ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เกาหลีใต้เล็งตั้งกองทุนเพื่อปรับอุตสาหกรรมชิปปิ้ง-ต่อเรือมูลค่า $9.5 พันล้าน

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 11, 16, 06:23:45 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2559 - รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศแผนการจัดตั้งกองทุนมูลค่า 11 ล้านล้านวอน (9.5 พันล้านดอลลาร์) โดยมีเงินสนับสนุนหลักจากธนาคารกลางเพื่อช่วยเหลือธนาคารของรัฐในการจัดหาเงินทุนสำหรับการปรับโครงสร้างองค์กรในภาคอุตสาหกรรมชิปปิ้งและอุตสาหกรรมต่อเรือที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน


ยู อิล โฮ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ได้กล่าวระหว่างการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมว่า ธนาคารแห่งประเทศเกาหลี (BOK) และรัฐบาลจะร่วมกันจัดตั้งกองทุนขยายการลงทุนมูลค่า 11 ล้านล้านวอนดังกล่าว

การจัดตั้งกองทุนนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรล่วงหน้า โดยรัฐบาลจะเป็นผู้นำในการจัดสรรเงินทุนให้แก่ธนาคารของรัฐโดยตรงก่อนการจัดตั้งกองทุนที่จะทำการซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารของรัฐต่อไป

หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนเม.ย. รัฐบาลได้ริเริ่มการปรับโครงสร้างองค์กรในภาคอุตสาหกรรมชิปปิ้งและอุตสาหกรรมต่อเรือที่ขาดทุนมหาศาลและมียอดสั่งซื้อลดลง อันเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำและยืดเยื้อมานาน


นายยูระบุว่าการปรับโครงสร้างองค์กรของบริษัทชิปปิ้งชั้นนำของประเทศอย่างฮุนได เมอร์แชนท์ มารีน ได้เสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าเรือบรรทุกสินค้าและการปรับโครงสร้างหนี้ ในขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างฮานจิน ชิปปิ้งก็จะดำเนินการปรับโครงสร้างตามมาตรฐานเดียวกันกับฮุนได เมอร์แชนท์ มารีน

ในด้านของอุตสาหกรรมต่อเรือ บริษัทต่อเรือชั้นนำของประเทศ 3 ราย ได้แก่ ฮุนได เฮฟวี่ อินดัสทรีส์, ซัมซุง เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ และแดวู ชิปบิลดิ้ง แอนด์ มารีน เอนจิเนียริ่ง ได้กำหนดนโยบายปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมูลค่า 8.4 ล้านล้านวอน เนื่องจากคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมต่อเรือในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

การปรับโครงสร้างองค์กรที่นำโดยรัฐบาลเกาหลีครั้งนี้คาดว่าจะมีการปลดพนักงานออกจากตำแหน่งจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคของภาคเอกชนและการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างที่อ่อนแออยู่แล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศเกาหลีต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้วที่ 1.5% เพื่อรับมือกับความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจที่อาจขึ้นระหว่างการปรับโครงสร้าง



ที่มา Data & Images -



..-