ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ฟิลิปปินส์และเวียดนามไม่สามารถต่อเรือเพื่อสร้างทัพเรือ แข่งกับจีนได้

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 23, 14, 18:23:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

2014-11-20 โดย มาร์ติน ซีฟฟ์ - ฟิลิปปินส์และเวียดนามยังเป็นรองจีนในการสร้างทัพเรือเพื่อขยายแสนยานุภาพทางทะเลในท้องทะเลจีนใต้ [SCS]


ประเด็นดังกล่าวมีนัยยะสำคัญทางความมั่นคงเนื่องจากปักกิ่งกำลังยึดครองทะเลจีนใต้ด้วยเรือรักษาการณ์ชายฝั่งชุดใหม่ ซึ่งมีเรือรบพิฆาตลำใหญ่กว่าคอยหนุนทัพ เพื่อยืนยันสิทธิ์เหนืออาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทางทะเลทั้งหมด ทะเลจีนใต้ยังคงเป็นเส้นทางการค้าทางน้ำที่พลุกพล่านและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ถึงแม้จีนจะมีท่าทีรุกรานเพื่ออ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์และเวียดนามก็ยังต้องแสดงตนให้พอเหมาะ กฎหมายระหว่างประเทศจะเป็นเครื่องตัดสินการแบ่งกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่พิพาทโดยอ้างอิงข้อเรียกร้องทางประวัติศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ นายคอ สวี ลีน คอลลิน นักวิจัยแห่งศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศของสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง ประเทศสิงคโปร์ เขียนไว้

"เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของปักกิ่งในการสร้างเรือลาดตระเวนเพิ่มเพื่อแสดงและดำรงสถานะในทะเลจีนใต้ ฮานอยและมะนิลาสามารถและจำเป็นต้องทำอะไรให้มากกว่านี้ ไม่มีข้อกังขาเรื่อง 'ความจำเป็น' เลย" นายคอลลินเขียนในเดอะ ดิพลอแมท เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

นายชาร์ลส ดับบลิว ฟรีแมน จูเนียร์ ประธานร่วมของมูลนิธินโยบายสหรัฐอเมริกา-จีน กล่าวกับเอเชีย แปซิฟิก ดีเฟนส์ ฟอรัม [APDF] ว่าปักกิ่งมุ่งมั่นเดินหน้าสร้างเรือลาดตระเวนขนาดเล็กเป็นการใหญ่ เพื่อบีบให้ภูมิภาคทะเลจีนใต้ยอมปฏิบัติตามการอ้างอำนาจอธิปไตยในดินแดนของตน

การกระทำของจีนสร้างความหวั่นใจให้ประเทศเพื่อนบ้าน

"จีนเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ในแปซิฟิกตะวันตก และบริบทดังกล่าวก็เป็นเหตุให้ความเคลื่อนไหวล่าสุดของจีนในทะเลจีนตะวันออกและใต้สร้างความหวาดกลัวให้ชาวฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม" นายฟรีแมนระบุ

"ความพยายามล่าสุดของเวียดนามในการยับยั้งจีนไม่ให้ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซห่างออกไป 17 ไมล์จากชายฝั่งของ หมู่เกาะพาราเซล ซึ่งจีนครอบครองอาณาเขตส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2488 และควบคุมพื้นที่ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2517 ทำให้จีนเชื่อว่าจำเป็นต้องมียามรักษาการณ์ชายฝั่งที่เข้มแข็ง และสามารถปกป้องผลประโยชน์ของจีนจากการลดทอนสิทธิ์โดยประเทศอื่นได้ นายฟรีแมนกล่าว

นายกอร์ดอน จี ชาง นักเขียนเรื่องประเด็นความมั่นคงในเอเชียตะวันออก ให้ข้อมูลกับ APDF ว่า กองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[PLAN] ผสานเรือรักษาการณ์ชายฝั่งขนาดเล็กเข้ากับเรือรบขนาดใหญ่กว่าที่คอยหนุนทัพในยุทธศาสตร์ที่สมดุลเพื่อแสดงอำนาจเหนือท้องทะเลจีนใต้

