ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เปิดนำเข้าก๊าซ LPG เสรีไม่จริง ผู้ค้าโวย พลังงานสร้างเงื่อนไขเอื้อ ปตท.รายเดียว

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 17, 16, 06:30:17 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ผู้ค้าก๊าซโวยรัฐขั้นตอนนำเข้าก๊าซ LPG เข้าทาง ปตท. รายเล็กหมดสิทธิ์เข้าประมูลเพราะเงื่อนไขสุดหิน ผู้นำเข้าต้องวางค้ำประกัน 1 เดือน สำรองก๊าซอีก 1% เพิ่มต้นทุนผู้ประกอบการ เปิดประมูล 6 เดือนครั้งสั้นไป ทำสัญญาซื้อขายในตลาดลำบาก เชียร์ลอยตัวราคาเพื่อการแข่งขัน


แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้มีการเรียกผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เพื่อหารือในการดำเนินการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซ LPG ในระยะที่ 4 คือ การเปิดประมูลนำเข้าก๊าซ LPG ใน 7 ประเด็น คือ 1) ประมูลสิทธิ์ในการนำเข้าก๊าซ LPG เพื่อจำหน่ายในประเทศ โดยได้รับเงินชดเชยราคานำเข้า 2) กำหนดปริมาณก๊าซ LPG ที่มีสิทธิ์นำเข้าและระยะเวลาของสิทธิ์ 3) ประมูลราคานำเข้า CP+X ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอค่าใช้จ่ายคูณด้วยต่ำที่สุดเป็นผู้ชนะการประมูล 4) ในแต่ละเดือนผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเข้าก๊าซ LPG ตามปริมาณที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด โดยให้รวมค่าความคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5 5) คุณภาพของก๊าซ LPG ที่นำเข้ามีสัดส่วนของก๊าซโพรเพนและบิวเทนที่ 50 : 50 6) ให้วางเงินประกันตามมูลค่าก๊าซ LPG นำเข้า 1 เดือน และ 7) มีบทลงโทษกรณีไม่สามารถส่งมอบก๊าซ LPG นำเข้าได้ตามปริมาณและระยะเวลาที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด โดยยึดเงินประกันและอาจมีค่าปรับ

ภายหลังการหารือได้มีข้อสรุปในบางประเด็น คือ มีการพิจารณาเรื่องสิทธิ์ในการนำเข้าก๊าซ LPG จะมีผู้ชนะประมูลเพียงรายเดียวตามปริมาณที่ ธพ.กำหนด เมื่อนำเข้ามาแล้วให้เก็บก๊าซ LPG ไว้ที่คลังก๊าซเขาบ่อยา ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะประมูลจะต้องรับภาระส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่จะนำเข้า แต่ในกรณีที่ส่วนต่างราคาแตกต่างถึงร้อยละ 10 กรมธุรกิจพลังงานอาจจะพิจารณาการช่วยเหลือ ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าในแต่ละเดือนยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน เนื่องจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าในแต่ละเดือนใช้ก๊าซ LPG เท่าไหร่ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องวางเงินค้ำประกัน 1 เดือน คิดเป็นเงิน 200-300 ล้านบาท ยังไม่รวมมูลค่านำเข้าก๊าซ LPG อีกประมาณ 500-600 ล้านบาท รวมถึงผู้นำเข้าจะต้องมีการสำรองก๊าซ LPG อีกร้อยละ 1 เช่น หากแจ้งนำเข้าที่ปริมาณ 10,000 ตัน จะต้องนำเข้าบวกกับปริมาณสำรองเป็น 11,000 ตัน เป็นต้น โดยระยะเวลาประมูลจะอยู่ที่ 6 เดือน/ครั้ง

ผู้ประกอบการได้ให้ความเห็นว่า เงื่อนไขเหล่านี้ "ไม่ใช่" การเปิดเสรีธุรกิจก๊าซ LPG ที่แท้จริง หากเปิดประมูลตามเงื่อนไขนี้จะมีผู้ชนะเพียงรายเดียว คือ "ปตท." เนื่องจากรายเล็กปริมาณนำเข้าต่อครั้งไม่มาก แม้ว่าจะกำหนดเวลาประมูลไว้ที่ 6 เดือนครั้ง แต่การซื้อขายในตลาดโลกส่วนใหญ่เป็นสัญญายาว 1 ปี รวมถึงการซื้อขายระยะสั้น

จะมีผลต่อราคาก๊าซ LPG นอกจากนี้ไม่ควรกำหนดให้มีการสำรองก๊าซ LPG ที่ร้อยละ 1 เพราะถือเป็นต้นทุนของผู้ค้า ที่สำคัญทั้งโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซไม่มีการสำรองก๊าซ อย่างไรก็ตาม โดยปกติผู้ค้าก๊าซมักจะสั่งซื้อจากโรงกลั่นอื่น ๆ ด้วยอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาก๊าซ LPG ขาดตลาดแน่นอน

"เป็นการประมูลที่ไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน ควรให้ผู้ค้าได้มีเวลาปรับตัว เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน เช่น อัตราค่าเช่าคลังก๊าซเขาบ่อยา ของ ปตท. นอกจากนี้ยังมีการเสนอว่า ผู้ประกอบการขอนำเข้าโดยไม่รับเงินชดเชยได้หรือไม่ ก็ไม่มีคำตอบจากกรมธุรกิจพลังงาน บอกเพียงแต่ว่าต้องมีการชดเชยเพราะยังมีกลุ่มผู้ใช้ในครัวเรือนที่ภาครัฐต้องดูแล"

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า มีการตั้งข้อสังเกตถึงระยะของการเปิดเสรีที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ว่า มีความรีบร้อนและข้ามระยะที่ 3 คือ เปิดส่วนแบ่งปริมาณนำเข้าด้วยราคานำเข้าที่ CP+X เหรียญสหรัฐ/ตันหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ค้าก๊าซ LPG รายอื่น ๆ ที่เข้ามาขออนุญาต ธพ.เพื่อนำเข้า


แต่มีระยะเวลาให้เตรียมตัวค่อนข้างน้อย เช่น ให้เวลาเพียง 20 วันในการทำสัญญาซื้อขายเท่านั้น ทั้งที่ควรให้เวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัวและทดลองให้มีการนำเข้า นอกจากนี้ต้องการให้กระทรวงพลังงานประกาศลอยตัวราคาก๊าซ LPG เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดที่สมบูรณ์

ด้านนายไพรัลยา สุพิทักษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารวางแผนและบริหารองค์กร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเปิดเสรีธุรกิจก๊าซ LPG ถือเป็นนโยบายที่ดี โดยภาครัฐต้องปล่อยให้ราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกทางการตลาด ยกเลิกเรื่องเงินชดเชยจากภาครัฐ

โดยการเปิดให้การค้าก๊าซ LPG ทั้งระบบเป็นไปอย่างเสรี ยกเลิกการผูกขาดการจำหน่ายก๊าซโดยผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง ผู้ค้าทุกรายมีสิทธิเท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละราย

สำหรับประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรค น่าจะเป็นที่การกำหนดราคานำเข้าก๊าซ LPG ของภาครัฐ ปัจจุบันอยู่ที่ CP+85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หากผู้ค้านำเข้ามาเอง ระยะเวลาในการขอเบิกเงินชดเชยยังไม่แน่นอน ส่วนในเรื่องของนโยบายในการเปิดเสรีการนำเข้าและการเปิดเสรีก๊าซ LPG ทั้งระบบก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ค้าที่สนใจ



ที่มา Data & Images -