ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

RCL ไตรมาสแรกขาดทุนลดลงเหลือ 359 ล้านบาท

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 16, 13, 15:14:01 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

อาร์ ซี แอล ไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนลดลงเหลือ 359 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนกว่า 494 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 135 ล้านบาท ผลจากปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และความผันผวนจากอัตราค่าระวางส่งผลให้ผลขาดทุนต่ำลง แถมมีกำไรจากการขายสินทรัพย์


นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) หรือ RCL แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 358.83 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุน 494.14 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 135.31 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 27.38% ผลจากกำลังการขนส่งที่สูงเกินอย่างต่อเนื่อง และการผันผวนของอัตราค่าระวางส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการจากการดำเนินงานเป็นผลขาดทุนลดลง โดยไม่รวมกำไรจากการขายสินทรัพย์

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการขนส่งตู้สินค้าในประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่ในไตรมาสแรกของปี จำนวน 279,982 ตู้ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีการขนส่งตู้สินค้าในประเภทที่บริษัทฯ ดำเนินการเองลดลงร้อยละ 2 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่จำนวน 261,471 ตู้ ยอดรวมการขนส่งตู้สินค้าของบริษัทฯ จึงมีจำนวน 541,453 ตู้ เป็นการเพิ่มขึนในอัตราร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลจากการผันผวนของอัตราค่าระวางนี้ ทำให้รายได้รวมในไตรมาสแรกของปีก่อน ผลต่างอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการขายสินทรัพย์ และการปรับปรุงการตังสำรองผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากตราสารอนุพันธ์ มี 3,025 ล้านบาท ลดลงในอัตราร้อยละ 5 ต้นทุนการเดินเรือ และการดำเนินงานมีจำนวนในไตรมาสแรกของปีนี้ 3,088 ล้านบาท ลดลงในอัตราร้อยละ 11 หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ขณะที่บริษัทฯ ขายตู้สินค้าเก่า และมีผลกำไรจากการขาย จำนวน 38 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี เมื่อเทียบกับผลกำไรจากการขาย 36 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสเดียวกันนี้ บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 19 ล้านบาท เทียบกับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 152 ล้านบาท ที่บันทึกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าทุกรายยังคงเผชิญกับความท้าทายในความต้องการขนส่งสินค้าที่ไม่แน่นอน อัตราค่าระวางที่มีการปรับเปลี่ยนเร็ว การด้อยค่าของสินทรัพย์เรือเดินทะเล และอัตราค่ารับประกอบการขนส่งตู้สินค้าที่อาจปรับตัวลงในอนาคต

ที่มา -




ทริสฯ ลดอันดับเครดิตองค์กร RCL เป็น "BB+ จาก "BBB- แนวโน้ม Negative

ทริสเรทติ้งปรับลดอันดับเครดิตองค์กรของ บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL) เป็นระดับ "BB+" จาก "BBB-" โดยแนวโน้มยังคง "Negative" หรือ "ลบ"

การปรับลดอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงผลการดำเนินของบริษัทที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากภาวะอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ ทั้งนี้ บริษัทยังคงมีผลประกอบการขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน 1,174 ล้านบาทในปี 2555 เมื่อเทียบกับ 2,051 ล้านบาทในปี 2554 บริษัทยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง การแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาคเอเชีย และอุปทานส่วนเกินของเรือที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตยังคงสะท้อนถึงคณะผู้บริหารของบริษัทที่มีความสามารถและประสบการณ์ รวมทั้งสถานะผู้นำในตลาดผู้ประกอบการขนส่งทางเรือระดับภูมิภาคอันเนื่องมาจากความได้เปรียบในด้านขนาดและอายุเฉลี่ยของกองเรือ ตลอดจนความถี่ในการให้บริการ

ขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" หรือ "ลบ" สะท้อนถึงสถานการณ์ทางการตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างต่อเนื่องซึ่งคาดว่าจะยังคงกดดันความสามารถของบริษัทในการปรับปรุงผลประกอบการและสถานะทางการเงินในระยะใกล้ต่อไป

ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับลดลงอีกหากบริษัทยังคงประสบภาวะขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญและประสบปัญหาด้านสภาพคล่องในช่วงไตรมาสข้างหน้านี้ อย่างไรก็ตาม หากบริษัทสามารถปรับปรุงอัตราการทำกำไรและสร้างกระแสเงินสดที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะใช้ชำระคืนหนี้ได้ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัท

ในปี 2555 ปริมาณการขนส่งสินค้าของ RCL ลดลง 4% จากกลยุทธ์การยกเลิกเส้นทางเดินเรือที่ไม่ทำกำไร โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลกระทบต่อปริมาณการขนส่งสินค้าของบริษัท ในปี 2555 อัตราค่าระวางโดยเฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 2.3% โดยอยู่ที่ 195 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้สินค้า (Twenty-foot Equivalent Unit - TEU) ซึ่งส่งผลให้รายได้รวมของบริษัทลดลงเล็กน้อยจาก 13,684 ล้านบาทในปี 2554 เป็น 13,548 ล้านบาทในปี 2555 อย่างไรก็ตาม อัตราค่าระวางยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะอุปทานส่วนเกินของเรือที่ยิ่งเพิ่มการแข่งขันให้รุนแรงมากขึ้นและรวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ ในปี 2555 ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 673 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันจาก 638 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันในปี 2554 อย่างไรก็ตาม บริษัทมีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลดลงเล็กน้อยจาก 196.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2554 เป็น 184.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 เนื่องจากบริษัทลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลง

ในปี 2555 ผลการดำเนินงานของบริษัทปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากความสำเร็จในการปรับลดต้นทุน อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ที่ปรับปรุงรายการเช่าดำเนินงานแล้วปรับตัวดีขึ้นจาก -2.3% ในปี 2554 เป็น 4.5% ในปี 2555 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยที่ปรับปรุงรายการเช่าดำเนินงานแล้วเพิ่มขึ้นจาก -0.5 เท่าในปี 2554 เป็น 1.5 เท่าในปี 2555 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมที่ปรับปรุงรายการเช่าดำเนินงานแล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก -6.0% ในปี 2554 เป็น 3.7% ในปี 2555 ส่วนอัตราส่วนหนี้สินต่อโครงสร้างเงินทุนที่ปรับปรุงรายการเช่าดำเนินงานแล้วก็ปรับตัวลดลงจาก 45.4% ในปี 2554 เป็น 42.2% ในปี 2555 เนื่องจากการชำระคืนหนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินต่อโครงสร้างเงินทุนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทได้ซื้อเรือจำนวน 2 ลำซึ่งจะรับมอบภายในปี 2556 นี้ โดยบริษัทใช้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในการซื้อเรือดังกล่าว

สภาพคล่องของบริษัทยังคงตึงตัวเนื่องจากบริษัทมีกำหนดจะชำระเงินกู้ยืมจำนวน 1,680 ล้านบาทภายในปี 2556 นี้ ในขณะที่ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 บริษัทมีเงินสดจำนวน 2,101 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทก็จะต้องดำรงเงินสดขั้นต่ำจำนวน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำรองเอาไว้ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ ฉะนั้น หากผลประกอบการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้าเช่นเดิมก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องได้

จากรายงานของ Alphaliner ปริมาณการบรรทุกสินค้าในช่วงปี 2556-2557 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.0 ล้านตู้ หรือคิดเป็น 18% ของปริมาณบรรทุกในปัจจุบัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ระดับ 620 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน ความสามารถในการเพิ่มอัตราค่าระวางของบริษัทยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและอำนาจในการต่อรองที่บริษัทมีต่ำกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้ผลประกอบการเพิ่มขึ้น บริษัทจึงวางแผนในการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตลอดจนลดการให้บริการที่ไม่ทำกำไร และขนส่งสินค้าที่ให้กำไรสูง

ที่มา -