ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

คมนาคมระดมกึ๋นหาข้อได้เปรียบโปรเจกต์ 'ท่าเรือน้ำลึกทวาย'

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 20:50:06 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 28 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

''ชัชชาติ'' ระดมกึ๋นหาข้อได้เปรียบหากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายตั้งไข่ ด้านผู้ประกอบการเรือเอกชน ค้าน ''ท่าเรือทวาย'' สุดลิ่ม มั่นใจเกิดยาก ถ้าต้องไปใช้ขอเป็นทางเลือกสุดท้าย


เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 56 นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "บทบาทของโครงการทวายกับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศไทย" ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการเร่งพื้นฟูความสัมพันธ์ และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน และรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเชื่อมโยงฝั่งตะวันตกกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และกระทรวงคมนาคมจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโครงข่ายการขนส่งของไทย ซึ่งจากการสัมมนาก็จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการจะต้องดูว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่กับโครงการทวาย และใครได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงในโครงการ และเมื่อดำเนินโครงการแล้วจะช่วยส่งเสริมและลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ได้จริงหรือไม่

ด้านนายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยว่า โครงการทวายเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่กว่า 250,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งการสร้างท่าเรือ, สร้างนิคมอุตสาหกรรม, สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางด้านอุปโภค และบริโภค นอกจากนั้นโครงการทวายถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยังช่วยขยายการขนส่ง และโลจิสติกส์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า หากโครงการทวายเกิดขึ้นจะทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น 1.9% และยังจะทำให้มีการขยายอุตสาหกรรมต้นน้ำในทวายเพิ่มขึ้น

นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล ประธานสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) กล่าวว่า ในมุมมองของผู้ประกอบการเอกชนมองว่า โอกาสในการพัฒนาท่าเรือทวายเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนั้นยาก เพราะหากจะให้ผู้ประกอบการสินค้าในไทยไปส่งสินค้ายังท่าเรือทวาย จะมีต้นทุนในการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีระยะทางมากกว่าขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังกว่า 360-370 กม.หรือเฉลี่ยต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 30,000 บาท/ตู้ และยังมองว่า ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังยังสามารถรองรับได้อยู่อีกมากเพราะในปัจจุบันรองรับปริมาณตู้สินค้าได้กว่า 5.8 ล้านตู้ทีอียู ในขณะที่ขีดความสามารถรองรับได้กว่า 10 ล้านตู้ทีอียู และถ้าหากพัฒนาเฟส 3 ก็จะรองรับปริมาณตู้สินค้าได้มากกว่านี้อีก 10 ล้านตู้ทีอียู และการจะให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าของไทยขนสินค้าเพื่อไปลงที่ท่าเรือทวายถือเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ประกอบการ

ที่มา -