ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

อียูเตือนไทยแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ให้เวลา 6 เดือน

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 11, 15, 12:18:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

อียู เตือนไทยเร่งแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย หวั่นสินค้าไทยส่งไปอียูเข้าข่ายสินค้า "ไอยูยู"


ให้เวลา 6 เดือน ปรับปรุงระบบการประมงให้ได้มาตรฐานอียู ขณะที่กรมประมงจี้เรือประมงขึ้นทะเบียน พร้อมเปิดหน่วยเคลื่อนที่ 112 จุดในพื้นที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล

นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งดำเนินมาตรการป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงาน และไม่มีการควบคุม(ไอยูยู) เนื่องจากในเดือน ต.ค.2557 ผู้แทนจากสหภาพยุโรป(อียู) ได้เข้ามาตรวจสภาพการทำประมงของไทยว่า สินค้าประมงที่ไทยส่งไปอียูเข้าข่ายสินค้าไอยูยู ตามที่อียูได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ตั้งแต่ปี 2553 หรือไม่ ผลปรากฏว่า อียูได้เตือนว่าไทยยังอยู่ในข่ายประเทศ ที่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมให้เวลาปรับปรุงระบบการประมงก่อนที่จะออกประกาศเตือนไทยอย่างเป็นทางการเดือนก.พ.นี้

ทั้งนี้ หลังจากอียูออกประกาศเตือนสินค้าประมงไทยอย่างเป็นทางการในเดือนก.พ.นี้ ไทยจะมีเวลา 6 เดือนในการปรับระบบการประมงให้ได้ตามมาตรฐานอียู ซึ่งอียูจะประกาศผลอีกครั้งเดือนส.ค.นี้ ว่าไทยสามารถปรับมาตรฐานได้หรือไม่ โดยผลการพิจารณาอาจออกมาได้ 3 แนวทาง 1.ขยายเวลาประกาศเตือนออกไปอีก 6 เดือน เพื่อให้เวลาไทยปรับระบบของตัวเองเพิ่มเติม 2.ออกใบเหลืองให้กับไทย และ 3.ออกใบแดงให้ไทย ซึ่งหมายถึงการงดการนำเข้าสินค้าประมงจากไทยทั้งหมด จะทำให้ไทยสูญรายได้ปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท

สำหรับมาตรการที่อียู ต้องการให้ไทยปรับปรุงการแก้ปัญหาไอยูยู แบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย กฎหมายด้านการประมง แผนจัดการประมงระดับชาติ การติดตั้งระบบติดตามเรือ(วีเอ็มเอส) โดยเฉพาะเรือประมงขนาดใหญ่ ที่ออกไปทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศ การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง ที่จะต้องทำให้ทราบได้ว่า ปลาหรือสินค้าประมงที่จับมาได้ มาจากเรือลำใด ในน่านน้ำใด

นายจุมพล กล่าวว่า มาตรการที่ไทยได้ดำเนินการแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าไอยูยู อาจทำให้อียูห้ามนำเข้าสินค้าประมงไทยทั้งหมด ได้แก่ 1.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประมง พ.ศ.... ซึ่งเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แล้ว คาดจะมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ 2.คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้กรมเจ้าท่า ออกระเบียบให้เรือขนาดใหญ่ตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งวีเอ็มเอส ขณะนี้มีเรือที่อาสามาติดตั้งแล้ว โดยไม่รอให้ภาครัฐบังคับ ประกอบด้วย เรือประมงไทยที่ทำประมงในประเทศปาปัวนิวกินี 50 ลำ เรือขนถ่ายสินค้าประมงกลางทะเล 21 ลำ และเรืออวนล้อมปลาโอ 300 - 400 ลำ

ทั้งนี้ เรื่องเร่งด่วนที่ไทยต้องดำเนินการ คือ การขึ้นทะเบียนเรือประมงให้ถูกต้อง เพราะเรือที่จะทำประมงได้ ต้องขออนุญาต 3 ด้าน คือ 1.จดทะเบียนเรือไทย 2.ขออนุญาตการใช้เรือจากกรมเจ้าท่า และ 3.ขอใบอนุญาตทำประมง หรืออาชญาบัตร ที่ระบุชนิดเครื่องมือจับปลา 14 ชนิด จากกรมประมง แต่เนื่องจากขั้นตอนอาจจะมีมาก กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมการปกครอง จะร่วมกันไปตั้งจุดรับจดทะเบียนเคลื่อนที่ 112 จุด ในพื้นที่ 23 จังหวัดติดชายทะเลทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.-มี.ค.นี้

