ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

โอบามา สั่งแบนโครงการขุดเจาะน้ำมัน-ก๊าซในมหาสมุทรอาร์กติกและแอตแลนติก

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 22, 16, 07:07:43 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 21 ธันวาคม 2559 -  ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐ ได้ประกาศสั่งห้ามการดำเนินการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอนาคต ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรอาร์กติกและแอตแลนติก โดยเป็นความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดเพื่อตอกย้ำจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่ปธน.โอบามาจะก้าวออกจากตำแหน่งในเดือนหน้า


โอบามาได้ใช้อำนาจตามกฎหมาย Outer Continental Shelf Lands Act ซึ่งเปิดทางให้ประธานาธิบดีสามารถยกเลิกการให้เช่าและสำรวจพื้นที่เพื่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ โดยทางทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโอบามาได้เข้ามาป้องกันทะเลชุกชีทั้งหมดรวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลโบฟอร์ตในมหาสมุทรอาร์กติก เช่นเดียวกับหุบเขาลึก 31 จุดในมหาสมุทรแอตแลนติก ไม่ให้เกิดการขุดเจาะทรัพยากร

นอกจากนี้ ทางการแคนาดายังเตรียมระงับใบอนุญาตให้เช่าพื้นที่เพื่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในมหาสมุทรอาร์กติกฝั่งแคนาดา ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการทบทวนทุก 5 ปี โดยอาศัยการประเมินด้านสภาพอากาศและวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวในแถลงการณ์ว่า "การดำเนินการเหล่านี้รวมถึงความเคลื่อนไหวจากฝั่งแคนาดา เป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศอันอ่อนไหวและมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งไม่เหมือนกับภูมิภาคอื่นใดในโลกนี้"

โอบามายังกล่าวด้วยว่า "สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า แม้ทั้งสองประเทศได้วางมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดแล้ว แต่ความเสี่ยงในการเกิดน้ำมันรั่วไหลในภูมิภาคนี้ยังมีอยู่มาก ขณะที่เรามีศักยภาพในการจัดการกับการรั่วไหลท่ามกลางสภาวะอันรุนแรงของภูมิภาคนี้นั้นก็ค่อนข้างจำกัด"

กระทรวงมหาดไทยสหรัฐ เปิดเผยว่า พื้นที่ที่เข้าข่ายยกเลิกใบอนุญาตให้เช่าตามที่ประกาศในครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 3.8 ล้านเอเคอร์ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและตอนกลางห่างจากฝั่งอีสต์โคสต์ของสหรัฐ เช่นเดียวกับพื้นที่ 115 ล้านเอเคอร์ในมหาสมุทรอาร์กติก

แซลลี จูเวลล์ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยสหรัฐ กล่าวว่า "การถอนใบอนุญาตจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศที่มีความสำคัญเหล่านี้ ทั้งยังเป็นที่พำนักให้กับสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ต่างๆที่ตกเป็นเป้าเสี่ยง รักษาการทำประมงเชิงการค้าและการยังชีพ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นห้องแล็บธรรมชาติสำหรับเหล่านักวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบและสำรวจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ"

ด้านนักวิเคราะห์มองว่า รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่น่าจะสามารถยกเลิกการดำเนินการของโอบามาได้โดยง่าย เนื่องจากกฎหมาย Outer Continental Shelf Lands Act ไม่ได้มีการระบุถึงขั้นตอนในการที่ปธน.คนใหม่จะสามารถยกเลิกการดำเนินการของผู้นำคนก่อน

อย่างไรก็ดี สภาคองเกรสสามารถมีมติผ่านร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว ซึ่งน่าจะต้องได้รับการสนับสนุนในระดับวุฒิสภา 60 เสียง อันเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับประเด็นโต้แย้งในหลายๆครั้ง สำนักข่าวซินหัวรายงาน



ที่มา Data & Images -




โอบามา ห้ามขุดเจาะพลังงานล้าน ตร.กม.

ทิ้งทวน! โอบามา ออกกฎห้ามผู้เหมาขุดน้ำมันในทะเลสหรัฐฯ อย่างไม่มีขีดจำกัด ขัดขวางนโยบาย ทรัมป์


นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะอำลาตำแหน่ง สั่งห้ามไม่ให้ทำการขุดเจาะน้ำมันและพลังงาน ในพื้นที่ 1 ล้านตารางกิโลเมตร ในทะเลสหรัฐฯ ทั้งอาร์กติกแบบไม่จำกัด สำหรับการเช่าสัมปทานในอนาคตข้างหน้า ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ชาติ ก่อนอำลาตำแหน่งของผู้นำรายนี้

ในคำสั่งดังกล่าว อาจจะส่งผลต่อผู้สนับสนุน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ในสหรัฐฯ ให้ทำงานได้ยากขึ้น ขณะเดียวกัน แคนาดา ซึ่งมีพื้นที่ทางทะเลในแถบเดียวกันกับสหรัฐฯ จะออกร่วมประกาศเดียวกันกับสหรัฐฯ เช่นกัน

โอบามา กล่าวว่า การตัดสินใจสั่งห้ามดังกล่าวเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และศักยภาพระบบนิเวศในอาร์กติกอย่างยั่งยืน เป็นความน่ากังวลที่จำเป็นของวัฒนธรรมท้องถิ่น สัตว์ป่า ช่องโหว่ในภูมิภาค สำหรับน้ำมันที่รั่วไหลไปยังพื้นที่อื่นนั้น เป็นเหตุผลของการสั่งห้ามดังกล่าว   

ในช่วงที่ ทรัมป์ หาเสียง เคยประกาศว่า จะใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำมันสำรอง ซึ่งหากหลังจากนี้ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงพยายามทำตามที่เคยกล่าวไว้ด้วยการยกเลิกข้อห้ามของ โอบามา จะทำให้ต้องเข้าสู่การไต่สวนของศาล

อย่างไรก็ตาม สำนักปิโตรเลียมของสหรัฐฯ กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ใช้ข้อห้ามถาวร ซึ่งหมายความว่า ทรัมป์ มีโอกาสที่จะกลับมายกเลิกข้อห้ามของ โอบามา ได้ในอนาคต



ที่มา Data & Images -


..