ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

กูเกิลลงทุนในโครงการวางสายเคเบิลข้ามแปซิฟิก 8 พันกิโลเมตร

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 17, 14, 14:32:06 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ : เทคโนโฟกัส - ผู้เขียน :  กองบรรณาธิการ  editor@LokWanNee.com

จับตาข่าวโครงการลงทุนใหม่ของกูเกิลในโครงการวางสายเคเบิลใต้ทะเลชื่อว่า "ฟาสเตอร์" (Faster) ทอดข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกที่ระดับความลึกประมาณ 11,200 กิโลเมตร เชื่อมต่อชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและเอเชีย เป็นระยะทาง 8,046 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 9,750 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปีหน้า


กูเกิล ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคมจากเอเชีย 5 ราย ได้แก่ ไชน่า โมบายล์ อินเตอร์เนชั่นแนล และไชน่า เทเลคอม โกลบอล จากจีน, โกลบอล ทรานซิท จากมาเลเซีย, เคดีดีไอ จากญี่ปุ่น และสิงเทล จากสิงคโปร์

โดยโครงการนี้จะเชื่อมโยงระบบสายเคเบิลส่วนภูมิภาคที่มีอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในญี่ปุ่นสายเคเบิลบนพื้นดินเชื่อมต่อระหว่างเมืองชิคุระและชิมะ มีการขยายเพิ่มเติมจากจุดเชื่อมต่อในญี่ปุ่นไปยังส่วนอื่นๆในภูมิภาคเอเชียด้วย ขณะที่สายเคเบิลทางฝั่งสหรัฐเชื่อมต่อเครือข่ายในลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ปอร์ตแลนด์ และซีแอตเติล

บริษัทกูเกิลต้องการให้บริการข้อมูลไร้สายความเร็วสูงที่เชื่อถือได้ จึงต้องสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ดีไม่ว่าจะเป็นบริการสำหรับผู้ใช้ระบบแอนดรอยด์มากกว่าพันล้านคน หรือนักพัฒนาผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์ม "Google Cloud" และเส้นทางที่เร็วที่สุดคือต้องเชื่อมต่อผ่านมหาสมุทร

เป็นเหตุผลที่กูเกิลลงทุนในโครงการฟาสเตอร์ติดตั้งสายเคเบิลใต้ทะเลเชื่อมต่อชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐไปยังเมืองท่าของญี่ปุ่น มีขีดความสามารถระดับกว่า 60 เทราบิตต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าเคเบิลโมเด็มในครัวเรือนทั่วไปมากกว่า 10 ล้านเท่า

ก่อนหน้านี้กูเกิลได้ลงทุนในโครงการสายเคเบิลใต้ทะเล (Unity) ในปี 2008 ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อสายเคเบิลใต้น้ำจากสหรัฐอเมริกามายังญี่ปุ่นผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกเช่นกัน และโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SJC) ในปี 2011 มีจุดเชื่อม 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ บรูไน ไทย และสิงคโปร์

มีระบบสายเคเบิลโทรคมนาคมใต้ทะเลที่สำคัญหลายร้อยเส้นทางเชื่อมต่อส่วนต่างๆของโลก ฟาสเตอร์นับเป็นโครงการวางระบบโทรคมนาคมใต้ทะเลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นหนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อยาวที่สุดในโลก


ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้สามารถวางสายเคเบิลใต้น้ำได้เร็วกว่าในอดีต เฉพาะในปี 2012 จำนวนเส้นทางสายเคเบิลใต้ทะเลเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและความต้องการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วโลกเกือบ 95% ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านทางสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่เชื่อมต่อเครือข่ายใต้ทะเล ในปีที่ผ่านมาสายเคเบิลใต้ทะเลบริการส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูง 51,000 ล้านกิกะไบต์ต่อเดือน และคาดว่าจะขยายเป็น 132,000 ล้านกิกะไบต์ในอีก 4 ปี

ที่มา -