ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ท่าเรือน้ำลึกชุมพร เชื่อม ระนอง-แหลมฉบัง

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 21, 15, 19:45:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ทำเลที่ตั้งภาคใต้ตอนบน การขนส่งสินค้าเกษตรจากภาคใต้ เพื่อส่งต่อไปยังท่าเทียบเรือแหลมฉบัง หรือท่าเทียบเรือ จ.ระนอง เพื่อส่งออก สามารถทำได้สะดวก ลดต้นทุนการขนส่ง ถือเป็นจุดเด่นที่กรมเจ้าท่าเล็งพื้นที่ จ.ชุมพร เป็นที่สร้างท่าเทียบเรือน้ำลึก


จากผลการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ท่าเทียบเรือน้ำลึกชุมพรมีความเหมาะสมที่จะเป็นท่าสนับสนุนท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังมากที่สุด โดยสินค้า ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ ซึ่งรวมแล้วมากกว่าปีละ 2 ล้านตัน

จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวภายหลังร่วมกับคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สปช.) นำโดย พล.อ.อ.ไพศาล สีตบุตร ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานท่าเทียบเรือใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ว่าโครงการศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ จ.ชุมพร มีที่มา เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งทางเรือยังมีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับการขนส่งด้านอื่น จ.ระนอง ซึ่งอยู่ฝั่งอันดามันมีท่าเทียบเรืออยู่แล้ว ส่วนฝั่งอ่าวไทยก็มีเช่นกัน คือ ที่ท่าเรือสงขลา ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือหลัก เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง มาก ดังนั้น การศึกษาท่าเรือที่ จ.ชุมพร ก็เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างระนอง-ชุมพร-ท่าเรือแหลมฉบัง

สินค้าจากอินเดีย ประเทศตะวันออกกลางหรือประเทศทางยุโรป ก็จะส่งผ่านมายังท่าเรือระนอง ใช้รถยนต์ขนส่งข้ามฝากมายังฝั่งอ่าวไทยขึ้นที่ท่าเรือชุมพร ก่อนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังเช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมจากแหลมฉบังก็จะสามารถส่งไปยังประเทศตะวันออกกลางและอินเดียในระยะทางที่สั้นลง ท่าเรือระนองและท่าเรือชุมพรจะเป็นท่าเรือที่เกื้อกูลกัน

อธิบดีกรมเจ้าท่า มองว่า การขนส่งทางบกโดยรถยนต์จากชุมพรไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ก็จะมีระยะทาง 500-700 กิโลเมตร แต่ถ้าขนส่งทางเรือก็จะสั้นกว่ามาก ประเทศไทยจะต้องโตไปอีกมาก การพัฒนาโลจิสติกส์เชิงระหว่างประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าให้มีต้นทุนต่ำที่สุด จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต


แต่อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ครั้งที่ 1 เมื่อเดือน มี.ค. 2558 ที่ผ่านมา ก็มีหลายกลุ่มที่แสดงความเห็นในเชิงคัดค้าน เนื่องจากที่ผ่านมาคนชุมพรไม่เคยได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ให้ทราบถึงที่มาที่ไปลักษณะของโครงการ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเลย

ยุทธศาสตร์การให้ จ.ชุมพร เป็นฐานสนับสนุนเชื่อมโยงพื้นที่ภาคใต้กับท่าเรือหลักที่แหลมฉบัง ตลอดจนเชื่อมโยงกับทะเลอันดามัน โดยท่าเรือ จ.ระนอง อาจต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องตอบคำถามผลกระทบที่ยังเป็นเรื่องคาใจให้ครบถ้วนด้วยเช่นกัน

โดย...ทีมข่าวภูมิภาคโพสต์ทูเดย์

ที่มา -