ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

นักดำน้ำอิสระงมค้นหาระฆังหนัก 270 ตัน ที่ฝังใต้โคลนหนา 25 ฟุตในพม่า

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 15, 14, 23:12:05 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เมื่อปี พ.ศ. 2151 (ค.ศ 1608) หรือกว่า 400 ปีแล้ว ที่ผู้ว่าราชการอาณานิคมของเมืองซะเรียงชาวโปรตุเกส ชื่อ Filippe de Brito de Nicote ได้ขโมยเอาระฆังใหญ่ (Great Bell of Dhammazedi) หรือ "ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์" จากลานพระเจดีย์ทองคำ (Golden Pagoda) หรือ "พระธาตุเจดีย์ตะเกิง (ชเวดากอง)" ทางทิศอิสานของเมืองย่างกุ้ง เพื่อจะนำไปหล่อทำเป็นปืนใหญ่ แต่ทว่าระฆังใหญ่ได้พลัดตกลงจากแพที่บรรทุก และ จมลงสู่ก้นแม่น้ำปานอะลัว ที่ปากคลองงะโมเยิก (Ngamoeyeik) ประเทศพม่า หรือเมียนมาร์ในปัจจุบัน


ระฆังดังกล่าวนี้ไม่ธรรมดา ตามที่นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ระฆังใบนี้มีน้ำหนักประมาณถึง 270 ตันและสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการหล่อขึ้น  ตามบันทึกประวัติศาสตร์ ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์ หล่อด้วยโลหะผสม ทองแดง, ทอง, เงินและดีบุก มีน้ำหนัก 270 ตัน โดยเปรียบเทียบกับระฆังในกรุงมอสโกที่มีน้ำหนัก 128 ตัน ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์มีน้ำหนักมากกว่า และใหญ่ที่สุดในโลก

นายฟิลิปเป เดอ บริโต เอ นิโคเต ประสบความในการขโมยระฆังใบนี้ออกมาจากพระเจดีย์ และสามารถนำมาบรรทุกบนแพลอยน้ำ แต่ขณะที่พวกเขากำลังข้ามแม่น้ำที่จุดบรรจบกันของเมื่องหงสาวดีกับเมืองย่างกุ้ง แพเกิดแตกออกและระฆังขนาดใหญ่ก็จมลงไปด้านล่างของแม่น้ำที่เต็มไปด้วยโคลน

มีความพยายามหลายครั้ง เพื่อจะนำระฆังกลับไปยังสถานที่ตั้งเดิมก่อนหน้านี้ ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีซากเรือที่จมอยู่ในบริเวณนั้น การมองเห็นไม่ชัด และการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำในระยะเวลานาน 400 ปี และน้ำขึ้นน้ำลง ระฆังยังคงอยู่ใต้โคลนมานานถึงสี่ศตวรรษ และหลบซ่อนเร้นจากการสำรวจค้นหาจุดตำแหน่งที่แน่นอน เพื่อการกู้กลับขึ้นมาอีกครั้ง

ระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์เป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่มีอยู่ มีหลายสิ่งหลายอย่างจะเปิดเผยออกมาจากลายลักษณ์อักษรที่สลักไว้รอบใบระฆังจากข้างบนถึงข้างล่าง เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่มีประโยชน์และสามารถที่จะศึกษาศิลปะพม่าโบราณของการหล่อโลหะ

เรื่องที่เกิดขึ้นดึงดูดนักผจญภัย และนักล่าสมบัติจำนวนมากทั้งไกลและใกล้ให้เดินทางไปค้นหาระฆังลึกลับใบนี้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผู้ใดมีความสามารถพอที่จะค้นหาระฆังดังกล่าวได้ เนื่องจากชาวพม่าเชื่อว่ามีวิญญาณจำนวนมากคอยปกปักรักษาอยู่ ระฆังไม่เคยได้รับการกู้คืนมากว่า 400 ปี และมีแนวโน้มที่จะนั่งอยู่ในโคลนใต้พื้นน้ำลึกประมาณ 25 ฟุต

ในปี 2538 นายเจมส์ บลันท์ นักดำนํ้าชาวอเมริกัน พร้อมเจ้าหน้าที่เมียนมาร์ ดำนํ้าสำรวจระฆังใบนี้กว่า 116 ครั้ง ภายใน 2 ปี ซึ่งเขาอ้างว่า เขาใช้กำปั้นทุบลงไปบนระฆังซึ่งก่อให้เกิดเสียงสะท้อนคล้ายโลหะ นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเขตต้องคำสาป ทำให้นักดำนํ้าหลายคนต้องสังเวยชีวิตขณะลงสำรวจ

หลังจากความพยายามที่ไร้ผลมานานมากที่จะหาระฆังใบนี้ ทีมกู้ระฆังได้รวมตัวขึ้นมาอีกครั้งในวันนี้ด้วยการสนับสนุนของนักธุรกิจชาวพม่าชื่อ Win Myint กับนักดำน้ำมากกว่า 70 คน

ตามรายงานของ AP นาย Win Myint คาดการณ์ถึงความสำเร็จกับทีมงานของเขาที่ประกอบด้วยชาวบ้านท้องถิ่นที่มีความสามารถกลั้นลมหายใจของพวกเขาเป็นเวลานานมากเวลาอยู่ใต้น้ำ แต่ไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดการนำเทคโนโลยี่ด้านการสแกนใต้น้ำ เช่น เครื่องโซนาร์ (side-scanning sonar) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จะให้ผลที่แน่นอนและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโครงการดังกล่าว รวมถึงการนำยานดำน้ำควบคุมระยะไกล (ROV) ติดระบบโซนาร์ที่จะช่วยให้ทีมงานสามารถมองผ่านน้ำโคลนขุ่นที่ด้านล่างของแม่น้ำและเห็นความแตกต่างที่มีความละเอียดสูงจากบริษัท Meridian Ocean Services กับกองเรือของ kitted-out ROVs ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสำรวจโครงสร้างใต้น้ำเช่น ท่อส่งน้ำมัน และ แท่นขุดเจาะก๊าซ และการสำรวจลำตัวเรือใต้น้ำ เป็นต้น


การทำงานค้นหาและกู้ระฆังครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพน้ำธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล การดำเนินงานวิจัยจะทำในเขต ปานอะลัว บริเวณกลางน้ำที่แม่น้ำสามสายประสบพบกัน คือแม่น้ำย่างกุ้ง แม่น้ำพะโก และแม่น้ำงะโมเยิก

การกู้ระฆังหนัก 270 ตัน แท้จริงการพูดง่ายกว่าการลงมือกระทำ มันเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงมีความยากลำบากมากหมายที่ซ่อนอยู่ เช่นปัญหาที่ซับซ้อน ความรอบรู้ เทคโนโลยี เงินค่าใช้จ่าย และทรัพยากรมนุษย์ จึงจะบรรลุความสำเร็จ

ที่มา - | แปลและเรียบเรียงข่าวโดย