ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกาในไอซ์แลนด์ใกล้ระเบิด

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 21, 14, 19:50:57 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผานมาเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวประมาณ 3,000 ครั้ง ในเขตบาร์ดาร์บุนกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกาที่อยู่ใต้ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ไอซ์แลนด์ ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนจะมีผลกระทบทำให้ภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกาใกล้ปะทุ เพราะแรงสั่นสะเทือนจะทำให้หินหลอมเหลวใต้ภูเขาไฟ หรือแม็กม่าเคลื่อนไหว และจะระเบิดขึ้นมาสู่ด้านบน


ในเวลานี้ทางการไอซ์แลนด์เริ่มอพยพผู้คนในพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกา ที่เคยปะทุใหญ่เมื่อราว 8,500 ปีก่อนทำให้เกิดลาวาร้อนปริมาณมากที่สุดในโลกในรอบ 10,000 ปี ตำรวจไอซ์แลนด์เผยว่า ทางการยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการอพยพประชาชนจำนวนเท่าใดแล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล แต่ได้แจ้งให้หน่วยฉุกเฉินเตรียมพร้อม หลังจากสำนักอุตุนิยมวิทยายกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟลูกนี้เป็นสีส้ม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดอันดับ 2 เมื่อวันจันทร์ เพราะภูเขาไฟมีการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หากภูเขาไฟซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตรลูกนี้ปะทุขึ้น จะกระทบต่อการจราจรทางอากาศข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและยุโรปเหนือ นอกจากนี้ ยังเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมเพราะธารน้ำแข็งละลาย ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ ภูเขาไฟอยา ฟียาพลา ยูร์คูลของไอซ์แลนด์เคยปะทุใหญ่เมื่อปี 2554 พ่นกลุ่มควันและเถ้าถ่านจำนวนมากกระทบการเดินทางทางอากาศของคนหลายล้านคน

ที่มา -




ไอซ์แลนด์เริ่มอพยพพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟที่ส่งสัญญาณปะทุ

เรคยาวิก 20 ส.ค. 57 - ไอซ์แลนด์เริ่มอพยพผู้คนในพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟบาร์ดาร์บุงกา เนื่องจากภูเขาไฟลูกใหญ่ที่สุดของประเทศลูกนี้ส่งสัญญาณเตือนว่าอาจจะปะทุครั้งใหม่ หลังจากที่เคยปะทุใหญ่เมื่อราว 8,500 ปีก่อนทำให้เกิดลาวาร้อนปริมาณมากที่สุดในโลกในรอบ 10,000 ปี 


ตำรวจไอซ์แลนด์เผยว่า ตัดสินใจปิดและอพยพผู้คนในพื้นที่ทางเหนือของวาตนาเยอคูตล์ ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งแผ่นใหญ่ที่สุด อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เนื่องจากภูเขาไฟขนาดใหญ่ใต้ธารน้ำแข็งมีการสั่นสะเทือน ทางการยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการอพยพประชาชนจำนวนเท่าใดแล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล แต่ได้แจ้งให้หน่วยฉุกเฉินเตรียมพร้อม หลังจากสำนักอุตุนิยมวิทยายกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟลูกนี้เป็นสีส้ม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดอันดับ 2 เมื่อวันจันทร์ เพราะภูเขาไฟมีการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 4 วัน ส่งสัญญาณว่าอาจจะเกิดการปะทุขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.5 ริกเตอร์ รุนแรงที่สุดในพื้นที่ดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2539

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หากภูเขาไฟซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตรลูกนี้ปะทุขึ้น จะกระทบต่อการจราจรทางอากาศข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและยุโรปเหนือ นอกจากนี้ ยังเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมเพราะธารน้ำแข็งละลาย ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ  ก่อนหน้านี้ ภูเขาไฟอยา ฟียาพลา ยูร์คูลของไอซ์แลนด์เคยปะทุใหญ่เมื่อปี 2554 พ่นกลุ่มควันและเถ้าถ่านจำนวนมากกระทบการเดินทางทางอากาศของคนหลายล้านคน

ที่มา -