ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

วิศวะเกษตรฯ จับมือปตท.สผ.ร่วมพัฒนายานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติตัวแรก ฝีมือนักศึกษาไทย

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 14, 14, 19:53:32 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คนไทยไม่แพ้ใครในโลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. จับมือ ปตท.สผ. พัฒนายานยนต์ใต้น้ำอัจฉริยะ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงาน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงต่างประเทศ ตั้งเป้าพร้อมใช้งานจริงในปี 61


"ความต้องการหุ่นยนต์เพื่อทำงานใต้ทะเลมีมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เนื่องจากการหาแหล่งปิโตรเลียมในเขตน้ำตื้นหรืออยู่ในบริเวณที่คนสามารถบริหารจัดการได้ ทำได้ยากขึ้น การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมจึงมุ่งไปในเขตน้ำลึก 1-3 พันเมตร" นายพงศธร ทวีสิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานพัฒนาและวิศวกรรม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าว

แต่ในประเทศไทยยังไม่มีใคร ที่สามารถผลิตขึ้นใช้ได้เอง และในประเทศไทยยังไม่มีองค์ความรู้ในด้านนี้มาก่อนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีราคาค่อนข้างสูง
:: เอกชน-การศึกษาร่วมสร้างนวัตกรรม

นายพงศธรชี้ว่า ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีความจำเป็นต้องตรวจสอบและดูแลรักษาโครงสร้างของแท่นผลิต ท่อก๊าซ และท่อนำส่งต่างๆ ที่อยู่กลางทะเลเขตน้ำลึก ทุก 3 หรือ 5 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน

"เทคโนโลยีที่ ปตท. สผ. ใช้คือ หุ่นยนต์แบบมีสาย และใช้การควบคุมของมนุษย์ ซึ่งเป็นของบริษัทสิงคโปร์ โดยเมื่อมีการตรวจสอบอุปกรณ์ บริษัทสิงคโปร์จะนำเรือมาปล่อยหุ่นยนต์ จากนั้น บังคับทิศทางและการทำงานผ่านสายไปยังหุ่นที่อยู่ใต้น้ำ"

นอกจากต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน จากการเดินทางด้วยเรือ และการทำงานด้วยคน ค่าใช้จ่ายยังสูงถึงครั้งละ 50-100 บาทหรือราว 1 ล้านบาทต่อวัน

เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศ ปตท.สผ.และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันจัดทำโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำแบบบังคับมือ (Remotely Operated Vehicle - ROV) และยานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ (Autonomous Underwater Vehicle - AUV)

เทคโนโลยีหุ่นยนต์นั้น มีอยู่ 3 ขั้น คือ หุ่นยนต์บังคับ, หุ่นยนต์ที่ถูกเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมให้ทำงานตามคำสั่ง และหุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถทำงานอัตโนมัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานพัฒนาและวิศวกรรม ปตท.สผ. กล่าวว่า ปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเลียมส่วนมากจะใช้หุ่นยนต์ในขั้นที่ 2 คือ หุ่นยนต์ที่ถูกเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมให้ทำงานตามคำสั่ง และอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 3 คือ หุ่นยนต์อัจฉริยะ

ผศ. ดร. ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ จากชมรม Scuba ซึ่งเป็นการรวมตัวของนิสิตที่รักการพัฒนาหุ่นยนต์และได้รับรางวัลด้านการแข่งขันหุ่นยนต์จากเวทีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การพัฒนายานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ หรือ AUV (Autonomous Underwater Vehicle) เดินหน้าไปอย่างต่อเนื่อง

:: ทุ่มงบสร้างองค์ความรู้ของไทยเพื่อใช้จริง

ยานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ หรือ AUV (Autonomous Underwater Vehicle) คือหุ่นยนต์ที่ดำดิ่งลงสู่ใต้น้ำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการบังคับ หุ่นยนต์ตัวนี้ถูกเริ่มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมาเป็นระยะหนึ่งแล้วในหลากหลายหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับการรั่วไหลของน้ำมัน การลงไปสำรวจใต้น้ำด้วยคลื่นเสียง การตรวจวัดความลึกของทะเล การตรวจหาชั้นตะกอน และการตรวจวัดระบบท่อส่งน้ำมันใต้ทะเล ฯลฯ

