ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

EU ต่ออายุคว่ำบาตร อาหารทะเลไทยต่อ หลังแก้ปัญหาแรงงานทาส-ประมงเถื่อนไม่คืบ

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 23, 16, 06:15:36 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอพี – แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปยืนยันกับเอพีในวันนี้ (21 เม.ย. 59)ว่า มาตรการห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากไทยยังคงถูกใช้ต่อไป หลังจากไทยไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและแรงงานทาส


เอพีรายงานว่า การที่สหภาพยุโรปทั้ง 28 ชาติยังคงยืนกรานจะแบนอาหารทะเลจากไทยต่อไปถึงแม้ไทยจะได้มีการออกกฎหมายในปีที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาแรงงานทาสในอุตสาหกรรมการประมง รวมไปถึงปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย แต่ดูเหมือนมาตรการที่ออกจากฝั่งไทยจะยังคงไม่ช่วยให้สถานการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อียู 2 คนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ให้ข้อมูลกับเอพี

โดย 1 ใน 2 ของแหล่งข่าวได้ให้ข้อมูลต่อว่า "เรายังคงมีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยในการจัดการกับการทำประมงผิดกฎหมาย และดังนั้นจึงทำให้เป็นเหตุที่ต้องบังคับมาตรการลงโทษที่ออกมาจากคณะกรรมาธิการยุโรปนั้นยังต้องคงอยู่ต่อไป" ซึ่งเอพีชี้ว่า ในขณะที่ไทยยังคงออกมายืนกรานว่า ที่ผ่านมาได้พยายามอย่างหนักที่จะถอนรากถอนโคนปัญหาการทำประมงเถื่อนและการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมการประมงนี้ที่แต่เดิมเคยกระทำมาในอดีตอย่างจริงจัง

ซึ่งข่าวที่ทางไทยจะยังคงอยู่ภายใต้มาตรการลงโทษใบเหลืองของอียูต่อไปนั้นออกมาในวันนี้(21 เม.ย) และเป็นวันเดียวกันกับที่ทางคณะกรรมาธิการยุโรปได้สั่งถอน "ศรีลังกา" ออกจากลิสต์ลงโทษแบนใบเหลือง หลังจากก่อนหน้านั้นอียูได้ออกมาประกาศขู่ว่า จะทำการลงโทษศรีลังกาโดยการแบนเป็นเวลา 4 ปีเต็ม แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปให้ข้อมูลเพิ่มเติม

เอพีรายงานต่อว่า แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า คิริบาส เซียร์ราลีโอน และตรินิแดดและโตเบโก ยังคงต้องถูกลงโทษด้วยมาตรการใบเหลืองของสหภาพยุโรปต่อ

เอพีชี้ว่า ไทยได้ถูกสหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม ซึ่งไทยถือเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดอาหารทะเลโลกสูงถึง 8.1% โดยเอพีระบุว่า ไทยยังคงจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงตลาดยุโรปซึ่งเป็นชาติที่ร่ำรวยต่อไป เพื่อยังคงความเป็นหนึ่งในเจ้าใหญ่ของผู้ส่งออกอาหารทะเลระดับโลก

เอพีรายงานว่า มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลไปยังยุโรปต่อปีนั้นมีมูลค่าราว 575 – 730 ล้านยูโร

และนอกเหนือจากปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายแล้ว ไทยยังมีปัญหาหนักในเรื่องการใช้แรงงานทาสที่ได้ถูกสำนักข่าวเอพีเปิดโปงไปทั่วโลกในระหว่างรายงานการสอบสวนของเอพีที่ใช้เวลานาน 2 ปี ในการเฝ้าติดตามการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมการประมงของไทย และในการเปิดโปงครั้งนี้ เอพียังสามารถช่วยเหลือให้แรงงานทาสไม่ต่ำกว่า 2,000 คนสามารถได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ และส่งผลทำให้เกิดการจับกุมตัวกลุ่มค้ามนุษย์จำนวนหนึ่ง ที่มี 8 คนในนั้นอยู่ในเรือนจำในเวลานี้ และรวมไปถึงการยึดสินค้าอาหารทะเลและเรือประมงมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ และคดีการไต่สวนที่เกิดขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง บวกกับมาตรการหลายอย่างที่ออกมาตามหลังจากภาครัฐและเอกชนของไทย

ซึ่งแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อียูกล่าวกับเอพีในตอนท้ายว่า "ในระยะหลังๆนี้ทางเราได้รับหลักฐานที่เป็นผลมาจากการปฎิรูปอุตสาหกรรมการประมงและการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมนี้จากไทยน้อยลงมาก แต่ในทางกลับกัน ทางอียูกลับพบหลักฐานที่ได้รับมาจากประเทศที่ 3 และหน่วยงาน NGO ต่างๆเพิ่มมากขึ้นถึงสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ หรือการปราศจากการบังคับใช้กฎหมายจากฝั่งไทย"

