ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เบลีซ สั่งกักผู้โดยสารบนเรือสำราญกัน อีโบลา

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 18, 14, 21:46:39 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ผวา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในดัลลัสที่เสี่ยงติดเชื้ออีโบลาจากผู้ป่วยชาวไลบีเรียกำลังล่องเรือสำราญในทะเลแคริบเบียน แต่เจ้าตัวยอมกักตนเองระหว่างเฝ้าดูอาการ ยูเอ็นพ้อกองทุนอีโบลามีเงินแค่แสนดอลลาร์


กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557 ว่า เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขรายหนึ่งซึ่งทำงานในห้องแล็บที่ต้องจัดการกับตัวอย่างของเหลวหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของโธมัส เอริก ดันแคน ชายชาวไลบีเรียที่เป็นผู้ป่วยอีโบลารายแรกบนแผ่นดินอเมริกา กำลังล่องเรือสำราญอยู่ในทะเลแคริบเบียนพร้อมกับสามี

เจ้าหน้าที่หญิงผู้นี้ลาพักร้อนภายหลังผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเทกซัสเฮลธ์เพรสไบทีเรียนในเมืองดัลลัสเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 เธอออกเดินทางพร้อมกับเรือสำราญจากเมืองกาล์ฟสโตน รัฐเทกซัส เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม  2557 ผ่านมาแล้ว 19 วันนับแต่เธออาจสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย แม้เธอจะไม่มีอาการติดเชื้อ แต่เธอสมัครใจกักตัวอยู่ภายในห้องพัก

"ลูกจ้างผู้นี้ไม่ได้สัมผัสกับคนไข้ที่เสียชีวิตโดยตรง แต่อาจได้สัมผัสกับตัวอย่างที่เก็บจากร่างกายเขาเพื่อส่งตรวจ" คำแถลงของเจน ซากี โฆษกกระทรวงกล่าว และว่า กระทรวงกำลังประสานงานกับเรือสำราญลำนี้เพื่อนำตัวเธอและสามีกลับสหรัฐก่อนเรือถึงที่หมาย เพื่อป้องกันไว้ก่อน

เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวรายหนึ่งซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ กล่าวกับเอพีว่า เรือลำนี้ได้แวะที่ประเทศเบลีซ แต่เจ้าหน้าที่เบลีซไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารลงจากเรือ 

บุคลากรทางการแพทย์ชาวอเมริกันรายนี้เดินทางออกจากสหรัฐก่อนที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (ซีดีซี) ได้ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการเฝ้าระวังบุคคลที่น่าสงสัยว่าอาจเคยสัมผัสกับผู้ป่วยรายแรก

หน่วยงานด้านสาธารณสุขและรัฐบาลสหรัฐกำลังถูกตำหนิอย่างหนักเรื่องมาตรการรับมือการแพร่เชื้อ หลังจากพยาบาล 2 คนในโรงพยาบาลนั้นติดเชื้อไวรัสจากดันแคน และขณะนี้ทั้งคู่เริ่มมีอาการป่วยแล้ว นีนา แฟม พยาบาลคนแรกได้รับการเคลื่อนย้ายทางอากาศไปรักษาที่สถาบันสาธารณสุขแห่งชาตินอกกรุงวอชิงตันเมื่อคืนวันพฤหัสบดี ส่วนแอมเบอร์ วินสัน ที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อเมื่อวันพุธ ถูกส่งไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอมโมรีตั้งแต่เริ่มแรก


สมาชิกสภาคองเกรสกำลังไต่สวนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลายรายเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด หลังจากวินสันได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบินโดยสารภายในประเทศได้ทั้งที่เธอเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ แล้วตั้งแต่วันศุกร์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดตามผู้โดยสารสายการบินฟรอนเทียร์ร่วมเที่ยวบินเดียวกับเธอ ทั้งจากเที่ยวบินไปคลีฟแลนด์ และเที่ยวบินขากลับเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามและเฝ้าระวัง

เมื่อวันพฤหัสบดี ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพิ่งออกคำสั่งให้กระทรวงกลาโหมเรียกทหารกองหนุนเข้าร่วมภารกิจช่วยเหลือประเทศแอฟริการับมือการระบาดด้วย โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกำลังพลที่เพิ่มจำนวนจาก 3,200 นายเป็นเกือบ 4,000 นาย

