ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สนข. หนุนเดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนาท่าเรือปากบารา

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 17, 14, 14:29:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (คสช.) ส่งสัญญาณชัดเจนในการเดินหน้าพัฒนาท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล และโครงการดังกล่าวถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในระยะ 4-8 ปีของกระทรวงคมนาคม โดย สนข. เห็นว่าหากเป็นไปตามแผนที่กรมเจ้าท่าตั้งเป้าหมายที่จะเริ่มเดินหน้าการก่อสร้างโครงการตั้งแต่ปี 2559 จนสามารถเปิดท่าเรือได้ในปี 2563 ท่าเรือปากบาราจะมีส่วนสำคัญรองรับการขยายตัวการขนส่งทางน้ำของไทยและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้มาก


ทั้งนี้ จากผลการศึกษาในอดีตชัดเจนว่าท่าเรือปากบาราที่มีการพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่จะรองรับการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ภาคใต้ของไทย เช่น  ยางพารา อาหารทะเล และส่งออกจากชายฝั่งทะเลอันดามันไปประเทศต่าง ๆ จะช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการไทยที่ขณะนี้ต้องส่งสินค้าไปลงที่ท่าเรือปีนังของมาเลเซีย และท่าเรือของสิงคโปร์ ปีละไม่น้อยกว่า 300,000 ตู้คอนเทนเนอร์ (TEU) ขณะที่ท่าเรือปากบาราเฟสแรกจะรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 800,000 TEU ต่อปี ทำให้ผู้ประกอบการไทยลดต้นทุนขนส่งได้มากขึ้น

ขณะเดียวกัน สนข. มีผลการศึกษาระบบขนส่งต่อเนื่องที่จะต้องเชื่อมกับท่าเรือปากบารา โดยเห็นว่าควรมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เชื่อมต่อกับท่าเรือปากบาราจะทำให้ท่าเรือใช้งานได้เต็มศักยภาพและในอนาคตจะสามารถพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) จากท่าเรือสงขลา โดยมีรถไฟทางคู่วิ่งเชื่อมต่อท่าเรือปากบารา ทำให้เกิดระบบขนส่งเชื่อมต่อ 2 ชายฝั่งทะเลของไทย

นอกจากนี้ สนข.ยังลงพื้นที่สำรวจการพัฒนาท่าเรือของประเทศในภูมิภาคที่จะรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปลายปี 2558 เช่น ท่าเรือเมาะละแหม่งของเมียนมาร์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา โดยเมียนมาร์จะเปิดเป็นท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้า จากปัจจุบันเป็นเพียงท่าเรือเฟอร์รี่  ซึ่งไทยสามารถเชื่อมโยงการขนส่งผ่านด่านแม่สอด จังหวัดตาก โดยเส้นทางถนน ระยะทางประมาณ 120 กม. และเชื่อว่าจากการตื่นตัวของรัฐบาลเมียนมาร์ในการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะมีการแก้ปัญหาอุปสรรคด้านการขนส่งปรับปรุงถนนดีขึ้น ก็จะเป็นโอกาสสำหรับไทยในการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือมายังประเทศเมียนมาร์และใช้ประโยชน์จากท่าเรือเมาะละแหม่งในการขนส่งสินค้าในอนาคตได้

นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือติลาวา ที่ย่างกุ้ง ซึ่งเอกชนจากญี่ปุ่นได้มาลงทุนบริหารท่าเรือเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่รองรับสินค้าของเมียนมาร์ในอนาคต ซึ่ง สนข.จะศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงการขนส่งกับไทยในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับท่าเรือปากบารา ล่าสุดอธิบดีกรมเจ้าท่าหารือกับ คสช. ถึงแนวทางเร่งรัดโครงการ คาดว่าจะใช้งบประมาณลงทุน 14,000-15,000 ล้านบาท ขณะที่กรมเจ้าท่าศึกษาและออกแบบการก่อสร้างโครงการไว้แล้ว และได้ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมามีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งเนื่องจากเกรงว่าการเกิดขึ้นของท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมจะกระทบวิถีชีวิตคนในชุมชน  ซึ่งในส่วนนี้กรมเจ้าท่าจะร่วมมือกับ คสช. ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน

