ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

"จีน" เอาจริง ศก.ทางทะเล เส้นทางสายไหมผ่าน "อาเซียน"

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 19, 14, 20:02:08 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ รู้จักอาเซียน

หลังจากที่นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเข้าร่วมการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 2 ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีนายหลิว เจิ้นหมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เป็นประธานร่วมในการประชุมในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีน-อาเซียน มีการพูดคุยถึงเรื่องการส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครง สร้างพื้นฐานแห่งอาเซียน หรือ Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับประเทศในเอเชียเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการเชื่อมโยงในภูมิภาค และจีนอยากที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล และส่งเสริมเส้นทาง "สายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21"


การคลอดเส้นทางสายไหมทางทะเล มีการพูดถึงครั้งแรกจากปากนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ระหว่างการเข้าร่วมประชุมอาเซียนจีนครั้งที่ 16 ที่บรูไน และการเยือนรัฐสภาอินโดนีเซียของสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ในเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา

ดูเหมือนอาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ตอบโจทย์ "ยุทธศาสตร์ไห่หยาง" ยุทธศาสตร์ที่จีนนำมาใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์จากทะเลทั้งบนผิวน้ำและลึกลงไป ใต้สมุทร ที่รัฐบาลจีนประกาศออกมาก่อนหน้านี้

หากลองกางแผนที่ดู เส้นทางสายไหมทางทะเลต้องคาบเกี่ยวกับ "อาเซียน" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากจีนต้องการระบายสินค้าต่อไปยังยุโรป แอฟริกา หรืออาหรับตะวันออกกลาง และที่น่าสังเกตคือ เรื่องเส้นทางดังกล่าวถูกพูดขึ้นอีกครั้งระหว่างการประชุมกับอาเซียน และบนแผ่นดินของประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ของอาเซียน

แต่ปัญหาย่อมมีอยู่ จากประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระแคะระคายอยู่กับ "เวียดนาม" และ "ฟิลิปปินส์" เป็นหลัก และที่เหลือคือ มาเลเซียและบรูไนที่มีบทบาทไม่เท่าสองประเทศดังกล่าว

แต่เส้นทางสายไหมทางทะเลจะทำให้จีนพยายามลดความตึงเครียดกับเพื่อนบ้านอาเซียน โดยสถาบันศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ โปลิช จากโปแลนด์ เรื่องนโยบายการทูตเรื่องเส้นทางสายไหมระบุว่า จีนพยายามหาพวกพ้องในอาเซียน อย่างการเสนอข้อตกลงทางการค้าที่ให้ผลกำไรงามแก่ประเทศคู่เจรจาอย่าง มาเลเซียและไทย และการใช้พูดคุยด้านการเมืองอย่างเห็นอกเห็นใจ รวมไปถึงเรื่องความมั่นคง


ที่สำคัญเรื่องเส้นทางดังกล่าวของจีนจะไปผูกรวมกับแนวคิดกรอบความร่วมมือ 2+7 อย่าง 2 ประเด็นที่ประกอบด้วย หลักการการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจบนพื้นฐาน

ผลประโยชน์ระหว่างกัน ส่วน 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การลงนามสนธิสัญญาต่าง ๆ เพื่อแสดงความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของอาเซียน 2) เร่งรัดให้การเจรจาต่าง ๆ ส่งผลมากขึ้น อย่างข้อตกลง

การค้าเสรีอาเซียน-จีน และการค้าเสรีอาเซป (RCEP) 3) การเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคร่วม 4) การเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินภูมิภาคและความร่วมมือป้องกันความเสี่ยง

5) ความร่วมมือทางทะเลอย่างใกล้ชิด 6) กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคง และ 7) เพิ่มพูนและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน

ทั้งด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และความร่วมมือในการป้องกันภัยธรรมชาติเห็นได้ว่า "จีน" เอาจริง ไม่ต่างกับ "ญี่ปุ่น" ที่เอาจริงเช่นกันในด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์กับอาเซียน แต่มีคำถามอยู่ว่า "อาเซียน" เอาจริงหรือยังกับกิจการภายในระหว่างสมาชิกของตนเอง

ที่มา -