ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เรือดำน้ำอินเดียถูกเรือประมงชนไปไม่เป็น.. ชั้น Kilo แบบเดียวกันกับเวียดนาม

เริ่มโดย mrtnews, ก.พ 28, 15, 06:48:38 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ -- เรือดำน้ำชั้นคิโล (Klo-class) ลำหนึ่งของกองทัพเรืออินเดีย ได้ประสบเหตุการณ์ไม่คาดคิดอีกครั้งหนึ่ง ขณะออกฝึกเป็นการลับๆ อยู่นอกชายฝั่งเมืองมุมไบปลายสัปดาห์ที่แล้ว เรือไปชนกับเรือหาปลาของชาวประมงลำหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถจะดำน้ำและปฏิบัติภารกิจต่อไปได้ กองทัพเรือต้องส่งทีมลงไปช่วยกู้ภัย หนังสือพิมพ์ชั้นนำของประเทศรายงานเรื่องนี้

       
เหตุการณ์เกิดขึ้นวันศุกร์ 20 ก.พ. 58 ขณะเรือสินธุโกศ (INS Sindhughosh -S55) ดำน้ำในระดับกล้องส่องทางหรือกล้องเปอริสโคป (Periscope) ระหว่างร่วมการฝึกซ้อมในทะเลอาหรับ ภายใต้รหัส TROPEX (Theatre Readiness Operational Level Exercise) หนังสือพิมพ์ไทม์สอ๊อฟอินเดีย (Times of India) รายงานเหตุการณ์
       
นี่คือเรือดำน้ำขนาด 3,000 ตัน ชั้นเดียวกันกับอีก 6 ลำที่กองทัพเรือเวียดนามซื้อจากรัสเซีย แต่เป็นรุ่นหลังที่สามารถติดจรวดโจมตีเป้าหมายบนบกได้ และ ของเวียดนามสร้างทีหลังห่างกันเกือบ 30 ปี จึงทันสมัยกว่าในด้านอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบอาวุธอื่นๆ
       
สินธุโกศเป็นเรือต้นของชั้นจำนวน 10 ลำ ที่กองทัพเรืออินเดียทยอยจัดซื้อจากสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จนถึงปี 2000 ในยุคที่กลายเป็นรัสเซียแล้ว ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเรือดำน้ำทันสมัย และ ยังมีใช้ในกองทัพเรือรัสเซียกับอีกหลายประเทศ รวมทั้งในกองทัพเรือจีนอีกจำนวนหนึ่งด้วย
       
เหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นขณะเรือสินธุโกศกำลังฝึกซ้อม ส่งทีมประดาน้ำออกจากเรือผ่านทางช่องยิงตอร์ปิโดที่อยู่ทางด้านหน้า ในปฏิบัติการลับ "เคลื่อนเข้าสู่ท่าเรือของฝ่ายตรงข้าม" แต่เรือประมงได้ผ่านไปชนเข้า ทำให้กล้องเพอริสโคปเสียหาย จนไม่สามารถจะซ่อมให้ใช้การได้อีก เจ้าหน้าที่ต้องลากเรือกลับฐานทัพมุมไบเวลาต่อมาเพื่อซ่อมแซม หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว
       
ผู้แทนกองทัพเรือแถลงว่า สาเหตุของอุบัติเหตุก็เนื่องเรือสินธุโกศไม่ได้เปิดระบบโซนาร์นำทาง ไม่เปิดไฟ หรือ สัญญาณแจ้งเตือนใดๆ และเป็นช่วงเวลากลางคืน เรือประมงจึงไม่เห็น และไม่เห็นเรือประมง ไม่สามารถตรวจจับวัตถุแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตรายได้ สาเหตุที่ไม่เปิดระบบโซนาร์ เปิดไฟหรือสัญญาณใดๆ ก็เนื่องจากเป็นการฝีกซ้อม "การเคลื่อนไหวในเชิงลับ" นั่นเอง
       
