ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

TTA เผยปี 58 ขาดทุนหนักกว่า 1.13 หมื่นลบ. รับผลการตั้งด้อยค่า-ตั้งสำรอง

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 03, 16, 06:27:18 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 1 มีนาคม 2559 - บมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 58 EBITDA และเงินสดจากการดำเนินงานยังบวกที่ 1.8 พันล้านบาทและ 635.5 ล้านบาท แม้จะต้องเผชิญสารพัดปัจจัยลบจากการที่ราคาน้ำมัน ถ่านหิน และอัตราค่าระวางเรือปรับลดลงอย่างมาก ในขณะที่ PMTA ยังคงมีแนวโน้มดีและมีส่วนแบ่งกำไรที่ดีให้ TTA อย่างต่อเนื่อง TTA มั่นใจสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นในมือกว่า 1.34 หมื่นล้านบาท เร่งมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เสริมพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวน


ทั้งนี้ ในปี 58 บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 21,425.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน 4% ในขณะที่ผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) อยู่ที่ 1,841.7 ล้านบาท และ EBITDA margin ที่ 9% อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการจัดทำรายงานทางบัญชี บริษัทฯ จึงได้บันทึกรายการด้อยค่าที่มีสาระสำคัญและตั้งสำรองบางรายการ ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 11,335.1 ล้านบาท ขณะที่ผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินงานจริงอยู่เพียงแค่ 256.3 ล้านบาทเท่านั้น

ทั้งนี้ การตั้งด้อยค่าฯ ดังกล่าวเป็นเพียงการบันทึกรายการทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสดเท่านั้น จึงไม่ส่งผลกระทบต่อ สถานะทางการเงินของบริษัทฯ โดยบนงบดุล ณ สิ้นปี 58 บริษัทฯ ยังคงมีเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงาน 635.5 ล้านบาท รวมถึงมูลค่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมกันกว่า 13,423 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่า 7.37 บาทต่อหุ้น

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA เปิดเผยว่า ปี 58 เป็นปีที่บริษัทฯ เผชิญวิกฤตอย่างรุนแรงจากสภาวะความผันผวนอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมน้ำมัน เดินเรือ และถ่านหิน ซึ่งมีแนวโน้มว่า ตลาดจะทรงตัวเช่นนี้ไปจนถึงปี 60 ดังนั้น หลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว บริษัทจำเป็นที่จะต้องบันทึกรายการพิเศษฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น และเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและการตรวจสอบทางการเงินที่ดี

"ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องทางบัญชีเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อสถานะทางการเงินที่ยังคงแข็งแกร่งในระดับเกินหมื่นล้านบาท โดยเราจะมีงบดุลที่สามารถสะท้อนภาพที่การดำเนินงานแท้จริง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เราทำผลงานในปี 59 ได้ดีขึ้น"นายเฉลิมชัย กล่าว

TTA ได้วางแผนรับมือกับช่วงขาลงของวัฏจักร ซึ่งสะท้อนผ่านผลงานของโทรีเซน ชิปปิ้ง และเมอร์เมดที่ออกมาดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม แต่ยังไม่สามารถต้านทานกระแสการปรับตัวอย่างรุนแรงของตลาดได้ โดยค่าเฉลี่ยของดัชนี BDI ได้ตกลงมาอยู่ที่ 718 จุด หรือลดลง 35% จากค่าเฉลี่ยที่ 1,105 จุดของปี 57 ซึ่งแย่ที่สุดในรอบ 30 ปี

ขณะที่ราคาน้ำมันก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับที่สูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อกลางปี 2557 มาอยู่ที่ระดับ 30 เหรียญสหรัฐเมื่อปลายปี 58 อย่างไรก็ดี ธุรกิจปุ๋ยของ บมจ.พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ (PMTA) ยังคงมีส่วนแบ่งกำไรที่ดีให้ TTA และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า การดำเนินกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงของบริษัทฯ เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว

ผลการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังสามารถรักษาอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) ทั้งปีไว้ได้ที่ 7,507 เหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ BSI ที่ 6,154 เหรียญสหรัฐต่อวันหรือราวๆ 22% ทำให้ EBITDA เป็นบวกที่ 573.2 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่รวมการบันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์ที่เป็นกองเรือ (non-cash impairment) ประมาณ 4,700 ล้านบาทแล้ว โทรีเซน ชิปปิ้ง มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิเพียง 128.8 ล้านบาท

