ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

จีนเริ่มตั้งฐานทัพเรือแรกในประเทศจิบูตี ทวีปแอฟริกา

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 26, 15, 06:43:12 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ผู้เชี่ยวชาญประเด็นตะวันออกกลางวิเคราะห์การตั้งฐานทัพเรือนอกประเทศแห่งแรกของจีนในประเทศจิบูตีทวีปแอฟริกา ซึ่งนอกจากเรื่องเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการแผ่อิทธิพลแล้ว ยังเป็นการเอื้อต่อแผนการจัดระบบการค้าของจีนที่เรียกว่า "เส้นทางสายไหมทางทะเล" ที่ชวนให้จับตามอง


24 ธ.ค. 2558 - บทความจากผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการตะวันออกกลาง จอฟฟรีย์ แอรอนสัน ในเว็บไซต์อัลจาซีราระบุว่าเมื่อไม่นานมานี้ทางการจีนประกาศตั้งฐานทัพเรือนอกประเทศเป็นแห่งแรกในประเทศจิบูตี ซึ่งเป็นการเปิดทางให้แสดงออกถึงอิทธิพลของกองทัพจีนจากการที่ฐานทัพเรือดังกล่าวอยู่ใกล้กับช่องแคบบับเอลมันเดบที่เป็นทางผ่านไปสู่คลองสุเอซในพื้นที่ของคาบสมุทรอาหรับและตอนกลางของแอฟริกาตะวันออก

ถึงแม้ทางการจีนจะอ้างว่าพวกเขาต้องการวางกองกำลังทางเรือตามมาตรการของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อใช้ในภารกิจคุ้มกันการลำเลียงอาหารและเชื้อเพลิงให้กับกองทัพในพื้นที่ แต่แอรอนสันก็มองว่าการตั้งฐานทัพถาวรในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเรื่องเชิงยุทธศาสตร์ของจีนที่จะสามารถแผ่ขยายอำนาจปฏิบัติการทางทะเลได้

ผู้บัญชาการฐานทัพสหรัฐฯ ในแอฟริกาและวุฒิสมาชิกในกิจการทวีปแอหริกาต่างก็เล็งเห็นในเรื่องนี้เช่นกันโดยบอกว่าการตั้งฐานทัพเรือในจิบุตีเป็นเรื่องต้องจับตามอง โดยแม้ว่าทางการสหรัฐฯ จะยินดีที่จีนให้การสนับสนุนทางด้านภารกิจความมั่นคงในแถบชายฝั่งโซมาเลีย แต่แผนการล่าสุดของจีนก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการแข่งขันกับสหรัฐฯ ในอิทธิพลทั้งด้านยุทธศาสตร์การทหารและด้านเศรษฐกิจจากเดิมที่สหรัฐฯ มีอิทธิพลทางทะเลในภูมิภาคชายฝั่งแอฟริกันอยู่ก่อนแล้ว

จิบูตี เป็นประเทศเล็กๆ ขนาด 25,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรน้อยกว่า 1 ล้านคน มีฐานทัพขอสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสตั้งอยู่ก่อนหน้านี้แล้วซึ่งมักจะถูกใช้เป็นแหล่งบัญชาการสู้รบกับกลุ่มหัวรุนแรงในพืนที่ใกล้เคียงอย่างเยเมนและโซมาเลีย

อย่างไรก็ตามแผนการตั้งฐานทัพของจีนไม่ได้มีแค่สาเหตุเรื่องอิทธิพลการทหารอย่างเดียวเท่านั้น


แอรอนสันมองว่าแผนการดังกล่าวยังเป็นการส่งสัญญาณว่าจีนกำลังพยายามจัดตั้งระบบการค้าระหว่างประเทศและระบบความมั่นคงในแบบของจีนแทนที่ระบบแบบของสหรัฐฯ ที่ทรงอิทธิพลมานาน เนื่องจากจีนทำข้อตกลงกับจิบูตีโดยอาศัยการอุปถัมภ์ด้านการค้าเพื่อช่วยขยายอิทธิพลของตัวเอง และทำให้จีนได้รับผลประโยชน์ โดยการอุปถัมภ์ดังกล่าวคือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจและการจัดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงเพื่อช่วยเกื้อหนุนการค้าระหว่างประเทศของจีน

จีนเคยประกาศตัวถึงความทะเยอทะยานในการพยายามสร้างระบบเศรษฐกิจแบบของตัวเองมาตั้งแต่ปี 2556 โดยเรียกว่าเป็น "เส้นทางสายไหมทางทะเล" (Maritime Silk Road) ที่เชื่อมต่ออนุทวีปเอเชีย คาบสมุทรอาหรับ ทะเลแดง และคลองสุเอซ กับท่าเรือไพรีอัส ในกรีซ โดยโครงการนี้ดำเนินการภายใต้บริษัทของจีนชื่อ 'คอสโก' (Cosco)

บทความของแอรอนสันยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นจากผลของการขยายอิทธิพลแถบน่านน้ำจิบูตี คือกรณีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเจ้าฟ้าชายของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เคยไปเยือนจีนเพื่อหารือเป็นหุ้นส่วนในโครงการเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย เดิมทีแล้วบริษัทท่าเรือของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เองก็มีส่วนสำคัญในการแข่งขันช่วงชิงพื้นที่การค้าทางทะเลรวมถึงพื้นที่แถบจิบูตี แต่ในตอนนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงท่าทีว่าจะร่วมสนับสนุนโครงการของจีนและต้องการมีบทบาทสำคัญในธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย

"จิบูตีเป็นพื้นที่แรกและแน่นอนว่าจะไม่ใช่พื้นที่สุดท้ายที่เป็นตัวอย่างของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบโลกโดยจีนซึ่งไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับเรื่องความมั่นคงทั่วทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลางด้วย" แอรอนสันระบุในบทความ





ที่มา Data & Images - | แปลและเรียบเรียงข่าวโดย - Translated by