ที่มา -




สนข. ลั่นเดินหน้า ท่าเรือปากบารา หั่นต้นทุนรับ AEC

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า  หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งสัญญาณชัดเจนในการเดินหน้าพัฒนาท่าเรือปากบารา อ.ละงู จ.สตูล และโครงการดังกล่าวถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ระยะ 4-8 ปีของกระทรวงคมนาคม

โดย สนข.เห็นว่า หากเป็นไปตามแผนที่กรมเจ้าท่าตั้งเป้าจะเริ่มเดินหน้าการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2559 จนสามารถเปิดท่าเรือได้ในปี 2563 ท่าเรือปากบาราจะมีส่วนสำคัญรองรับการขยายตัวการขนส่งทางน้ำของไทย และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้มาก

โดยผลศึกษาในอดีตชัดเจนว่า ท่าเรือปากบาราที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ จะรองรับการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ภาคใต้ของไทย เช่น ยางพารา อาหารทะเล และส่งออกจากชายฝั่งทะเลอันดามันไปประเทศต่างๆ จะช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการไทยที่ขณะนี้ต้องส่งสินค้าไปลงที่ท่าเรือปีนังของมาเลเซียและท่าเรือของสิงคโปร์ ปีละไม่น้อยกว่า 300,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่ท่าเรือปากบารา เฟสแรก จะรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 800,000 ตู้ต่อปี จะทำให้ลดต้นทุนขนส่งได้มากขึ้น


นอกจากนี้ สนข.ได้ลงพื้นที่สำรวจการพัฒนาท่าเรือของประเทศในภูมิภาคที่จะรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปลายปี 2558 เช่น ท่าเรือเมาะละแหม่ง ของเมียนมาร์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา จะเป็นโอกาสสำหรับไทยในการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือมายังเมียนมาร์ และใช้ประโยชน์จากท่าเรือเมาะละแหม่งในการขนส่งสินค้าในอนาคตได้.

ที่มา -




"คมนาคม" ทุ่มแสนล้านเชื่อมเกตเวย์ เสริมแกร่ง "บก-ราง-น้ำ-อากาศ"

นับถอยหลังถึงปลายปี 2558 เหลือเวลา 17 เดือนประเทศไทยจะเข้าสู่โหมดเสรีต้อนรับ "เออีซี-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" งานนี้ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" สั่งเร่งระบบโครงสร้างพื้นฐานเสริมการค้าชายแดน ล้อไปกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดที่ประกาศนำร่องไปก่อนหน้านี้

เร่งประมูลถนนเชื่อมด่าน

โดย "กระทรวงคมนาคม" เจ้าภาพหลักเตรียมพร้อมทุกระบบทั้ง "บก-ราง-น้ำ-อากาศ" บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทย 8 ปี เพื่อเพิ่มความสะดวกการค้า ลงทุน และท่องเที่ยวของไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ

"ยุทธศาสตร์ล่าสุด เน้นเชื่อมประตูค้าชายแดน บก น้ำ อากาศ มีอะไรจะใส่ในแผนเพื่อรับเปิดเออีซี มีทั้งเร่งด่วน ระยะยาว" ปลัดหญิงแห่งกระทรวงคมนาคม "สร้อยทิพย์ไตรสุทธิ์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

โดยจะปรับปรุงประสิทธิภาพประตูการค้าหรือ Gateway ให้รองรับการเดินทางของผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะประตูการค้าชายแดนที่จะต้องเสริมแกร่งและเสถียรภาพให้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ จะเริ่มคิกออฟประมูลโครงการที่พร้อม เช่น ถนนชายแดน ขยาย 4 ช่องจราจร ใช้เวลาก่อสร้าง 1-3 ปีซึ่ง "ทล.-กรมทางหลวง" กับ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" จะเร่งรัดต่อไป นอกเหนือจากโครงการเดิมที่กำลังดำเนินการก็ต้องให้เสร็จในปี 2558 เพื่อมาเสริมด่านการค้าใน 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของ คสช.ที่จะเริ่มต้นในปีหน้าเช่นกัน