"จีนได้ใช้ยานพาหนะขนาดเล็กเพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ พร้อม ๆ ไปกับการดำเนินยุทธวิธีที่ก้าวร้าวกับประเทศเพื่อนบ้าน การใช้ 'เรือสีเทา' [เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่กว่า] จะก่อให้เกิดการตอบโต้รุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่สี 'ขาว' [เรือลาดตระเวนชายฝั่งขนาดเล็กกว่า] มักไม่ส่งผลเช่นนั้น" นายชางกล่าว

"นอกจากนี้ ปักกิ่งยังใช้กลยุทธ์ปริมาณ-คือ-คุณภาพโดยการยึดครองพื้นที่ด้วยยานพาหนะขนาดเล็ก เวียดนามและฟิลิปปินส์คงไม่สามารถรับมือได้" เขาให้ความเห็น

นิตยสารเดอะ อีโคโนมิสต์ตั้งข้อสังเกตในรายงานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ว่าจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถสร้างเสริมศักยภาพในการต่อเรือให้เหนือกว่าคู่แข่งทั้งหมดในภูมิภาคทะเลจีนใต้ได้อย่างง่ายดาย

ซาลามีและกะหล่ำปลี

นายโรเบิร์ต แฮดดิค ผู้เขียน "ไฟในน้ำ: จีน อเมริกาและอนาคตของแปซิฟิก" บอกกับเดอะ อีโคโนมิสต์ว่าจีนใช้ความได้เปรียบของจำนวนเรือลาดตระเวนชายฝั่งขนาดเล็กบังคับให้ประเทศเพื่อนบ้านทำตามคำกล่าวอ้างอำนาจอธิปไตยของตนด้วยวิธีการเฉือนทีละชิ้นแบบ "การหั่นซาลามี"

นี่คือ "ความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่พอกพูนขึ้นช้า ๆ ซึ่งลำพังตัวของมันคงไม่มีทางกลายเป็นเหตุแห่งสงคราม แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจสั่งสมจนก่อเกิดเป็นความเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้" นายแฮดดิคเผยกับเดอะ อีโคโนมิสต์

นายโรนัลด์ โอ รูค นักวิเคราะห์ด้านนาวิกโยธินประจำหน่วยงานวิจัยของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เผยกับเดอะ อีโคโนมิสต์ว่าเจ้าหน้าที่จีนได้เรียกการขยายขอบเขตอำนาจอธิปไตยในภูมิภาคว่า "กลยุทธ์กะหล่ำปลี"

"หมู่เกาะถูกห่อหุ้มทีละชั้น ๆ เหมือนหัวกะหล่ำปลีด้วยการปิดกั้นของเรือประมง เรือรักษาการณ์ชายฝั่งของจีนและเรือเดินสมุทรเป็นลำดับสุดท้าย จีนแทบไม่เคยเคลื่อนกำลังพลพร้อมอาวุธในดินแดนที่ถูกรุกล้ำซึ่งแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ เลย" เดอะ อีโคโนมิสต์ระบุ

"จุดเด่นสำคัญของกลยุทธ์แบบจีนคือการหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชนโดยตรงเท่าที่จะทำได้ กองทัพเรือรักษาการณ์ชายฝั่งและเรือประมงขนาดใหญ่ของจีนอยู่ด้านหน้าในการลาดตระเวนทะเลจีนใต้ ตลอดจนแสดงสิทธิ์ในเขตแดนและพื้นที่ประมงที่เกี่ยวข้องอย่างอุกอาจ" พลเรือตรีไมเคิล แมคเดวิตต์ผู้ปลดเกษียณแล้วเขียนใน "ทะเลจีนใต้: การประเมินนโยบายสหรัฐอเมริกาและทางเลือกสำหรับอนาคต " ให้กับศูนย์วิเคราะห์นาวิกโยธินเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน

เขาชี้ให้เห็นว่าการกระทำซึ่งรู้กันแพร่หลายที่สุดก็คือการไล่เรือประมงชาติอื่นออกจากพื้นที่ประมงที่จีนอ้างว่าเป็นเจ้าของ การพยายามขัดขวางไม่ให้เรือฟิลิปปินส์เข้าไปส่งเสบียงเพิ่มเติมให้กองกำลังนาวิกโยธินฟิลิปปินส์ซึ่งประจำอยู่บนซากเรือเก่าที่เกยตื้นในเซกันด์ โธมัส โชล และการกันชาวประมงฟิลิปปินส์ออกจากพื้นที่ประมงดั้งเดิมบริเวณสคาร์โบโร โชล

