ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

โครงข่ายโลจิสติกส์ SSB (Southern Sea Board) Network และท่าเรือ

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 13, 16, 06:30:10 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รัฐบาล คสช.กำลังรุกคืบหน้าด้านเศรษฐกิจเป็นการใหญ่ เนื่องจากได้รับคำวิพากษ์ว่า"ดูแลเศรษฐกิจประเทศไม่ดี ดีแต่สร้างความสงบ" ปัจจุบันไม่พอ แล้วกำลังต้องผลักดันให้เศรษฐกิจประเทศก้าวหน้าด้วย แม้จะเหลือเวลาไม่นานก็ตาม


ถ้าจะมองด้วยความเป็นธรรม 2 ปีของ คสช. แม้จะเข้ามาบริหารประเทศทางลัดก็ตาม แต่มีนโยบายชัดเจน และมีโครงการชัดเจนดีกว่าหลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต เช่น นโยบายผลักดันประกาศให้ก้าวหน้าด้วย " THAILAND 4.0? ก็ดี "Digital Economy" ก็ดี และลงสู่พื้นที่ด้วยการเร่งสร้าง "Major Infrastructure" ให้ประเทศก็ดี เช่น ระบบขนส่งมวลชน (Mass Transit) ในเมืองใหญ่ ยกระดับระบบรางทั่วประเทศ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง พัฒนาเมืองตามสถานีรถไฟ รอบประเทศและในกรุงเทพฯ เมืองใหญ่ ทำได้ดีค่อนข้างมาก

เร่งบริหารงบประมาณของประเทศไม่ให้เป็นคอขวด มีงบแล้วไม่ทำ แต่สร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น แม่สอด มุกดาหาร เร่งขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต กำลังเร่งสนามบินอู่ตะเภารองรับนักท่องเที่ยวจาก 30 ล้านคน เป็น 60 ล้านคน ทำได้ดีกว่าในอดีต แม้ จีดีพี จะไม่ก้าวกระโดด แต่ที่สร้างโครงการหลักจะเป็นการรับรองว่า THAILAND จะเป็น HUB แห่ง AEC และ ASIA ในอนาคตอย่างแน่นอน

โครงข่ายทางด้านโลจิสติกส์ทำได้เยอะ ที่ยังขาดอยู่อีก 1 ช่องทางคือ"การขนส่งทางน้ำ" ทั้งในประเทศและเชื่อมต่อเอเชีย และทั่วโลก ไทยเรามีชายฝั่งทะเลร่วม 2,000 กม. มีท่าเรือหลักแค่แหลมฉบัง ซึ่งก็อยู่ลึกเข้าไปในอ่าวไทย คลองเตยก็เป็นท่าเรือในเมืองใหญ่ สงขลา ก็เป็นอีกท่าเรือด้านตะวันออก ตะวันตกไม่มี

หันมาดูภาคใต้ของเราจะเป็นภาคที่รวยที่สุดในอนาคต มีทั้งเกษตร การท่องเที่ยว เป็นแกนหลัก กำลังจะเริ่มมีอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมากขึ้น ข้อดีอยู่ระหว่าง 2 ทะเล จีนเองต้องการลงใต้ ต้องการเชื่อมทางน้ำ ผ่านด้ามขวานไปสู่ตะวันตก (จีนมี One Belt One Road คือเส้นทางสายไหม มีรถไฟไปสู่ยุโรปจากอีสานจีนแล้ว) แต่ภาคใต้ระบบโลจิสติกส์ยังต้องดีกว่านี้อีก จีนต้องการทางน้ำอ้อมเวียดนามทะลุภาคใต้ไปยุโรป ระบบถนนก็ดีพอใช้ ระบบทางอากาศดีพอใช้ แต่ระบบทางน้ำแย่มากๆ ระบบรางก็ไม่ดีพอ ญี่ปุ่นสนใจจะมาสร้างรถไฟความเร็วสูง จากเหนือเชียงใหม่ลงมาสู่มาเลเซีย สิงคโปร์ ก็ยังไม่ตกลง รัฐบาลใหม่จะมาทบทวนกันอีกหรือเปล่า จะช้าอีกไหม

