ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

การขนส่งทางเรือของจีน ตัวการร้ายปล่อยมลพิษรุนแรงกว่ามลพิษบนท้องถนน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 03, 14, 19:37:06 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมะกันชี้ จีนกำลังต่อสู้กับปัญหามลพิษในประเทศ โดยสั่งปิดโรงงาน และมุ่งแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน แต่กลับไม่เคยมีการตรวจสอบท่าเรือ ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ในการปล่อยมลพิษเลย


รายงานผลการศึกษามลพิษในฮ่องกงและเมืองเซินเจิ้นของสภาป้องกันแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Defence Council) หรือ เอ็นอาร์ดีซี ในสหรัฐฯ ระบุว่า ท่าเรือใหญ่ที่สุดในโลกทั้งหมด 10 แห่งมีอยู่ที่จีนถึง 7 แห่ง และเรือขนส่งสินค้าทางทะเลกว่า 1 ใน 4 ของโลกแล่นผ่านจีน โดยเมืองชายฝั่งทะเล ที่มีประชากรหนาแน่น เช่นก่วงโจว เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น จัดอยู่ในกลุ่มเมืองที่มีมลพิษมากที่สุด

เรือหลายพันลำ ที่แล่นไปมาในเส้นทางน้ำของจีน กำลังปล่อยมลพิษหลายชนิดปนกัน โดยเรือเดินสมุทรเผาไหม้เชื้อเพลิงและปล่อยสารกำมะถันในระดับสูงกว่าที่รถยนต์ปล่อยบนถนนถึง100 - 3,500 เท่า ดังนั้น เรือบรรทุกสินค้านอกชายฝั่งจีนลำหนึ่ง จึงปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลมากเท่ากับปริมาณ ที่รถบรรทุก ซึ่งเป็นรถใหม่ของจีนปล่อยรวมกัน 5 แสนคันในแต่ละวัน

จีนกำลังได้รับผลที่ร้ายแรงตามมา โดยมีการประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 1 ล้าน 2 แสนคนจากมลพิษในอากาศในจีนเมื่อปี 2553 และการขนส่งทางเรือเป็นตัวการปล่อยมลพิษในอากาศและก่อปัญหาสุขภาพแหล่งใหญ่ทีเดียว

รายงานระบุว่า เรือส่วนใหญ่ ซึ่งจอดที่ท่าเรือของจีนใช้น้ำมันเตาราคาถูก ซึ่งมีสารกำมะถันสูง ส่วนรถยนต์และอุปกรณ์ที่ท่าเรือใช้น้ำมันดีเซล จึงทำให้ฝุ่นละอองมลพิษจากการเผาไหม้เครื่องยนต์ดีเซลมีระดับสูง รวมทั้งออกไซด์ของไนโตรเจน และออกไซด์ของกำมะถัน มลพิษเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและโรคระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนโรคหัวใจและหลอดเลือด


อย่างไรก็ตาม มีเพียงไม่กี่เมืองในจีน ที่ดำเนินมาตรการควบคุมมลพิษจากเรือขนส่ง เช่นฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎข้อบังคับการปล่อยสารกำมะถันในระดับต่ำจากเรือ ส่วนนครเซินเจิ้นมีการประกาศแผนขจัดมลพิษ

เมืองและมณฑลอื่น ๆ ที่มีท่าเรือ เช่น เซี่ยงไฮ้ ชิงเต่า ก่วงตง เจียงซู และซานตง ประกาศแผนส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถบรรทุกและอุปกรณ์ ที่ท่าเรือ แต่เอ็นอาร์ดีซีตั้งข้อสังเกตว่า เป็นแผน ที่ปราศจากรายละเอียด เป้าหมาย และบทลงโทษ ที่ชัดเจน

ทั้งนี้ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organisation) หรือ ไอเอ็มโอ ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับเรือทั่วโลก และมีการบังคับใช้เขตควบคุมการลดการปล่อยมลพิษจากเรือขนส่งในอเมริกาและยุโรป แต่ในเอเชียยังถูกปล่อยปละละเลย

ในส่วนของจีนนั้น รายงานระบุว่า ท่าเรือของจีนอาจรีรอไม่ดำเนินการควบคุมมลพิษ เนื่องจากเกรงว่า จะทำให้เรือขนส่งสินค้าเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น ซึ่งจะทำให้ต้องสูญเสียรายได้ทางการค้าไป

ที่มา -