ไวรัสอีโบลาได้คร่าชีวิตผู้ป่วยแล้วเกือบ 4,500 คนนับข้อมูลถึงวันอาทิตย์ที่แล้ว จากผู้ติดเชื้อเกือบ 9,000 คน บัน กีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ตัดพ้อว่า เสียงเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ บริจาคเงินเข้ากองทุนอีโบลาของยูเอ็นไม่ได้รับการตอบสนอง ทั้งๆ ที่มีหลายชาติรับปากบริจาคไว้ถึง 20 ล้านดอลลาร์ แต่มีเพียงโคลอมเบียชาติเดียวที่ให้เงินมาแล้ว 100,000 ดอลลาร์.

ที่มา -





จุดเสี่ยง'อีโบลา'...ไทยพร้อมรับมือ?

จุดเสี่ยง'อีโบลา'...ไทยพร้อมรับมือ? : ทีมข่าวรายงานพิเศษ

4 ตุลาคม 2557  "เทเรซา โรเมโร"  ผู้ช่วยพยาบาลชาวสเปนวัย 44 ปี ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยรายแรกติดเชื้ออีโบลานอกทวีปแอฟริกา จากการดูแลบาทหลวงมานูเอล ผู้ติดเชื้ออีโบลาจากประเทศเซียร์ราลีโอน แล้วถูกมารักษาตัวใน รพ.คาร์ลอส กรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน ผ่านไปเพียง 1 อาทิตย์  วันที่ 12 ตุลาคม "นีนา แฟม" พยาบาลวัย 26 ปีของ รพ.เท็กซัส เฮลท์ เพรสไบธีเรียน เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส กลายเป็นผู้ติดเชื้ออีโบลารายที่ 2 ของโลก แต่เป็นรายแรกในสหรัฐ โดยติดเชื้อจากการดูแล "โทมัส เอริก ดันแคน" ผู้ป่วยอีโบลาจากไนจีเรีย ส่วนรายที่ 3 ยืนยันผลตรวจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม เป็นเพื่อนร่วมงานของ นีนา ที่ชื่อ "อัมเบอร์ วินสัน" วัย 29 ปี  ทั้งนี้ผู้ป่วยทั้ง 2 เสียชีวิตไปแล้ว แต่พยาบาล 3 คนนี้ยังลุ้นว่าผลการรักษาจะเป็นเช่นไร...


กรณีข้างต้นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนวงการแพทย์ครั้งใหญ่ เพราะเป็นที่รู้กันว่าทีมแพทย์พยาบาลที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ติดเชื้ออีโบลานั้นจะต้องป้องกันตัวในระดับสูงสุด แต่ทำไมยังติดเชื้อได้ ?

"เทเรซา โรเมโร" ให้ข้อมูลว่า อาจเกิดขึ้นระหว่างที่เธอถอดชุดออก แล้วเผลอเอามือไปสัมผัสใบหน้า ซึ่งเป็นเวลาเพียงเสี้ยวไม่กี่วินาทีเท่านั้น ส่วนกรณีของ "นีนา" นั้น คาดว่าอาจติดเชื้ออีโบลาจากผู้ป่วยในช่วงกระบวนการกรองของเสียออกจากเลือด หรือระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจ

หนึ่งในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไวรัสอีโบลาของไทย วิเคราะห์ให้ฟังว่า กรณีนี้สอดคล้องกับงานวิจัยทางไวรัสวิทยาที่ระบุว่า เชื้อไวรัสอีโบลาเพียงแค่ 1 ตัวอาจทำให้ผู้สัมผัสติดโรคได้ทันที นั่นคือความน่ากลัวของมหันตภัยไวรัสตัวนี้ หากเปรียบเทียบกับโรคอื่นๆ ส่วนใหญ่ต้องใช้ปริมาณมากถึงหลักร้อยตัวขึ้นไปเช่น "ไวรัสหวัดใหญ่" ใช้มากถึง 100-1,000 ตัวขึ้นไป หรือ "เชื้อวัณโรค" อาจต้องใช้ระดับ 1 ล้านตัวขึ้นไป

