ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

โครงการอนาคตเมืองใต้น้ำแห่งแรกของโลก “เกลียวมหาสมุทร”

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 29, 14, 21:45:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ : เทคโนโฟกัส - ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

หลังจากข่าวองค์การอวกาศยุโรปนำยานสำรวจ "ฟีเล" (Philae) ลงจอดบนดาวหางสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก พิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์ทำได้แทบทุกสิ่ง แม้แต่ไอเดียสุดล้ำอย่างการสร้าง "เมืองใต้น้ำ" แห่งแรกในโลกก็อาจสัมฤทธิผลได้เช่นเดียวกัน


"ชิมิสึ คอร์ปอเรชั่น" (Shimizu Corporation) บริษัทก่อสร้างชั้นนำในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผุดไอเดียแนวคิดเมืองแห่งอนาคตที่สร้างใต้น้ำในทะเลลึกเป็นแห่งแรกในโลก พร้อมทั้งสร้างแหล่งพลังงานยั่งยืนที่มีศักยภาพสูงเพียงพอใช้งานทั่วทั้งเมือง

บริษัทชิมิสึฯได้เปิดตัวพิมพ์เขียวออกมาให้ทั่วโลกได้ฮือฮา หลังจากพัฒนาร่างแบบนานกว่า 2 ปี คาดว่าการก่อสร้างอาจเสร็จสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ทศวรรษ ประเมินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างราว 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 832,000 ล้านบาท

โครงการอนาคตเมืองใต้น้ำแห่งแรกของโลกได้รับการขนานนามว่า "เกลียวมหาสมุทร" (Ocean Spiral) โดยเป็นเมืองใหญ่คล้ายกับ "แอตแลนติส" (Atlantis) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณในตำนานที่กล่าวกันว่าสาบสูญไปเพราะถูกสึนามิถล่มจมลงในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

อาณาจักรใต้น้ำยุคอนาคตประกอบด้วยโดมทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 500 เมตร คาดว่าอาคารทรงกลมแต่ละโดมรองรับประชากรได้ถึง 5,000 คน โดยมีทั้งบ้านเรือนและโรงแรม สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทำงาน และกิจกรรมนันทนาการต่างๆ

อาคารทรงกลมเหล่านี้ลอยอยู่บนพื้นผิวของน้ำทะเล และออกแบบให้จมลงก้นทะเลในกรณีที่สภาพอากาศเลวร้าย ตรงกลางโดมเป็นโครงการเกลียวขนาดยักษ์ลึกลงไปใต้น้ำ 4 กิโลเมตร โครงสร้างทั้งหมดทำจากเรซินแทนคอนกรีต และผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อสร้างแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบต่อกัน

ทางเดินเกลียวระยะทาง 15 กม. เชื่อมต่อไปยังอาคารบนพื้นมหาสมุทร ซึ่งเป็นสถานีวิจัยก้นทะเลที่ดำเนินการขุดเหมืองก้นทะเลค้นหาโลหะมีค่า และสร้างแหล่งพลังงานป้อนเข้าสู่เมืองเหนือผิวน้ำ โดยใช้หลักการสร้างพลังงานจากความแตกต่างของอุณหภูมิในน้ำทะเล

แม้ยังมีเพียงพิมพ์เขียว แต่บริษัทชิมิสึฯมีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคตเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใต้น้ำให้สำเร็จ รวมทั้งมีกระบวนการผลิตน้ำจืดโดยใช้ความดันไฮดรอลิก และสร้างฟาร์มปลารอบๆโครงสร้างอาณาจักรใต้น้ำ

นอกจากนั้นยังมีแผนควบคุมปริมาณประชากรของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เพื่อใช้แปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลังงานก๊าซมีเทนด้วย

โครงการเมืองใต้ทะลดูเหมือนจะห่างไกลจากความเป็นจริง แต่แนวคิดของบริษัทชิมิสึฯตอกย้ำความวิตกทั่วโลกเรื่องระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว เพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร และทำให้สูญเสียของสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ได้ ซึ่งโลกของเรานั้นมีทะเลมากที่สุด โดยมหาสมุทรครอบคลุมร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลก


เมื่อพิจารณาจากความร่วมมือและการสนับสนุนในการออกแบบโครงการจากมหาวิทยาลัยโตเกียว สำนักงานวิทยาศาสตร์ทางทะเลโลกแห่งชาติของญี่ปุ่น และหน่วยงานวิจัยการประมงของรัฐบาล ความเป็นไปได้นั้นมีมากทีเดียว

บริษัทก่อสร้างชิมิสึฯประมาณการว่าเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาณาจักร "เกลียวมหาสมุทร" พร้อมติดตั้งเหนือพื้นน้ำและลึกลงไปในทะเลภายในปี 2573 หรืออีก 16 ปีข้างหน้า

ที่มา -




ชมไอเดียสุดล้ำ ญี่ปุ่นผุดโปรเจ็กต์ สร้าง "เมืองใต้น้ำแห่งอนาคต"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น ประกาศจะสร้าง "เมืองใต้น้ำ" ซึ่งจะเป็นเมืองแห่งอนาคตสำหรับประชากรญี่ปุ่น โดยคาดว่า จะใช้เวลาสร้างราว 15 ปี


รายงานระบุว่า บริษัท "ชิมิสุ คอร์เปอเรชั่น" ได้เปิดเผยโมเดลต้นแบบของเมืองใต้น้ำ ที่ถูกเรียกว่าเป็น "อาณาจักรแอตแลนติคในยุคอนาคต" ซึ่งจะเป็นดินแดนแห่งชุมชุมที่สามารถพึ่งพิงตัวเองได้ โดยอาจจะตั้งอยู่บนหรือใต้พื้นน้ำทะเล โดยเมืองดังกล่าว อยู่ภายใต้โปรเจ็กต์ชื่อว่า "The Ocean Spiral" มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างรูปเกลียวหมุน มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 500 เมตร ประกอบไปด้วยโรงแรม แหล่งที่พักอาศัย และย่านศูนย์พาณิชย์ โดยเสาเกลียวหมุนใหญ่จะเชื่อมต่อกับแหล่งที่พักอาศัยที่กันน้ำแต่ละแหล่งจนถึงชั้นใต้น้ำทะเล และสามารถสร้างพลังงานในรูปแบบของโรงงานผลิตก๊าซมีเธนได้


นอกจากนี้ โปรเจ็กต์นี้ยังสามารถขุดหาทรัพยากรสินแร่หายากใต้ท้องทะเลได้ด้วย โดยระบบขนส่งจะวางเป็นแนวนอนใต้ก้นทะเลและขึ้นไปตามชั้นเกลียวคลื่นต่างๆ สำหรับประชากร คาดว่าจะมีจำนวน 5 พันคน อาศัยบนลูกบอลโปร่งแสงปิดผนึกบนยอดเกลียว โดยอยู่เหนือพื้นผิวน้ำเพื่อรับแสงแดด แต่ก็สามารถลดระดับลงมาสู่ใต้คลื่นทะเลได้ หากเกิดสภาะอากาศเลวร้าย

ขณะที่ "แหล่งพำนักแรก" คาดว่าจะใช้เวลาสร้าง 15 ปี หรือเสร็จราวปี 2030 และใช้เวลา 5 ปี สร้างแหล่งพำนักย่อยอื่น ๆ ตามมา

ที่มา -



..-