เอพีรายงานว่า ในเดือนหน้านี้ทั้งไทยและสหภาพยุโรปจะมีการพบปะหารือถึงเรื่องนี้อีกครั้งที่กรุงบรัสเซลส์เบลเยียม ท่ามกลางการคาดหวังถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น



ที่มา Data & Images -




ไทยเสี่ยงใบแดงอียูประมงผิดกฎหมาย

สหภาพยุโรปยังมีแนวโน้มแจกใบแดง คว่ำบาตรห้ามนำเข้าสินค้าอาหารทะเลไทย จากปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมอาหารทะเล


สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันพฤหัสที่ 21 เมษายน 2559 ว่า สหภาพยุโรป หรือ อียู ยังคงมีแนวโน้มที่จะประกาศห้ามนำเข้า สินค้าอาหารทะเลจากประเทศไทย เนื่องจากไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ยังคงทำได้ไม่เพียงพอ ในการปรับปรุงการทำประมง และการปฏิบัติต่อแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อียู เมื่อวันพฤหัสบดี

อียูกลุ่มเครือข่าย 28 ประเทศในยุโรป กำลังเพิ่มแรงกดดัน แม้ว่าไทยจะออกกฎหมายบางฉบับเมื่อปีที่แล้ว เพื่อควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยู (illegal, unreported and unregulated fishing) ตามด้วยมาตรการในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

การทำประมงผิดกฎหมายถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ปริมาณปลาในน่านน้ำทั่วโลกร่อยหรอลง ขณะที่ในประเทศไทย ไอยูยูยังนำไปสู่การปฏิบัติด้านแรงงานที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเทียบเท่ากับการบังคับใช้แรงงานทาสในบางกรณี

เจ้าหน้าที่อียูรายหนึ่งซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ เนื่องจากความอ่อนไหวของการเจรจา กล่าวว่า อียูยังคงมีความวิตกอย่างยิ่ง เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ทางการไทย ในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า มีความเป็นไปได้ที่กรรมาธิการอียูจะดำเนินการเพิ่มเติม ขณะที่ทางการไทยยืนยันว่า ไทยกำลังทำงานหนัก เพื่อเปลี่ยนแปลงรากฐานการปฏิบัติในอดีต

ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเล รายใหญ่สุดอันดับ 3 ของโลก ครองส่วนแบ่งร้อยละ 8.1 ของทั่วโลก ต้องพึ่งพาตลาดยุโรปที่ร่ำรวย เพื่อรักษาความเป็นยักษ์ใหญ่สินค้าอาหารทะเล การส่งออกอาหารทะเลของไทยไปยังยุโรป ตามประเมินอยู่ที่ปีละประมาณ 575 - 730 ล้านยูโร (22,723 - 28,848 ล้านบาท)

นอกจากประเด็นการทำประมงผิดกฎหมาย ไทยยังเผชิญกับปัญหาแรงงานทาส สำนักข่าวเอพีได้เปิดโปงการสืบสวนในช่วงเวลา 2 ปี เกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ซึ่งเทียบเท่ากับการบังคับใช้แรงงานทาส การรายงานของเอพีสามารถช่วยเหลือแรงงานประมงกว่า 2,000 คน ให้ได้รับอิสระ และจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาค้ามนุษย์ 12 คน ซึ่ง 8 คนในจำนวนดังกล่าวถูกศาลพิพากษาจำคุก รวมทั้งยึดทรัพย์สินทั้งอาหารทะเลและเรือประมงรวมมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานข่าวทางการไทยจะเดินหน้าทำงาน ภายใต้ "ใบเหลือง" มีขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่กรรมาธิการอียูกำลังประเมินสถานการณ์ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อกำหนดมาตรการลงโทษ สำหรับการทำประมงแบบไม่ยั่งยืน ทำให้ปริมาณปลาโลกลดน้อยลง แต่หากดำเนินการปฏิรูป ก็จะถูกยกเลิกคำขู่คว่ำบาตร สำหรับประเทศไทยได้รับใบเหลืองเมื่อปีที่แล้ว

เจ้าหน้าที่อียูกล่าวว่า การเจรจายังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก "ล่าสุดเราได้รับหลักฐานการปฏิรูปจากไทยน้อยลง แต่มีหลักฐานมากขึ้นจากกลุ่มประเทศที่ 3 และหลายกลุ่มเอ็นจีโอ เกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย และการขาดการบังคับใช้กฎหมาย" เจ้าหน้าที่อียู กล่าว

คณะผู้แทนของอียูและไทย กำหนดพบปะเจรจากันอีกครั้งในเดือนหน้า ที่กรุงบรัสเซลส์ ท่ามกลางความหวังว่าจะมีความคืบหน้า



ที่มา Data & Images -