โครงข่ายเหนือสู่ใต้จะมีแกนกระดูกสันหลังเท่านั้น แต่แกนภาคใต้ด้านตะวันตกสู่ตะวันออกไม่มีเลย ทั้งๆที่ 2 ทะเลห่างกัน 100 -200 กม.เท่านั้น การเชื่อม 2 ฝั่งมีมานาน โบราณคิดจะทำคอคอดกระที่ชุมพรให้เป็นช่องผ่านเรือเช่นคลองปานามา แต่ความคิดล้าสมัย

การเชื่อมตะวันตก-ตะวันออกมีแนวคิดว่าจะทำ 3 Linkages ด้วยระบบ Landbridge และ Piping ขนน้ำมัน โดยมีท่าเรือ 2 ฝั่ง นอกจากจะใช้เพื่อขนสินค้าแล้ว ก็สามารถจะใช้เพื่อการท่องเที่ยว 2 ทะเลได้เป็นอย่างดี การเชื่อมต่อ 3 ช่องทางคือ 1. ชุมพร (คอคอดกระ) 80 กม. แต่ช่วงขนสินค้ามีน้อย 2. กระบี่-ขนอม (นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี) ช่องนี้มีแล้ว ระยะ 150 กม. มีท่าเรือขนาดเล็ก 2 ฝั่งแล้ว และ 3. ที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก ก็คือ สตูล ปากบารา และสงขลา ซึ่งสงขลาเป็นท่าเรือใหญ่แล้ว สร้างปากบาราที่สตูล จะมี 3 Landbridges สามารถทำทีเดียวได้ทั้ง 3 Landbridges เอานักลงทุนต่างชาติ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย มาร่วม (เพราะคงไม่อยากถูกปล่อยให้โดดเดี่ยว สินค้าจะบายพาสไม่ต้องผ่านช่องแคบโจรสลัดมะละกาอีก


ที่เป็นปัญหาปัจจุบันคือ กลุ่มท้องถิ่นเรียกร้องให้สนใจสิ่งแวดล้อมที่จะเสียไปกับเมกะโปรเจ็กต์สร้างงาน สร้างอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปากบารา เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องธรรมดา ท่าเรือแหลมฉบังก็มีปัญหาเรื่องชุมชน และสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว ดูแหลมฉบังปัจจุบัน ทั้งชุมชน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ผสมอยู่ได้เป็นอย่างดี พัทยาโตมากๆ เป็น World Destination ได้ ที่ยังขาดอยู่ก็คือ ทรัพยากรทางน้ำ และชายฝั่ง ด้อยลงไป

ปากบาราน่าจะเอาประสบการณ์ของแหลมฉบังมาใช้ และเพิ่มการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง และการท่องเที่ยวอีกหน่อย ดูที่เวียดนาม การเพาะเลี้ยงลอยน้ำ เป็น Sea Farm ก็น่าจะทำได้ในทะเล และบูรณาการไปพร้อมกัน คงต้องให้เวลาอีกนิด คุยกันบ่อยๆ ลดแรงกดดันด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกนิด แต่ในด้านการพัฒนาประเทศ การสร้างงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตนั้นดีแน่ ภาคธุรกิจค่อนข้างยิ้ม แต่ภาคสิ่งแวดล้อมและชุมชนยังไม่เต็มใจ

การพัฒนาอะไรก็ตามจะต้องแลกเปลี่ยนบ้างเสมอ ลองคิดดูผลบวก ผลลบ อะไรมากกว่า ก็ตัดสินใจไป เป็นหลักประชาธิปไตย แต่ก็ต้องดูแลคนเห็นส่วนน้อยไว้ด้วย ไม่เหมือนจีนที่ใช้มาตรา 44 จนเป็นภาคปฏิบัติโดยปกติ ท่านเติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นตัวอย่างที่ดี เปิดใจรับฟัง รับการเปลี่ยนแปลงหน่อยก็แล้วกัน ไม่ต้องการทะเลาะกันอีกเลย ปากบาราเรื่องเล็กจริงๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,191 วันที่ 11 – 14 กันยายน พ.ศ. 2559



ที่มา Data & Images -