กลุ่มเมอร์เมดยังสามารถทำรายได้รวมเพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อนมาอยู่ที่ 11,527.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจใหม่คือธุรกิจวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล และบริการวิศวกรรมใต้ทะเลประเภทอื่นๆ (ที่ไม่ใช่บริการเรือสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน) โดยรายได้จากธุรกิจส่วนนี้คิดเป็น 33% จากรายได้รวมทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องหลักความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ดี เมอร์เมดได้ บันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์และการตั้งสำรองที่ไม่ใช่เงินสดหลายรายการเป็นจำนวน 8,235.6 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เมอร์เมดมีผลขาดทุนสุทธิ 8,182.2 ล้านบาท แต่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานให้ TTA ที่ 76.8 ล้านบาท

PMTA ยังทำกำไรให้กับ TTA ได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขายปุ๋ยเพิ่มขึ้น 6% จาก 3,088 ในปีก่อนมาเป็น 3,258.5 ล้านบาท แม้ว่าต้องประสบปัญหาภาวะฝนแล้งต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อยอดการอุปโภคปุ๋ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่รายได้จากการให้เช่าพื้นที่โรงงานเพื่อเก็บสินค้า เติบโตจาก 32.1 ล้านบาท มาเป็น 49.1 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 53% ทั้งนี้ PMTA มีผลกำไรสุทธิสำหรับปี 58 ทั้งสิ้น 233 ล้านบาท

ผลขาดทุนของ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มขึ้นเป็น 371.2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับขาดทุน 118.9 ล้านบาทเมื่อปี 57 ซึ่งผลการดำเนินงานที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก ยอดขายถ่านหินลดลง และการบันทึกรายการพิเศษทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสดที่เป็นการตั้งด้อยค่าและตั้งสำรองจำนวน 271.1 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร อาคาร และการลงทุนในบริษัทย่อย



ที่มา Data & Images -




TTA ปี'58 EBITDA และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังเป็นบวก ยันตั้งด้อยค่าฯ ไม่กระทบสถานะการเงินยังแข็งแกร่งในระดับเกินหมื่นล้านบาทที่เตรียมไว้รับมือเศรษฐกิจผันผวนระลอกใหม่

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(1มี.ค.59) - บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เผยผลประกอบการปี 58 EBITDA และเงินสดจากการดำเนินงานยังบวกที่ 1.8 พันล้านบาทและ 635.5 ล้านบาท แม้จะต้องเผชิญสารพัดปัจจัยลบจากการที่ราคาน้ำมัน ถ่านหิน และอัตราค่าระวางเรือปรับลดลงอย่างมาก ในขณะที่ PMTA ยังคงมีแนวโน้มดีและมีส่วนแบ่งกำไรที่ดีให้ TTA อย่างต่อเนื่อง  TTA มั่นใจสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นในมือกว่า 1.34 หมื่นล้านบาท เร่งมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เสริมพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวน


จากรายงานผลประกอบการประจำปี 2558 (ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2558) บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 21,425.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน 4% ในขณะที่ผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) อยู่ที่ 1,841.7 ล้านบาท และ EBITDA margin ที่ 9%  อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการจัดทำรายงานทางบัญชี บริษัทฯ จึงได้บันทึกรายการด้อยค่าที่มีสาระสำคัญและตั้งสำรองบางรายการ ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 11,335.1 ล้านบาท ในขณะที่ผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินงานจริงอยู่เพียงแค่ 256.3 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ การตั้งด้อยค่าฯ ดังกล่าว เป็นเพียงการบันทึกรายการทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสดเท่านั้น จึงไม่ส่งผลกระทบต่อ สถานะทางการเงินของบริษัทฯ  โดยบนงบดุล ณ สิ้นปี 2558 บริษัทฯ ยังคงมีเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงาน 635.5 ล้านบาท รวมถึงมูลค่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมกันกว่า 13,423 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่า 7.37 บาท ต่อหุ้น

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA เปิดเผยว่า "ปี 2558 เป็นปีที่บริษัทฯ เผชิญวิกฤตอย่างรุนแรงจากสภาวะความผันผวนอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมน้ำมัน เดินเรือ และถ่านหิน ซึ่งมีแนวโน้มว่า ตลาดจะทรงตัวเช่นนี้ไปจนถึงปี 2560 ดังนั้น หลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว บริษัทฯ จำเป็นที่จะต้องบันทึกรายการพิเศษฯ ดังกล่าว  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น และเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและการตรวจสอบทางการเงินที่ดี  ซึ่งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องทางบัญชีเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อสถานะทางการเงินที่ยังคงแข็งแกร่งในระดับเกินหมื่นล้านบาท โดยเราจะมีงบดุลที่สามารถสะท้อนภาพที่การดำเนินงานแท้จริง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เราทำผลงานในปี 2559 ได้ดีขึ้น" 

ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมา TTA ได้วางแผนรับมือกับช่วงขาลงของวัฏจักร ซึ่งสะท้อนผ่านผลงานของโทรีเซน ชิปปิ้ง และเมอร์เมดที่ออกมาดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม  แต่ก็ยังไม่สามารถต้านทานกระแสการปรับตัวอย่างรุนแรงของตลาดได้ โดยค่าเฉลี่ยของดัชนี BDI ได้ตกลงมาอยู่ที่ 718 จุด หรือลดลง 35% จากค่าเฉลี่ยที่ 1,105 จุดของปี 2557 ซึ่งแย่ที่สุดในรอบ 30 ปี ในขณะที่ราคาน้ำมันก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จากระดับที่สูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อกลางปี 2557 มาอยู่ที่ระดับ 30 เหรียญสหรัฐเมื่อปลายปี 2558  อย่างไรก็ดี ธุรกิจปุ๋ยของ  บมจ.พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ (PMTA) ยังคงมีส่วนแบ่งกำไรที่ดีให้ TTA และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า การดำเนินกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงของบริษัทฯ เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว

ผลการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ

โทรีเซน ชิปปิ้ง ท่ามกลางสภาวะที่อัตราค่าระวางเรือต่ำสุดในรอบ 30 ปี แต่โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังสามารถรักษาอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) ทั้งปีไว้ได้ที่ 7,507 เหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ BSI ที่ 6,154 เหรียญสหรัฐต่อวันหรือราวๆ 22% ทำให้ EBITDA เป็นบวกที่ 573.2 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่รวมการบันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์ที่เป็นกองเรือ (non-cash impairment) ประมาณ 4,700 ล้านบาทแล้ว โทรีเซน ชิปปิ้ง มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิเพียง 128.8 ล้านบาท

เมอร์เมด มาริไทม์ แม้จะต้องเผชิญกับภาวะความผันผวนอย่างรุนแรงของราคาน้ำมัน กลุ่มเมอร์เมดยังสามารถทำรายได้รวมเพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อนมาอยู่ที่ 11,527.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจใหม่คือธุรกิจวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล และบริการวิศวกรรมใต้ทะเลประเภทอื่นๆ (ที่ไม่ใช่บริการเรือสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน) โดยรายได้จากธุรกิจส่วนนี้คิดเป็น 33% จากรายได้รวมทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องหลักความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ดี เมอร์เมดได้ บันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์และการตั้งสำรองที่ไม่ใช่เงินสดหลายรายการเป็นจำนวน 8,235.6 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เมอร์เมดมีผลขาดทุนสุทธิ 8,182.2 ล้านบาท แต่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานให้ TTA ที่ 76.8 ล้านบาท

PMTA ภาพรวม บมจ. พีเอ็ม โทรีเซนเอเชีย โฮลดิ้งส์  ยังคงทำกำไรให้กับ TTA ได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขายปุ๋ยเพิ่มขึ้น 6% จาก 3,088 ในปีก่อนมาเป็น 3,258.5 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ต้องประสบปัญหาภาวะฝนแล้งต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อยอดการอุปโภคปุ๋ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่รายได้จากการให้เช่าพื้นที่โรงงานเพื่อเก็บสินค้า เติบโตจาก 32.1 ล้านบาท มาเป็น 49.1 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 53% ทั้งนี้ PMTA มีผลกำไรสุทธิสำหรับปี 2558 ทั้งสิ้น 233 ล้านบาท

UMS ผลขาดทุนของ บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส เพิ่มขึ้นเป็น 371.2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับขาดทุน 118.9 ล้านบาทเมื่อปี 2557 ซึ่งผลการดำเนินงานที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก ยอดขายถ่านหินลดลง และการบันทึกรายการพิเศษทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสด   ที่เป็นการตั้งด้อยค่าและตั้งสำรองจำนวน 271.1 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร อาคาร และการลงทุนในบริษัทย่อย

นายเฉลิมชัย กล่าวสรุปว่า "เราเชื่อว่าเกือบทุกบริษัทฯ ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ต่างก็ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอุตสาหกรรมน้ำมันและเศรษฐกิจโลกเช่นเดียวกันกับ TTA   ซึ่งที่ผ่านมา เราได้ทำการปรับแผนกลยุทธ์ธุรกิจมามุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน หาธุรกิจใหม่ หรือ ตลาดใหม่ๆ ควบคู่กับการลดต้นทุนการดำเนินการ รวมถึงลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เพื่อประคับคองรักษาผลประกอบการที่ดีไว้ ซึ่งเราเชื่อว่า การที่ทำให้บริษัทที่มีความคล่องตัว และมีภาระน้อยที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้เราเข้มแข็งและสามารถรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจในช่วงสองปีนี้ได้"



ที่มา Data & Images -