ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

คมนาคม มีมติแก้สัญญาสัมปทานบริหารแหลมฉบัง หลังเอกชนขอปรับแผน

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 31, 14, 22:18:05 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 กรกฎาคม 2557 - นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อหามาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด ในการให้บริการที่ท่าเรือแหลมฉบังว่า ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงการดำเนินงานตามสัญญาลงทุนก่อสร้าง บริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1,D2 และ D3 ของบริษัทฮัทชิสันฯ กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.)


โดย กทท.ได้เสนอแผนการก่อสร้างและจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้าที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาแก้ไขสัญญาสัมปทานเดิม โดยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ฉบับใหม่) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ยกเลิกการดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 เดิม และให้ใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 แทน ซึ่งจะมีการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาตามาตรา 47 โดยให้กทท.ไปดำเนินการตามขั้นตอนในพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ใหม่

ทั้งนี้ ตามสัญญาให้บริษัทฮัทชิสันฯเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1,D2 และ D3 ระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ 1 พย.47-31 ต.ค.77 โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือชุด D (D1,D2, D3) ความยาวรวม 1,700 เมตร เมื่อปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า A3, C1, C2 มากกว่า 75% ของขีดความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้า (4 แสนทีอียู,1.4 ล้านทีอียูและ1 ล้านทีอียูต่อปี) แต่ไม่เกิน 7 ปี นับจากสัญญามีผล หรือแล้วเสร็จในปี 2554 ซึ่งบริษัทฯได้เสนอขอปรับแผนการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D โดยทยอยก่อสร้างใน 5 ปี (ปี 59 สร้าง 300 เมตร ปี 61 และ 62 สร้างปีละ 400 เมตร ปี 63 และ 64 สร้างอีกปีละ 300 เมตร) และปรับแผนจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้า(เครน) เป็นทยอยการติดตั้งให้สอดคล้องกับการก่อสร้างท่าเรือชุด D โดยยังคงชำระผลประโยชน์ตอบแทนให้กทท.ตามสัญญาเดิมทุกประการ

ที่มา -




คมนาคมเร่งแก้สัมปทานท่าเรือ "ฮัทชิสัน" อ้างวิกฤตขอทยอยลงทุนก่อสร้าง

"คมนาคม" เตรียมตั้ง กก.มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 56 แก้สัมปทาน "ฮัทชิสัน" บริหารท่าเรือแหลมฉบังแทน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เดิม สั่ง กทท.เตรียมพร้อม เผยเอกชนขอปรับทยอยลงทุนสร้างท่าเรือชุด D อ้างเหตุปริมาณตู้สินค้าเติบโตต่ำกว่าเป้า โดยคงจ่ายผลตอบแทนให้รัฐตามสัญญาเดิม


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด ในการให้บริการที่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานวานนี้ (30 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการดำเนินงานตามสัญญาลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1, D2 และ D3 ของบริษัทฮัทชิสันฯ กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ซึ่ง กทท.ได้เสนอแผนการก่อสร้างและจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้าที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาแก้ไขสัญญาสัมปทานเดิม โดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ฉบับใหม่) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ยกเลิกการดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 เดิม และให้ใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 แทน ซึ่งจะมีการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 โดยให้ กทท.ไปดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ใหม่

ทั้งนี้ ตามสัญญาให้บริษัทฮัทชิสันฯ เป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1, D2 และ D3 ระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง 31 ตุลาคม 2577 โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือชุด D (D1, D2, D3) ความยาวรวม 1,700 เมตร เมื่อปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า A3, C1, C2 มากกว่า 75% ของขีดความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้า (4 แสนทีอียู, 1.4 ล้านทีอียู และ 1 ล้านทีอียูต่อปี) แต่ไม่เกิน 7 ปี นับจากสัญญามีผล หรือแล้วเสร็จในปี 2554 ซึ่งบริษัทฯ ได้เสนอขอปรับแผนการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D โดยทยอยก่อสร้างใน 5 ปี (ปี 59 สร้าง 300 เมตร ปี 61 และ 62 สร้างปีละ 400 เมตร ปี 63 และ 64 สร้างอีกปีละ 300 เมตร) และปรับแผนจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้า (เครน) เป็นทยอยการติดตั้งให้สอดคล้องกับการก่อสร้างท่าเรือชุด D โดยยังคงชำระผลประโยชน์ตอบแทนให้ กทท.ตามสัญญาเดิมทุกประการ

โดยข้อเสนอดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท.แล้ว เนื่องจากเห็นว่าการปรับแผนเป็นทยอยก่อสร้างและจัดหาเครนนั้นจะสอดคล้องกับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นและได้ท่าเรือและเครนที่สภาพใหม่ใช้งานพอดี ขณะที่อัตราการเติบโตของปริมาณตู้สินค้าที่ลดลง จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 52 ต่อเนื่องถึงปี 56 ปริมาณตู้สินค้าผ่านทางเพิ่มขึ้นเพียง 0.71 ล้านทีอียู หรือ 13.54% หรือเฉลี่ยปีละ 2.70% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือ 300 เมตรแรกในเดือนตุลาคม 2558 ใช้เวลา 14 เดือน และเริ่มประกอบการใน 31 ธันวาคม 2559 ส่วนท่าเทียบเรือ A3, C1, C2 นั้นการก่อสร้าง การจัดหาเครื่องมือ และสินทรัพย์มีมูลค่าลงทุนรวม 3.72 หมื่นล้านบาท คาดปริมาณตู้สินค้ารวม 2.43 ล้านทีอียู แต่มีปริมาณจริงเพียง 1.094 ล้านทีอียู โดยบริษัทฯ ได้จ่ายผลตอบแทนถึงปีที่ 10 เป็นเงินจำนวน 4.72 พันล้านบาท

ที่มา -