ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

สนช.มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 18, 14, 21:54:08 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (16 ต.ค. 57) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน ที่คณะรัฐมนตรีเสนอในวาระรับหลักการ โดยร่างกฎหมายฉบับนี้มีสมาชิกสนใจอภิปรายหลายคน อาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์  ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาน้ำมันรั่วระหว่างการขนส่ง มีเหตุเรือชนกันหลายครั้งจนส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้นหากมีการตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาจะสร้างความมั่นใจว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการคุ้มครอง


จากนั้นที่ประชุมมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน ด้วยคะแนนเสียง 189ไม่เห็นด้วย 2งดออกเสียง 4ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 15คน แปรญัตติ 15วัน กำหนดระยะเวลาทำงานภายใน 60วัน

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน พ.ศ. ... เป็นการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน โดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศกำหนดให้เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบอย่างเคร่งครัดและต้องจัดหาหลักประกันทางการเงินหรืออื่นใด เพื่อชดใช้ค่าเสียหายจากมลพิษน้ำมัน เนื่องจากการขนส่งน้ำมันส่วนใหญ่จะขนส่งทางเรือเดินทะเลเป็นหลัก และทำให้เกิดมลภาวะ ทั้งการปล่อยน้ำมันลงทะเล การรั่วไหลของน้ำมัน ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากรในวาระที่ 3ด้วยคะแนน 184 งดออกเสียง 3เสียง โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่มีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ แต่มีข้อสังเกตเรื่องการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาคำร้อง ขอให้ตีความพิกัดอัตราศุลกากร ที่ควรมีมาตรการกำกับเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และข้อสังเกตเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดนที่กรรมาธิการห่วงใยว่าควรบังคับใช้กฎหมายอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นด้วย 183 ไม่เห็นด้วย 1 งดออดเสียง 3  ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ซึ่งร่างดังกล่าวไม่มีการแก้ไขใด ๆ

ที่มา -




สนช. รับหลักการกม.ชดใช้ค่าเสียหายจากมลพิษน้ำมัน

มติสนช.รับหลักการวาระแรก กฎหมาย ชดใช้ค่าเสียหายจากมลพิษน้ำมัน


การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ความรับผิดชอบทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน พ.ศ. ... โดยมีหลักการและเหตุผล เนื่องจากการขนส่งน้ำมันส่วนใหญ่จะขนส่งทางเรื่องเดินทะเลเป็นหลัก และเรื่องบรรทุกน้ำมันได้ก่อมลภาวะต่อสภาพวะแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยทิ้งน้ำมันลงในทะเล การรั่วไหลของน้ำมัน หรือเรือประสบอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ มลพิษน้ำมันไม่ได้ก่อความเสียหายเพียงเฉพาะจุดเกิดเหตุเท่านั้น แต่อาจขยายไปยังรัฐอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน ขณะที่ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime OrganiZation) ได้จัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดชอบทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ. 1992 เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายจากมลพิษน้ำมัน โดยกำหนดให้เจ้าของเรือต้องรับผิดอย่างเคร่งครัด และเอาประกันภัยหรือจัดหาหลักประกันทางการเงินอื่นใดมาชดใช้ความเสียหาย

อย่างไรก็ดี สมาชิกส่วนใหญ่ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสนับสนุนร่างดังกล่าวให้ออกประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพื่อป้องกันและควบคุมมลภาวะที่อาจตามมา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น กรมเจ้าท่าต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมาจัดการเรื่องดังกล่าว ขณะที่เจ้าของเรือไม่มีบทกำหนดโทษใดๆที่ชัดเจน

ด้าน นายตวง อันทะไชย สนช. กล่าวว่า ภาพรวมกฎหมายส่วนตัวให้การสนับสนุน แต่มีประเด็นติดใจ คือ หมวด 2 มาตร 9 ที่ระบุว่าเจ้าของเรือไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว โดย (1) เป็นผลพวงจากสงคราม การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ สงครามกลางเมือง การจลาจล หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงป้องกันได้ ซึ่งข้อนี้ยังพอเข้าใจและทำใจได้

ขณะที่ (2) ซึ่งระบุว่า เกิดขึ้นทั้งหมดจากบุคคลที่สามซึ่งได้กระทำหรืองดเว้นกระทำโดยจงใจที่จะทำให้เกิดความเสียหายนั้น ซึ่งเรื่องนี้อยากให้พิจารณาใหม่ เพราะคำว่าเกิดจากบุคคลที่สามและไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ไม่มีการพูดถึงการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบรับหลักการวาระแรก ด้วยคะแนน 188 : 2 เสียง โดยใช้เวลาในการแปรญัตติ 15 วัน และดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อใช้ประกาศเป็นกฎหมายภายใน 60 วัน

ที่มา -

ดาวน์โหลดเอกสาร - ร่าง พรบ.ความรับผิดทางแพ่ง เพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน พ.ศ....

..-