ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เจ้าท่าศึกษาการขนส่งผู้โดยสาร/สินค้าโดยเรือเฟอร์รี่ พัทยา ชะอำ หัวหิน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 07:38:02 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ของการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำโดยเรือเฟอร์รี่ในเส้นทางพัทยา ชะอำ และหัวหิน


โดยว่าจ้างที่ปรึกษาคือ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.(พิเศษ)ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา) ดำเนินโครงการศึกษาฯ และได้นำส่งรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์และบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 พร้อมจัดประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายสรุปของที่ปรึกษาเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 16.30 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 6 ชั้น 3 ที่ผ่านมา

กระทรวงคมนาคมได้เห็นความสำคัญของการเชื่องโยงนโยบายการท่องเที่ยวและนโยบายพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการเข้าด้วยกัน โดยเห็นชอบให้จัดทำโครงการท่าเรือเฟอร์รี่เพื่อเชื่อมเส้นทางการขนส่งนักท่องเที่ยว ผู้โดยสารและสินค้าระหว่างพัทยา (จังหวัดชลบุรี) ชะอำ (จังหวัดเพชรบุรี) และหัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทาง ระยะเวลาขนส่ง และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวของจังหวัดที่มีศักยภาพในฝั่ง ด้านทะเลอ่าวไทย ตลอดจนสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการขนส่งทางถนน มาเป็นทางน้ำ เพื่อลดต้นทุน ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุการขนส่ง

ขอบเขตการศึกษาเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น เพื่อประเมินความเป็นไปได้ด้านการตลาด รูปแบบการให้บริการ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่ควรพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเดินทาง ตลอดจนประเมินข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการเดินเรือ ท่าเรือ ผู้ใช้บริการ และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ก่อนร่วมกันผลักดันการพัฒนาให้เปิดการเดินเรือเฟอร์รี่และการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่ อย่างเป็นรูปธรรมการประเมินความเป็นไปได้ทางการตลาดในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งการให้บริการเดินเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากเส้นทางพัทยา ชะอำ และหัวหิน มีความเป็นไปได้ทางการตลาด เป็นการสร้างทางเลือกใหม่ในการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การลดระยะเวลาการขนส่ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ตามนโยบายรัฐบาล การเสริมความมั่นคงทางการขนส่งเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต เช่น น้ำท่วมทำให้เกิดปัญหาเส้นทางถนนขาด และการลดอุบัติเหตุจากการขนส่ง

ทั้งนี้ โอกาสในการพัฒนาการให้บริการเดินเรือเฟอร์รี่ ได้แก่ 1)ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งฝั่งพัทยา ฝั่งชะอำ/หัวหิน 2)ประมาณสินค้าที่ขนส่งเพิ่มขึ้นตามขนาดการขยายตัวของขนส่งทางถนน 2)ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความห่วงกังวลของชุมชน 3)คลื่นลมมรสุม สำหรับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน - เส้นทางเดินเรือที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาควรจะเป็นการให้บริการด้วยเรือเฟอร์รี่บรรทุกผู้โดยสารขนาด 280 คน ให้บริการระหว่างท่าเรือแหลมบาลีฮาย(พัทยา) กับชะอำ/หาดปึกเตียน โดยเปรียบเทียบระหว่าง 2 กรณีหลักคือ 1)กรณีที่ผู้ประกอบการเดินเรือเป็นผู้ลงทุนพัฒนาท่าเรือและการเดินเรือเองทั้งหมด 2)กรณีรัฐเป็นผู้ลงทุนและให้สัมปทานผู้ประกอบการเดินเรือเช่าท่าเรือและพัฒนาการเดินเรือเองทั้งหมด และผลการประเมินความเหมาะสมทางการเงินสรุปได้ว่า (กรณีที่1) จะไม่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ขณะที่ (กรณีที่ 2)จะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนของภาคเอกชน โดยภายใต้กรอบระยะเวลาโครงการ 10 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV คิด ณ อัตราลดร้อยละ 10 เท่ากับ 65.32 ล้านบาท และมีอัตราผลตอบแทนภายใน IRR ร้อยละ 17

จากการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้นของโครงการลงทุน พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)ของการพัฒนาการเดินเรือเฟอร์รี่ในเส้นทางระหว่าง พัทยา กับชะอำ/หัวหิน เกิดจากความสามารถในการดำเนินการด้านการตลาด, ความสามารถในการบริหารต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้นทุนค่าดำเนินงานและต้นทุนค่าก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเทียบเรือ ถนนเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าเรือ จะช่วยให้การประกอบการเดินเรือมีความสำเร็จเพิ่มขึ้น , ความสามารถในการปรับแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค โดยเฉพาะกฎระเบียบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการก่อสร้างและปรับปรุงท่าเรือเฟอร์รี่ในหลายอำเภอที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , ความสามารถในการเจรจากับเจ้าของที่เอกชน/ภาครัฐ และความสามารถในการเจรจาและสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชนท้องถิ่น


ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการให้บริการเรือเฟอร์รี่ ประเด็นสำคัญที่ควรให้ความสนใจและปรับปรุงเพื่อการพัฒนา การให้บริการเรือเฟอร์รี่ในอนาคต ได้แก่ กฎระเบียบ (ต้องมีการปรับแก้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2535 ) การตลาด (ผู้ประกอบการเดินเรือและท่าเรือต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการเดินทางของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สินค้าที่คาดว่าจะใช้บริการขนส่ง การสร้างพันธมิตรกับคู่ค้าและส่วนราชการในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น และการแข่งขันกับการขนส่งทางบก การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อชุมชน มีความสำคัญมากโดยเฉพาะชุมชนประมงพื้นบ้านและชาวบ้านในแถบจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากชุมชนฯอาจเกรงว่าการก่อสร้างท่าเรือและการพัฒนาการเดินเรือเฟอร์รี่ในพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่าง ๆ เช่นการกัดเซาะชายฝั่ง การเพิ่มอุบัติเหตุ ของการจราจรทางน้ำ ความหนาแน่นของการจราจรที่เพิ่มขึ้น การทำให้ให้วิถีชีวิตชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการเวนคืนที่ดิน/อสังหาริมทรัพย์ ความปลอดภัยในการเดินเรือ การเดินเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวไทยระหว่างพัทยา-ชะอำ/หัวหิน ไม่ใช่เส้นทางการเดินเรือหลักของกิจการเดินเรือทั่วไป ดังนั้นกรณีเรือเกิดอุบัติเหตุทางน้ำอาจทำให้ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา ตลอดจนเรือที่นำมาใช้จะต้องมีความทนทะเลและสามารถฝ่าคลื่นมรสุมที่เกิดขึ้นในฤดูกาลต่างๆ ได้ รูปแบบการประกอบการ หากให้เอกชน เป็นผู้ลงทุนท่าเรือและพัฒนาการเดินเรือเฟอร์รี่เองทั้งหมดอาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยภาครัฐอาจพิจารณาเป็นผู้ก่อสร้างท่าเรือให้เอกชนเป็นผู้รับสัมปทานภายใต้กรอบกติการที่เป็นธรรมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ การลดระยะเวลาในการเดินทางขนส่ง

ทั้งนี้ในอนาคต กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่าจะจัดให้มีโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในรายละเอียด ของการพัฒนาการขนส่งด้วยเรือเฟอร์รี่ในเส้นทางระหว่างพัทยา ชะอำ และหัวหินต่อไป ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า โทรศัพท์ 0 2233 1311-8 ต่อ 397 หรือ 0 2639 4777ั

ที่มา -