ที่มา -




ไทยเร่งเครื่องแก้ปัญหาสินค้าประมงผิดกฎหมาย

นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ เร่งดำเนินมาตรการป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงาน และไม่มีการควบคุม(ไอยูยู) เนื่องจากในเดือนต.ค.2557 ผู้แทนจากสหภาพยุโรป(อียู) ได้เข้ามาตรวจการณ์สภาพการทำประมงของไทยว่า สินค้าประมงไทยที่ส่งออกไปยังอียู เข้าข่ายสินค้าไอยูยูตามที่อียูได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ตั้งแต่ปี 2553 หรือไม่ ซึ่งผลปรากฎว่าอียู ได้เตือนว่าไทยยังอยู่ในข่ายประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมให้เวลาปรับปรุงระบบการประมง ก่อนที่จะมีการออกประกาศเตือนไทยอย่างเป็นทางการในเดือนก.พ.2558


ทั้งนี้ หลังจากอียูออกประกาศเตือนสินค้าประมงไทยอย่างเป็นทางการ ในเดือนก.พ.นี้แล้ว ไทยจะมีเวลา 6 เดือนในการปรับปรุงระบบการประมงให้ได้ตามมาตรฐานอียู ซึ่งอียูจะประกาศผลอีกครั้งในเดือนส.ค.นี้ ว่าไทยสามารถปรับมาตรฐานของตัวเองได้หรือไม่ โดยผลการพิจารณาอาจออกมาได้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1.ขยายระยะเวลาประกาศเตือนออกไปอีก 6 เดือน เพื่อให้เวลาไทยปรับปรุงระบบของตัวเองเพิ่มเติม 2.ออกใบเหลืองให้กับไทย และ 3.ออกใบแดงให้ไทย ซึ่งหมายถึง การงดการนำเข้าสินค้าประมงจากไทยทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ไทยสูญรายได้ปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท

สำหรับ มาตรการที่อียู ต้องการให้ไทยปรับปรุงการแก้ปัญหาไอยูยู แบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย กฎหมายด้านการประมง แผนจัดการประมงระดับชาติ การติดตั้งระบบติดตามเรือ(วีเอ็มเอส) โดยเฉพาะเรือประมงขนาดใหญ่ที่ออกไปทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศ และการจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง ที่จะต้องทำให้ทราบได้ว่า ปลาหรือสินค้าประมงที่จับมาได้ มาจากเรือลำใด ในน่านน้ำใด เป็นต้น

นายจุมพล กล่าวว่า มาตรการที่ไทยได้ดำเนินการแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าไอยูยู ซึ่งอาจทำให้อียูห้ามนำเข้าสินค้าประมงไทยทั้งหมด ได้แก่ 1.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประมง พ.ศ.... ซึ่งเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เมื่อวันที่ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้

2.คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้กรมเจ้าท่า ออกระเบียบให้เรือขนาดใหญ่ตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งวีเอ็มเอส โดยขณะนี้มีเรือที่อาสามาติดตั้งแล้ว ไม่รอให้ภาครัฐบังคับ ประกอบด้วย เรือประมงไทยที่ทำประมงในประเทศปาปัวนิวกินี 50 ลำ เรือขนถ่ายสินค้าประมงกลางทะเล 21 ลำ และเรืออวนล้อมปลาโอประมาณ 300 - 400 ลำ ซึ่งกรมประมงคาดว่าจะดำเนินการติดตั้งระบบวีเอ็มเอสได้ครบถ้วนในเดือน มิ.ย.นี้

เรื่องเร่งด่วนที่ไทยจะต้องดำเนินการในขณะนี้ คือ การขึ้นทะเบียนเรือประมงทั้งหมดให้ถูกต้องก่อน เพราะเรือที่จะทำประมงได้ ต้องขออนุญาต 3 ด้าน คือ  1.จดทะเบียนเรือไทย 2.ขออนุญาตการใช้เรือจากกรมเจ้าท่า และ3.ขอใบอนุญาตทำประมง หรืออาชญาบัตร ที่ระบุชนิดเครื่องมือจับปลา 14 ชนิด จากกรมประมง

แต่เนื่องจากขั้นตอนอาจจะมีมาก กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมการปกครอง จะร่วมกันไปตั้งจุดรับจดทะเบียนเคลื่อนที่ 112 จุด ในพื้นที่ 23 จังหวัดติดชายทะเลทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.-มี.ค.นี้ ขอให้ชาวประมงทุกท่านเข้ามาจดทะเบียน รัฐจะอำนวยความสะดวกให้ เพราะต้องการข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ถ้าท่านมีปัญหาจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ แต่ถ้าท่านไม่ยอมมาจดทะเบียน เมื่อกเกิดปัญหาขึ้น หรือถูกจับได้ก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย

"ผมค่อนข้างมั่นใจว่ามาตรการที่ไทยได้ดำเนินการมาทั้งหมดแล้วนี้ น่าจะทำให้สินค้าประมงไทย รอดพ้นจากใบแดงของอียูได้"

ที่มา -