"เรื่องนี้เป็นบทเรียนให้โรงพยาบาลหรือทีมผู้ดูแลผู้ป่วยอีโบลาต้องเตรียมแผนป้องกันรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องชุดป้องกัน เช่น ถุงมือ หมวก หน้ากาก ฯลฯ ที่ผ่านมาการสวมใส่ระหว่างทำงาน หรือถอดออกนั้น ต้องรู้ขั้นตอนที่เป็นช่องโหว่หรือจุดเสี่ยงอะไรบ้าง ประเทศไทยกำลังสั่งซื้ออุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาให้บุคลากรแพทย์ การสั่งซื้อมาอย่างเดียวไม่พอต้องเอาทีมงานมาฝึกใส่ฝึกถอดจนชำนาญด้วย เพราะถ้าไวรัสอีโบลาระบาดมาถึงเมืองไทยจริง ๆ พวกเขาคือกลุ่มเสี่ยงที่ใกล้ชิดกับเชื้ออีโบลาโดยตรง" ผู้เชี่ยวชาญข้างต้นกล่าวแนะนำ

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ว่า จุดเสี่ยงของผู้ติดเชื้อจากผู้ป่วยนั้น ส่วนใหญ่จะพบที่ขั้นตอนการถอดชุดป้องกันโรค ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่งกำชับให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ทำตามแผนป้องกันการติดเชื้อที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดตั้งแต่จุดรับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ตลอดจนถึงผู้ดูแลห้องเก็บศพ

ส่วนเรื่องที่หลายฝ่ายกังวลใจว่า ชุดหรืออุปกรณ์ในการป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจะไม่ได้มาตรฐานหรือไม่เพียงพอนั้น "นพ.โสภณ เมฆธน"  อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ตอนนี้อนุมัติงบประมาณรับมือไวรัสอีโบลาเบื้องต้นแล้ว 99 ล้านบาท เพื่อจัดแบ่งให้หน่วยงานต่างๆ เช่น  ค่าตอบแทนเสี่ยงภัย วัสดุที่ใช้ในห้องแล็บ ปรับปรุงห้องตรวจโรคด่านสุวรรณภูมิ ฯลฯ แต่ที่เร่งด่วนคืออุปกรณ์ป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรมควบคุมโรคจัดซื้อเรียบร้อยแล้วในงบประมาณ 12 ล้านบาท ได้มาทั้งหมด 3 หมื่นชุด สำหรับสถานพยาบาลทั่วประเทศ

"ไม่ได้แค่สั่งซื้ออย่างเดียว จะมีส่วนที่ต้องซ้อมด้วยว่า ใส่อย่างไร ถอดอย่างไร เอาทิ้งอย่างไร ทุกขั้นตอนจะมีคู่มือให้ทำตามอย่างเคร่งครัด" นพ.โสภณ กล่าวยืนยัน

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้ออีโบลาเพิ่มเป็น 3 ประเทศ และ 2 เมือง จากเดิมที่ผ่านมามีเพียง "ไลบีเรีย" "เซียร์ราลีโอน" "กินี" และ "เมืองลากอส" ประเทศไนจีเรีย โดยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ได้ประกาศเพิ่ม 1 เมืองได้แก่ "เมืองเอกาเตอร์" (Equateur) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เพื่อให้ด่านควบคุมโรคเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เหล่านี้ในทุกช่องทางทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือ สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้ออีโบลาวันที่ 15 ตุลาคม 2557 รวมทั้งสิ้น 8,914 ราย เสียชีวิต 4,447 ราย

ปัจจุบันมีอย่างน้อย 6 ประเทศ ที่รับผู้ป่วยอีโบลา 17 รายจากแอฟริกาตะวันตกไปรักษาตัว ได้แก่ อเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน และนอร์เวย์ ส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครหรือแพทย์พยาบาลที่ติดเชื้อระหว่างดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4 ราย กำลังรักษา 7 ราย และอยู่ช่วงพักฟื้น 6 ราย

"มาร์กาเร็ต ชาน" ผอ.องค์การอนามัยโลกยอมรับว่า มหันตภัยอีโบลาถือเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่เลวร้ายสุดในยุคนี้ คงต้องเฝ้าดูว่าสุดท้ายมันจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก

ที่มา -