เหตุการณ์เมื่อวันที่ 20  ก.พ. 58 นี้ นับเป็นครั้งที่ 3 ที่เกิดกับเรือสินธุโกศตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ปีที่แล้ว ลูกเรือคิดคำนวณน้ำขึ้นน้ำลงผิดพลาด ทำเรือดำน้ำ "เกยตื้น" ขณะจอดนิ่งอยู่ใต้ผิวน้ำที่ฐานทัพเรือมุมไบ น้ำได้ลดลงมากและลดลงระดับต่ำกว่าที่คำนวณไว้
       
ก่อนหน้านั้นในเดือน ม.ค.ปีเดียวกัน ก็ได้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกัน ขณะเกยตื้นนั้นเรือสินธุโกศมีลูกเรืออยู่ 70 คน เรืออยู่ในสภาพพร้อมรบ ติดอาวุธครบ เหตุเกยตื้นทำให้ระบบโซนาร์ของเรือเสียหายหนัก กองทัพเรือต้องส่งทักโบ๊ตไปยังจุดเกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือและกู้ภัย ปลดตอร์ปิโดกับจรวดนำวิถี เพื่อลดน้ำหนัก ช่วยให้เรือลอยลำขึ้นได้
       

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2551 เกิดอุบัติเหตุเรือสินธุโกศชนกับเรือสินค้าลำหนึ่งในอ่าวมุมไบ ทำให้กราบเรือข้างหนึ่งเสียหายเล็กน้อย แต่ก็ใช้เวลาซ่อมถึงหนึ่งเดือน
       
ในช่วงต้นเดือน ส.ค.2556 ได้เกิดระเบิดขึ้นภายในเรือดำน้ำชั้นสินธุโกศอีกลำหนึ่ง คือ เรือสินธุรักศักดิ์ (INS Sindhurakshak -S63) ซึ่งเป็นลำที่เก้าของกองเรือ ขณะจอดลอยลำอยู่ฐานทัพเรือมุมไบแห่งเดียวกันนี้ มีลูกเรือเสียชีวิต 18 คน เรือถูกทำลายเสียย่อยยับทั้งลำ
       
การสอบสวนหาสาเหตุได้พบว่า เป็นความผิดพลาดของลูกเรือ ที่ไม่ได้ปลดชนวนจรวดนำวิถีขณะขนย้ายภายในเรือ การระเบิดของจรวดทำให้เกิดไฟไหม้ลามเข้าสู่ห้องเก็บตอร์ปิโด เกิดการระเบิดสนั่นหวั่นไหวติดต่อกันอีกหลายระลอก เปลวไฟกับควันดำจากบริเวณอ่าวมุมไบสามารถมองเห็นได้ จากจุดที่อยู่ไกลออกไปกว่า 10 กิโลเมตร
       
เหตุระเบิดบนเรือสินธุรักศักดิ์ ยังทำให้ตอร์ปิโดของเรือในกองเดียวกันอีกลำหนึ่งที่จอดอยู่ใกล้เคียง เกิดระเบิดตามกันอีก 1 ลูก คือเรือสินธุรัตน์ (INS Sindhuratna -S59) เรือได้รับความเสียหายหนัก
       
ถึงแม้ว่าเรือดำน้ำจะมีพิษสงร้ายกาจแค่ไหนก็ตาม แต่หลายทศวรรษมานี้เรือประมงก็ยังคงเป็น "ภัยคุกคาม" ที่น่ากลัว เป็นคู่กรณีของเรือดำน้ำบ่อยครั้งในขอบเขตทั่วโลก ไม่แพ้เรือขนาดใหญ่ ซึ่งรวมทั้งเรือสินค้ากับเรือบรรทุกน้ำมันด้วย นอกจากชนแล้ว ก็ยังเคยเกิดเหตุการณ์ที่เรือดำน้ำติดอวนลากของชาวประมง สร้างความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่าย และ ถ้าหากเป็นเรือดำน้ำขนาดเล็กก็มักจะดิ้นไม่หลุด เนื่องจากแบตเตอรี่แรงไม่พอที่จะดิ้นหนี
       
ยังมีเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำขนาดใหญ่อีกหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เหตุไฟไหม้ซึ่งแม้แต่เรือชั้นลอสแอนเจลีส (Los Angeles-Class) เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่น่าเกรงขามที่สุดอีกชั้นหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐ ก็ประสบเหตุเพลิงไหม้มาหลายลำ
       
นอกจากนั้นก็ยังมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับกับ "การขัดข้องทางเทคนิค" ซึ่งระบบของเรือล้มเหลวอีกหลายครั้ง รวมทั้งโศกนาฏกรรมใหญ่ครั้งหนึ่ง ที่เรือดำน้ำชั้นหมิง (Ming-Class) ลำหนึ่งของกองทัพเรือจีนจมลงนอกชายฝั่ง จ.เหลียวหนิง เมื่อปี 2546 ลูกเรือ 70 คนเสียชีวิตทั้งหมด
       
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เรือสินธุโกศดูจะเป็นครั้งแรกที่เรือชั้นคิโลชนกับเรือประมงจนใช้การไม่ได้ นอกจากเหตุการณ์ "เกยตื้น" ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ประเภทหลังนี้จะเคยเกิดขึ้นกับเรือดำน้ำชั้นอื่นๆ ของหลายประเทศมาแล้วหลายครั้ง รวมทั้งเรือชั้นลอสแอนเจลีสของสหรัฐด้วย

เมื่อปี 2524 ในยุคสงครามเย็น ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเมื่อเรือดำน้ำ S-363 (หรือ "เรือ U-137" ตามรหัสของกลุ่มนาโต้) ซึ่งเป็นเรือวิสกี้ (Whiskey-class) ลำหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต ไปติดเกยตื้นในบริเวณโขดหินแห่งหนึ่งในน่านน้ำของสวีเดน ห่างจากฐานทัพเรือเพียง 17 กม.

เหตุการณ์ที่เรียกกันในเวลาต่อมาว่า "วิสกี้ ออน เดอะ ร๊อก" (Whiskey on the Rock) นั้น หวุดหวิดจะทำให้วิกฤติการณ์ขึ้นมา เมื่อโซเวียตส่งกองเรือพิฆาตตามไปช่วยกู้ภัย และสวีเดนตอบโต้อย่างทันควัญ
       

สวีเดนส่งทั้งเรือพิฆาต เรือดำน้ำ และ เครื่องบิน-เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือ ไปยังจุดเกิดเหตุเผชิญหน้ากับกองเรือรบโซเวียต เพื่อพิทักษ์น่านน้ำของตน จรวดกับขีปนาวุธนานาชนิดที่เรียงรายบนชายฝั่งได้รับคำสั่งให้ "ล็อกเป้า" เรือโซเวียตทุกลำ แต่ในที่สุดฝ่ายโซเวียตก็ได้ตัดสินใจ ถอนกองเรือออกไปยังเขตน่านน้ำสากลในทะเลบัลติก
       
หลังเกตุการณ์ผ่านไป 10 วัน หน่วยกู้ภัยของสวีเดนได้เข้าช่วยเหลือกัปตันกับลูกเรือของเรือ S-363 หลังการสอบสวนแล้วเสร็จ ก็ได้ส่งคืนทั้งคนและเรือให้ฝ่ายโซเวียต และแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะมีความตึงเครียดสูงทางการทหาร ส่วนทางการทูตสวีเดนทำแค่ทำบันทึกประท้วงเท่านั้น
       
ณ จุดที่เกิดเหตุ ยังคงมีอนุสรณ์สถานปรากฏอยู่ต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน.

ที่มา -