6 ด่าน 5 จังหวัดทุ่มแสนล้าน

เมื่อสำรวจโครงข่ายจะเสริม 6 ด่านใน 5 จังหวัด ลงทุนร่วม 137,840 ล้านบาท (ดูตาราง) เริ่มที่ "ด่านแม่สอด" จ.ตาก ลงทุน 7,557 ล้านบาท ในปี 2558 มีถนนจะแล้วเสร็จ 2 สาย คือ สายเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก 46.6 กม. และตาก-แม่สอด ตอนที่ 2 ระยะทาง 13.23 กม. จะเริ่มก่อสร้างปี 2558 มีขยาย ถ.ตาก-แม่สอดตอน 3 ระยะทาง 25.5 กม. 1,400 ล้านบาท ในปี 2559-2560 มีสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 พร้อมโครงข่าย 22.4 กม. 2,200 ล้านบาท ถ.ตาก-แม่สอด ตอน 4ระยะทาง 25.5 กม. 1,400 ล้านบาท อีกทั้งมีสถานีขนส่งสินค้ารถบรรทุกจะเริ่มศึกษาในปีหน้าและพัฒนาสนามบินแม่สอด

ลุ้นรถไฟเชื่อมด่านมุกดาหาร

"ด่านมุกดาหาร" ลงทุน 49,879 ล้านบาทมีถนน 4 ช่องจราจร ที่กำลังก่อสร้างมีสายกาฬสินธุ์-บ้านนาไคร้ ตอน 1 ระยะทาง 8 ก.ม. จะแล้วเสร็จ ต.ค.ปีหน้าในปี 2559-2561 ก่อสร้าง 3 สาย มีกาฬสินธุ์-อ.สมเด็จ ตอน 2 ระยะทาง 19 กม. 760 ล้านบาท, กาฬสินธุ์-นาไคร้-คำชะอี 107 กม. 5,400 ล้านบาท และหว้านใหญ่-ธาตุพนม 23 กม. 1,050 ล้านบาท อนาคตจะมีจุดพักรถบรรทุกที่ อ.คำชะอี รถไฟทางคู่สายใหม่ "บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม" 336 กม. ซึ่งกำลังศึกษาและออกแบบ จะเริ่มปี 2560 สร้างถนนเชื่อมอรัญฯ-เขมร

"ด่านอรัญประเทศ" จ.สระแก้ว ลงทุน 2,099 ล้านบาท มีเฉพาะโครงข่ายถนน 3 สาย ที่กำลังก่อสร้าง คือ ถนน 304 จากอ.พนมสารคาม-สระแก้ว ตอน 3 ระยะทาง27 กม. จะเสร็จต้นปี 2558 อีก 2 สายเริ่มก่อสร้างปี 2559 มีสายอรัญประเทศ-ชายแดนไทย-กัมพูชา 22 กม.1,340 ล้านบาท และสาย33 ช่วงท่าข้าม-หนองเอี่ยน 12 กม. 370 ล้านบาท

ท่าเรือคลองใหญ่ได้ใช้กล "งป" 58

"ด่านคลองลึก" จ.ตราด ลงทุน 3,595 ล้านบาท มีท่าเทียบเรือคลองใหญ่ของ "กรมเจ้าท่า" จะแล้วเสร็จ ก.ค.ปีหน้า จะสร้างปี 2558 มี ถ.ตราด-หาดเล็ก ตอน 1 ระยะทาง 35 กม. 1,400 ล้านบาท ในปี 2559-2561 มี ถ.ตราด-หาดเล็ก ตอน 2 ระยะทาง 32 กม. 900 ล้านบาทจุดพักรถบรรทุกที่อ.เขาสมิง และรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร จากแหลมฉบัง-มาบตาพุด

ทุ่ม 7 หมื่นล้านหนุนไทย-มาเลย์

"ด่านสะเดา-ปาดังเบซาร์" จ.สงขลา ลงทุนรวม 74,710 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการในอนาคต เริ่มปี 2560 ไม่ว่ามอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-สะเดา 64 กม.,รถไฟทางคู่ระบบไฟฟ้าหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ที่ได้งบฯศึกษาโครงการในปีหน้ายังมีจุดพักรถบรรทุกที่ อ.รัตภูมิ ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 และท่าเรือน้ำลึกปากบาราและการพัฒนาสนามบินเบตง จ.ยะลา

ทั้งหมดเป็นแค่โครงข่ายเชื่อมประตูค้าชายแดน ยังไม่นับรวมประตูการค้าระหว่างประเทศที่จะพัฒนาสนามบิน 5 แห่ง ทั้งสุวรรณภูมิเฟส 2 ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ อู่ตะเภา ควบคู่พัฒนาท่าเรือชายฝั่งแหลมฉบังมาเสริมทัพหน้า เชื่อมโยงการค้าของประเทศไทยไปไกลทั่วโลก

ที่มา -