ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

การล้มละลายของสายการเดินเรือเกาหลีใต้ ฮันจิน ชิปปิ้ง VS กิจการเดินเรือไทย

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 10, 17, 06:19:32 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 6 มกราคม 2560 - คอลัมน์ กฏกติกาธุรกิจ โดย รุจิระ บุนนาค - สำนักงานทนายความ มารุต บุนนาค

ชื่อความยิ่งใหญ่ของสายการเดินเรือระหว่างประเทศของเกาหลีใต้อย่างฮันจิน ชิปปิ้ง (Hanjin Shipping) ผู้ให้บริการรายใหญ่อันดับ 7 ของโลกกลายเป็นอดีตไปแล้ว เมื่อ คณะกรรมการบริหารบริษัทฮันจิน ชิปปิ้ง ลงมติ เป็นเอกฉันท์เมื่อเร็วๆ นี้ ให้ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ ต่อศาล หลังประสบภาวะขาดทุนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ความต้องการขนส่งสินค้าทางเรือลดลง แต่ค่าระวางเรือกลับเพิ่มขึ้น


สิ้นปี พ.ศ.2558 ฮันจิน ชิปปิ้ง มีหนี้สิน จำนวน 5.6 ล้านล้านวอน หรือราว 173,300 ล้านบาท

ฮันจิน ชิปปิ้ง มีเรือบรรทุกตู้สินค้าและเรือขนส่งสินค้าทั้งหมด 150 ลำ มีเส้นทางเดินเรือประจำ 60 เส้นทางทั่วโลก

การล้มละลายของฮันจิน ชิปปิ้ง ถือเป็น การล้มละลายครั้งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมชิปปิ้งโลก ส่งผลให้ท่าเรือหลายแห่งทั่วโลก ต่างปฏิเสธที่จะให้เรือสินค้าฮันจินเข้าเทียบท่า เพราะ เกรงว่า จะไม่ได้รับเงินค่าเทียบเรือ ผู้ส่งออก ในหลายประเทศจึงต้องเปลี่ยนมาใช้บริการสายการเดินเรืออื่นแทน ผู้ส่งออกบางรายถึงกับสั่งระงับเรียกตู้สินค้ากลับระหว่างทางที่กำลังขนส่งทำให้ต้นทุนผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น

การขนส่งทางเรือมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากโลกประกอบด้วยพื้นน้ำถึงร้อยละ 70 ที่เหลือ ร้อยละ 30 เป็นพื้นดิน ประกอบกับเรือเป็นพาหนะที่มีขนาดใหญ่สามารถใช้ขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ

การขนส่งทางเรือมีความสำคัญกับไทยเช่นกัน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 เรือไทย หมายถึงเรือไทยที่ใช้ในการขนส่งทางทะเล รวมถึงการขนส่งของโดยเรือจากไทยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศมาไทย

ตาม พ.ร.บ.เรือไทย พ.ศ. 2481 ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทย ต้อง มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ (1) เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย (2) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย (3) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (4) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดย (4.1) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย (4.2) เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้เป็นหุ้นส่วน จำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว (4.3) เป็นบริษัทจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว และไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (4.4) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทยและหุ้นอันเป็นทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าวส่งเสริมการพาณิชยนาวี

รัฐให้ความสำคัญต่อกิจการพาณิชย์นาวีของไทย มีการส่งเสริมให้ใช้เรือไทย เมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2552 กระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศเกี่ยวกับเส้นทางเดินเรือสองฉบับมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ฉบับแรก เรื่อง กำหนดเส้นทางเดินเรือที่ผู้สั่งหรือนำของเข้ามาจากต่างประเทศต้องบรรทุกของนั้นโดยเรือไทย สำหรับกรณีที่ทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งหรือนำเข้า ฉบับสอง เรื่อง กำหนดเส้นทางเดินเรือที่ผู้สั่งหรือนำของเข้า มาจากต่างประเทศต้องบรรทุกของนั้นโดยเรือไทย สำหรับกรณีที่นิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งหรือนำเข้า

เส้นทางเดินเรือ คือ เส้นทางเดินเรือจากประเทศและดินแดนต่อไปนี้มาไทย คือ (1) ญี่ปุ่น (2) เกาหลี (3) ไต้หวัน (4) เขตบริหาร พิเศษฮ่องกง (5) สิงคโปร์ (6) นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอิตาลี (7) สหรัฐอเมริกา (8 จีนและ (9) มาเลเซีย


สำหรับของที่ทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยทางเรือในเส้นทางเรือ ตามข้างต้น ที่ไม่อยู่ภายใต้ที่จะต้องบรรทุกโดยเรือไทย ได้แก่ ปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมและน้ำมันสำเร็จรูป ของที่ซื้อโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เว้นแต่ในกรณีที่สัญญาหรือความตกลงมีข้อกำหนดให้ใช้เรือไทยในการบรรทุกของนั้น ของที่ได้มาโดยการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อนุญาตให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องใช้เรือไทยในการบรรทุกของนั้น

นอกจากการกำหนดข้างต้น รัฐมีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกาให้ผู้ส่งของซึ่งส่งของ ที่เป็นผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากไทยออกไปยังต่างประเทศโดยเรือไทย หรือสั่งหรือนำของจากต่างประเทศเข้ามายังไทยโดยเรือไทย มีสิทธิ หักเงินจำนวนไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าระวางและหรือเงินอย่างอื่นที่ได้เสียไปตามปกติในการขนส่งของดังกล่าว ออกจากเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิ หรือการกำหนดให้การขนส่งของทางทะเลระหว่างไทยกับต่างประเทศแต่ละประเทศต้องใช้บริการขนส่งโดยเรือไทยไม่น้อยกว่าอัตราส่วนของปริมาณของและของค่าระวาง ที่มีการขนส่งระหว่างกัน

กิจการเดินเรือไทยยังนับว่าโชคดี ที่ประเทศไทยมีกฎหมายที่สนับสนุนและ ส่งเสริมให้ใช้เรือไทย แต่ ฮันจิน ชิปปิ้ง สายการเดิน เรือยักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ไม่โชคดี เหมือนอย่างสายการเดินเรือไทย อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า แม้กิจการเดินเรือไทยจะได้รับ การสนับสนุนเช่นนี้ แต่คงยังใช้เวลาอีกนานกว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกกับเขาบ้าง



ที่มา Data & Images -