ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ผบ.ทร. เปิด "ศปมผ."เร่งสางปัญหาประมงผิดกฎหมาย IUU

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 05, 15, 11:42:20 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ผบ.ทร. เปิด ศปมผ.พร้อมปฎิบัติงาน 24 ชม. เร่งสางปัญหาประมงผิดกฎหมาย เน้นควบคุม 4 เงื่อนไข ขจัดใบเหลือง " อียู " มั่นใจ 6 เดือนผ่านฉลุย โอดงานหินติด "วีเอ็มเอส" เรือมากกว่า 3 หมื่นลำ


เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 58 ที่ศูนย์บัญชาการการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ( ศปมผ.) กองบัญชาการกองทัพเรือ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการ ศปมผ. เป็นประธานเปิด ศปมผ.อย่างเป็นทางการ โดย พล.อ.ไกรสร กล่าวว่า ตนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างเต็มที่จะทำให้ ศปมผ.เป็นกลไกที่สำคัญ มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย พร้อมทั้งขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ด้วยการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับมาตรฐานการประมงไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล พร้อมทั้งบรรเทาความเดือนร้อนของผู้ประกอบการประมงให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน

พล.ร.อ.ไกรสร ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ศปมผ.ได้จัดทำระบบเรียบร้อยแล้ว จะปฏิบัติงานทันทีตั้งแต่วันนี้ตลอด 24 ชั่วโมง โจทย์หลักคือต้องเอาเรือประมงเข้ามาอยู่ในกรอบ ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยกองทัพเรือจะติดตามการทำงานของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องว่าสามารถตอบโจทย์ของสหภาพยุโรป หรืออียู มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนายกฯ ได้กำหนดเวลาให้แก้ปัญหาภายใน 3 เดือน โดยเราจะทำให้ดีที่สุด และต้องตอบโจทย์ของอียู เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ นอกจากนี้จะศึกษาตัวอย่างจากประเทศต่าง ๆ ที่ประสพปัญหาว่าเขามีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพื่อให้หลุดจากใบเหลือง


"การแก้ไขปัญหาต้องใช้เวลา โดยเฉพาะการติดเครื่องติดตามเรือประมง หรือวีเอ็มเอส ในเรือที่มีน้ำหนักเกิน 60 ตัน ที่มีประมาณกว่า 5,000 ลำ จะให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันสองวัน คงเป็นไปไม่ได้ คิดว่าทางอียูคงเข้าใจ ความร่วมมือของเรือประมงถือเป็นประเด็นหลักสำคัญ เพราะเรือทั้งในอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน มีประมาณ 30,000 กว่าลำ ยังไม่รวมเรือนอกน่านน้ำด้วย" พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามตนมั่นใจว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาได้เสร็จทันภายใน 6 เดือนตามที่อียูได้กำหนดไว้ แต่จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากใบเหลืองหรือไม่นั้น ตนไม่ได้เป็นผู้ตัดสิน เพราะทางอียูจะต้องมาประเมินอีกครั้ง ทั้งนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 มาบังคับใช้ แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้นก็ตาม

ด้านนายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า เงื่อนไขที่ทางอียูจับจ้องอยู่ มี 4 ข้อ คือ 1.เรื่องเรือจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ตลอดจนการติดเครื่องมือวีเอ็มเอส 2.เรื่องคนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง และกระทรวงแรงงาน 3.เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการประมงต้องถูกต้อง และ 4.เรื่องสถานที่ทำการประมง โดย ศปมผ.จะตรวจสอบ 4 เงื่อนไขนี้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะประสพความสำเร็จนั้นนอกจากเจ้าหน้าที่ต้องบูรณาการอย่างแข็งขันแล้ว สมาคมประมง ตลอดจนสื่อมวลชนต้องช่วยกันรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาชีพประมง นำเรือและคนมาขึ้นทะเบียน ตลอดจนเครื่องมือมาจดทะเบียนอาชญาบัตรให้เรียบร้อย.

ที่มา -


ไทยทำระบบติดตามเรือประมง VMS

..