่อไปสู่การกำจัดการบังคับใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ


รัฐบาลไทยเป็นประเทศเดียวที่คัดค้านสนธิสัญญาฉบับนี้ ขณะที่ บาห์เรน บรูไน อิหร่าน คูเวต โอมาร์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และ เยเมน อยู่ในกลุ่มประเทศที่งดออกเสียง ทั้งนี้ จากการประเมินของ นางบีตตี แอนดรีส หัวหน้าโครงการปฏิบัติการพิเศษ สำหรับการต่อต้านการบังคับใช้แรงงานของ ไอแอลโอ คาดว่า ภูมิภาคตะวันออกกลางมีผู้ถูกบังคับใช้แรงงานประมาณ 600,000 คน

นางแอนดรีส กล่าวอีกว่า ผลการศึกษาของ ไอแอลโอ พบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานในประเทศไทย ในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการประมง รวมทั้งแรงงานคนใช้ในบ้าน ซึ่งมักเป็นแรงงานอพยพจากพม่า อินโดนีเซีย และบังกลาเทศ.

ที่มา -