ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เชื้อเพลิงฟอสซิลทำน้ำท่วมโลกอีก 100 ปีนับต่อจากนี้

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 14, 14, 22:29:04 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย อาคม รวมสุวรรณ 13 พ.ย. 2557

ภัยแล้ง พายุรุนแรง น้ำท่วม คลื่นความร้อน พืชผลการเกษตรเสียหาย การระบาดของโรคภัยต่างๆ ที่รุนแรงขึ้น เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของความเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น และสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ทุกชาติ


บรรยากาศโลกและสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการร่วมกันมายาวนาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ตั้งแต่ ค.ศ. 1750 เป็นต้นมา ทำให้มีการนำพลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้ การใช้พลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ปริมาณก๊าซนี้เพิ่มขึ้นจาก 50 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในช่วงก่อน ค.ศ. 1750 เป็น 356 ppm ในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า (700 ppm) ภายใน ค.ศ. 2100

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ เช่น มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีอยู่ในบรรยากาศโลกในปริมาณน้อย มีคุณสมบัติในการดูดกลืนพลังงานความร้อน จึงเรียกว่าก๊าซเรือนกระจก เมื่อก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้น บรรยากาศโลกจึงดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้เพิ่มขึ้น จากปกติที่ควรแผ่รังสีพลังงานความร้อนคืนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลก ส่งผลให้สมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดผลกระทบต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เป็นต้น ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (IPCC, 2001)


การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเกษตรเพื่อผลิตอาหารของมนุษย์ สุขภาพอนามัย ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศได้รับจะแตกต่างกันตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ เป็นเวลานับร้อยปีมาแล้วที่เชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตกระแสไฟฟ้าและการใช้รถยนต์ของมนุษย์แล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก สิ่งที่ตามมาคือการละลายของธารน้ำแข็งทั่วโลกจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบตรงๆเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความร้อนที่ทำให้ธารน้ำแข็งขนาดยักษ์ละลายเริ่มต้นกระบวนการท่ีมีผลต่อระดับน้ำทะเลซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนท่วมหัวเมืองชายฝั่งจมมิดในอีกไม่นานนับต่อจากนี้ประมาณ 100 ปี นอกจากน้ำทะเลที่เพิ่มระดับความสูงขึ้นจนจมเมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลแล้ว พายุที่เกิดขึ้นในทะเลจะมีกำลังแรงมหาศาลจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหน่วงมากกว่าในอดีต

เนื่องจากภูมิอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการเร่งใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิล ย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชีวภาพและการดำรงชีพของมนุษย์อย่างกว้างขวาง ตัวแปรของภูมิอากาศที่สำคัญคือ ปริมาณฝน อุณหภูมิ และปริมาณแสงแดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความถี่ของตัวแปรดังกล่าวให้เลวร้ายลงเรื่อยๆ จนยากที่จะแก้ไขให้สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบกลับมาเหมือนเดิมได้อีกต่อไป


คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ IPCC ได้เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น เกือบทั้งหมดเป็นความผิดของมนุษย์ และอาจจำเป็นต้องยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดภายในศตวรรษนี้ นั่นหมายถึง ต้องหยุดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งน้ำมัน, ก๊าซ, และถ่านหิน เพื่อให้โลกมีโอกาสรักษาอุณหภูมิให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตราย กล่าวคือ ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา

บัน คี มูน เลขาธิการยูเอ็น ย้ำว่า ต้องปฏิบัติเดี๋ยวนี้ อย่างทันทีและเด็ดขาด เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นและยั่งยืน IPCC ระบุด้วยว่า ต้นทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน จะลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงแค่ 0.06 เปอร์เซ็นต์/ปี ทั้งนี้ IPCC ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมาแล้ว 3 ฉบับในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 4 และเป็นฉบับสุดท้าย

ที่มา - องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก http://www.tgo.or.th - www.krobkruakao.com

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook http://www.facebook.com/chang.arcom

ที่มา -