ตัวเลขเป็นสิ่งสำคัญ

นายคอลลินอ้างอิงคำพูดของนายเหลียง ตวง นาห์ นักวิเคราะห์ชาวเวียดนามผู้โต้ว่า "ในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจอธิปไตย สิ่งสำคัญไม่ใช่การครอบครองเรือรบที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าหลายลำ ... หากเป็นความสามารถในการยกทัพยานพาหนะหรือเรือรบลาดตระเวนขนาดเล็ก ซึ่งศักยภาพทางเทคนิคอาจจะด้อยกว่า แต่ก็มีจำนวนมากกว่า เพื่อประกาศศักดาใน EEZ [เขตเศรษฐกิจจำเพาะ] อย่างต่อเนื่อง"

นายคอลลินย้ำว่าขณะที่เรือรักษาการณ์ชายฝั่งมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการล่าสุดในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้งเรื่องแท่นขุดน้ำมันระหว่างจีนและเวียดนาม ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ก็แสดงให้เห็นว่าเรือที่ติดอาวุธพร้อมอาจกลายเป็นอิทธิพลมืดได้ กองทัพเรือและกองกำลังรบกึ่งทหารของจีนได้ฝึกซ้อมร่วมกันในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน

"ทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามแยกหน่วยรักษาการณ์ชายฝั่งออกจากกองทัพเรือชัดเจน ซึ่งหมายถึงการแบ่งสรรทรัพยากรธรรมชาติที่หายากระหว่างหน่วยงานเหล่านั้นด้วย" นายคอลลินเตือน "เราไม่ควรย่ามใจเรื่องการโน้มน้าวนักวางแผนป้องกันประเทศในฮานอยและมะนิลาเกี่ยวกับความจำเป็นในการซื้อเรือลาดตระเวนสำหรับรักษาการณ์ชายฝั่งเพิ่มแทนเรือรบ"


ในทางกลับกัน จีนกำลังสร้างเรือที่ติดตั้งอุปกรณ์ครบครันกว่าเดิมเพิ่มขึ้นอีก

"จีนเป็นนักต่อเรือที่มั่นคง ในขณะที่ศักยภาพทางการต่อเรือที่จำกัดและการพึ่งพาทรัพยากรจากต่างประเทศเป็นข้อเสียเปรียบของเวียดนามและฟิลิปปินส์อย่างเห็นได้ชัด" เขาเขียน

นอกจากนี้ นายคอลลินระบุว่าฟิลิปปินส์และเวียดนามยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การขาดแคลนความร่วมมือทางทหารหรือการจัดซื้อจัดหาที่จำเป็นจนถึงบัดนี้ รวมไปถึงความขัดแย้งระดับทวิภาคีเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะพิพาทของทั้งสองประเทศในอดีตด้วย

"หมู่เกาะคาลายานในมะนิลาคาบเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ตรวงซา [สแปรตลีย์] ของเวียดนาม และทั้งสองประเทศยังเคยเป็นคู่กรณีพิพาททางทะเลในอดีตด้วย" เขาเขียน "ไม่มีสิ่งใดรับประกันว่าเพียงเพราะทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกอาเซียน [สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้] พวกเขาจะไม่สู้รบปรบมือกันเรื่องทะเลจีนใต้ในอนาคต ... ณ ตอนนี้ ฟิลิปปินส์และเวียดนามกำลังพอใจกับผลประโยชน์ร่วมกันในทะเลจีนใต้ แต่สถานการณ์ในอนาคตและความเป็นไปได้เรื่องการจัดหาแนวทางการป้องกันร่วมกันล่ะ"

เวียดนามและฟิลิปปินส์ควรให้ความสนใจกับตัวเลขหรือเทคโนโลยีในการพัฒนากองทัพเรือหรือไม่ โปรดแสดงความคิดเห็นของคุณในช่องแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่าง

ที่มา -