นอกจากนี้ เทคโนโลยี AUV ก็ถูกประยุกต์ใช้ในการค้นหา MH-370 เช่นกัน แต่ยังคงมีข้อจำกัดทางเทคนิคหลายประการที่ยังมีความต้องการให้ต่อยอดศึกษา วิจัยและพัฒนา เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำแบบบังคับมือ (ROV) และยานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ (AUV) ระหว่าง ปตท.สผ. และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งภายใต้ MOU ฉบับนี้ ได้มีโครงการที่จะพัฒนา AUV ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ภายในปี 2561

"งบประมาณก้อนแรกที่ ปตท.สผ.สนับสนุนคือ 11 ล้านบาท สำหรับอุปกรณ์ เซนเซอร์ และการผลิต โดยปี 2557 นี้ เราพัฒนายานยนต์ใต้น้ำขั้นเริ่มแรก ที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุด และตรวจจับสีที่กำหนด" ผศ. ดร. ยอดเยี่ยมอธิบาย

ปีแรกถือเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ปี 2558 ทีม Scuba จะเดินหน้าพัฒนาสู่ยานยนต์ใต้น้ำขั้นพัฒนา และทดสอบการใช้งานเพื่อปฏิบัติจริง โดยจำเป็นต้องเพิ่มในเรื่องของเซนเซอร์สำหรับระบบนำร่อง, การสำรวจน้ำมัน ท่อขุดเจาะ, โซนาร์ รวมถึงเซนเซอร์สำรวจพื้นผิวใต้น้ำ และเซนเซอร์ดมกลิ่นก๊าซใต้น้ำ ในขณะเดียวกันก็ต้องรวมสหวิชาการในการพัฒนาหุ่นยนต์นี้

นายพงศธรชี้ว่า สำหรับหุ่นยนต์ตัวแรกนี้ ถือว่า เริ่มต้นได้ดี แต่ยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงสำหรับใช้งานจริงในทะเลที่มีกระแสน้ำ คลื่นผิวน้ำ และคลื่นใต้น้ำ โดยทาง ปตท.สผ. จะสนับสนุนข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่จำเป็นต่อการพัฒนา

"สิ่งที่เราตั้งเป้า นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจสอบ ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ใช้ใต้ทะเล รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับใช้ใต้ทะเลที่ลึกมากขึ้น คือโอกาสสำหรับนิสิต นักศึกษาในการเรียนรู้และทำงานจริงตลอดทั้งกระบวนการ เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร รวมถึงช่วยยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเช่นกัน"

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของคนไทย ปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้ลงทุนในธุรกิจหลักด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่า 44 โครงการ 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ออสตราเลเชีย และอเมริกาเหนือ

โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำเป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใต้น้ำให้กับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย และเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านวิศวกรรมพลังงานและเทคโนโลยี พร้อมทั้งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ


บันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น้ำแบบบังคับมือ (ROV) และยานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ (AUV) ระหว่าง ปตท.สผ. และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มตั้งแต่     วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งภายใต้ MOU ฉบับนี้ ได้มีโครงการที่จะพัฒนา AUV ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยวางแผนงานไว้ดังนี้

- ปี 2557: ยานยนต์ใต้น้ำขั้นเริ่มแรก ประดิษฐ์และทดสอบโดยนิสิตชมรม Scuba คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- ปี 2558: ยานยนต์ใต้น้ำขั้นพัฒนา และทดสอบการใช้งานเพื่อปฏิบัติจริง

- ปี 2559: ผลิตยานยนต์ต้นแบบให้แล้วเสร็จเพื่อพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานใต้ผิวน้ำ

- ปี 2560: ผลิตยานยนต์ต้นแบบที่สามารถตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ

- ปี 2561: ผลิตยานยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพแวดล้อมและสภาวะการทำงานจริงจนแล้วเสร็จ

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของคนไทยที่ปฎิบัติพันธกิจด้านการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ ปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้ลงทุนในธุรกิจหลักด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่า 40 โครงการ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ออสตราเลเชีย และอเมริกาเหนือ   โดยได้นำนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้ง คิดค้นกลวิธีและเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตและปริมาณสำรองปิโตรเลียม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทและประเทศไทยในระยะยาว

ที่มา -