ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

หวั่นปัญหาท่าเรือแออัด พ่นพิษ "การลงทุน" พม่า

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 17, 16, 06:25:41 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เมียนมาถูกยกให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดของโลกที่ 7-8% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ประกาศปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในปี 2554


หลายปัจจัยบวกที่ดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศต่อเนื่อง เป็นแรงส่งให้เมียนมาเผชิญกับความท้าทายใหม่ อันเป็นผลพวงมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

รอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลใหม่ของเมียนมา นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) พยายามต่อสู้กับวิกฤตการจัดการทางเศรษฐกิจ หลังเกิดการติดขัดยาวนานหลายสัปดาห์ของบรรดาเรือส่งสินค้าที่ท่าเรือใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวสร้างความวิตกต่อนักลงทุน ทั้งยังขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย

สถานการณ์คอขวดบริเวณท่าเรือเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว

"การเติบโตของเศรษฐกิจทำให้ท่าเรือแออัด เพราะไม่รู้จะไปทางไหน" หม่า เชอรรี่ ทรีฟวีดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท Ayuroma International ที่ปรึกษาท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา (MIP) กล่าว

นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองของอาณานิคมอังกฤษเกือบ 70 ปี ท่าเรือหลักของประเทศมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่แข็งแรงอาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งเป็นความท้าทายที่รัฐบาลนางออง ซาน ซู จี จำเป็นจะต้องดำเนินการตามความคาดหวังที่สูงลิ่ว

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนเรือที่เข้าเทียบท่าในย่างกุ้งเพิ่มขึ้น 2 เท่า และจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ก็พุ่งขึ้นถึง 4 เท่า ขณะที่บริษัทเดินเรือสินค้าของชาติตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงจำกัดอยู่กับท่าเรือเพียงแห่งเดียว เพราะไม่สามารถใช้ท่าเรืออื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยบริษัท Asia World ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยนายสตีเวน หนึ่งในบุคคลที่ยังถูกทางการสหรัฐคว่ำบาตร

จุดพลิกผันที่เข้าสู่วิกฤตดังกล่าว คือเมื่อ MIP คาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้าที่เข้ามาก่อนวันหยุดยาวนาน 3 สัปดาห์ในเดือน เม.ย.ผิดพลาด ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกิจการในเมียนมาส่วนใหญ่ปิดดำเนินการ เท่ากับว่า มีเรือมากถึง 10 ลำ ต้องเผชิญความล่าช้าในการถ่ายโอนสินค้าออกจากเรือนาน 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดการติดขัดขนาดใหญ่ในบริเวณท่าเรือ และความล่าช้าที่เกิดขึ้นยังส่งผลร้ายแรงให้เกิดค่าใช้จ่ายหลายล้านดอลลาร์ต่อสัปดาห์แก่บริษัทเดินเรือสินค้าด้วย


บริษัทจัดส่งสินค้ารายใหญ่บางบริษัทอาทิ บริษัท Maersk Line Ltd. ของเดนมาร์ก ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญของตัวเองมาช่วยจัดการสถานการณ์ ส่วน ทาซึยะ อุเอกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทขนส่งสินค้า MOL Myanmar ยืนยันว่า โครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือเมียนมา เกิดการพัฒนาที่ช้ากว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ

อุปสรรคและปัญหาท่าเรือแออัดตอกย้ำให้เห็นถึงความท้าทายที่รัฐบาลต้องเผชิญเพื่อรักษาการเติบโตและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันเมียนมามีการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านสูง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม ที่จำเป็นต้องจัดส่งสินค้าให้ตรงเวลา

หากเมียนมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาท่าเรือแออัดและส่งสินค้าได้ทันกำหนดเวลา แบรนด์เสื้อผ้าต่างชาติก็ยังคงมองข้ามเมียนมา แม้ว่าต้นทุนค่าแรงจะใกล้เคียงกันหรือต่ำกว่า



ที่มา Data & Images -