ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เปิดภาพ! “ฟริเกตพิฆาต”เขี้ยวเล็บใหม่ ทร.ไทย ตัวเรือแบบ“สเตลท์” มูลค่า 1.46 หมื่น

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 25, 17, 06:22:53 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

บริษัท DSME ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเตรียมพิธีปล่อยเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทยลงน้ำ


กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ เปิดเผยว่า บริษัท DSME ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเตรียมพิธีปล่อยเรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือเรือหลวงท่าจีนลำใหม่ของกองทัพเรือไทยลงน้ำ โดยกำลังเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมนำมาประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 15.39 น.โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยนางปรานี อารีนิจ ภริยาเป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ

สำหรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงดังกล่าว ต่อโดยบริษัท DSME.(DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 ซึ่งเป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ

ในการต่อเรือชุดนี้กองทัพเรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของการต่อเรือภายในประเทศ โดยกองทัพเรือจะทำการต่อเรือฟริเกตสมรรถณะสูงเองอีก 1 ลำ และที่ผ่านมาบริษัท DSME. จำกัด และ บริษัท ไฮเทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทผู้แทนในระเทศไทยของบริษัท DSME จำกัด) ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับกองทัพเรือ และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท ในด้านความร่วมมือการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อ 30 กันยายน 2559 ณ รองรับรองกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม

โดยเรือฟริเกต มี มูลค่า 14,600 ล้านบาท ปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ เรียงลำดับความสำคัญจากการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ ปฏิบัติการต่อต้านภัยทางอากาศ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศได้อย่างสมบูรณ์ และสอดคล้องกับความต้องการของกองทัพเรือ

ส่วนของ platform system มีดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ (Flight Deck) และโรงเก็บอากาศยาน สามารถใช้งานกับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตัน ได้ เช่น S 70B Sea Hawk, MH -60S Knight Hawk มีอุปกรณ์ช่วยการลงจอด (landing aids แบบ harpoon grid) มีระบบและอุปกรณ์การลงจอด ยึดตรึง เคลื่อนย้าย เฮลิคอปเตอร์ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ level 2 class A ตามมาตรฐาน US Navy Standard NATO

สำหรับ ระบบอำนวยการรบ (combat system) และระบบย่อยของระบบการควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ (command and surveillance) และระบบอาวุธ (armament) ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ทั้ง Evolved Sea Sparrow Missile-ESSM มีระบบตอร์ปีโด ปราบเรือดำน้ำ ที่สามารถปรับปรุงให้ใช้งานกับ อาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่ อากาศ SM2 รวมทั้งมีระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่พื้น (Advanced Harpoon Weapon Control System- AHWCS) และอาวุธป้องกันตนเองระยะประชิด Raytheon

"สำหรับ ระบบอำนวยการรบ (combat system) ประกอบด้วยมีระบบการควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์(command and surveillance) และระบบอาวุธ (armament)มีระบบปืนซึ่งประกอบด้วย อาวุธปืนหลัก ปืน 76/62 มม. Oto-Melara พร้อม Stealth Shield และ อาวุธปืนรอง ปืนกล 30 มม. และปืนกล 50 นิ้ว ระบบเป้าลวง (decoy system) โดยมีแท่น TERMA หรือ รุ่นที่ดีกว่า พร้อมระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และทำการลวง (Break Lock) เรดาร์ควบคุมการยิงของเรือ, อากาศยาน และอาวุธปล่อยนำวิถีได้ รวมทั้งสามารถรองรับการใช้งานเป้าลวงตอร์ปีโด (torpedo decoy)"

ระบบตรวจการณ์ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล แบบ 3 มิติ ของ SABB อุปกรณ์หมายรู้และพิสูจน์ฝ่าย IFF ระบบโซนาร์ รวมทั้งมีระบบโทรศัพท์เสียงใต้น้ำ ระบบเดินเรือที่เชื่อมต่อกับระบบเดินเรือและระบบอำนวยการรบได้



ที่มา Data & Images -




ทัพเรือทำพิธีปล่อย 'ฟริเกต' เรือสมรรถนะสูงจากเกาหลีมูลค่า 1.46หมื่นล้านลงน้ำเเล้ว


เมื่อเวลา 15.39 น. วันที่ 23 มกราคม พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือฯ พร้อมด้วยนางปรานี อารีนิจ ภริยาเป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ โดยมีพลเรือเอก รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือฟริเกต และ RDMl.Park Young-Sik Commander, Naval Education&Training Group 1(Flag Escort to the C-in-C, RTN) ให้การต้อนรับ และมีพลเรือตรีกฤษฎาภรณ์ พันธุมโพธิ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กองทัพเรือ นาวาเอกไพฑูรย์ ชีชะนะ ผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหารเรือไทย/โตเกียว พร้อมภริยา,Cdr.Kim, Young Sik Asia-Pacific Desk, Foreign Policy Division,ROKN HQs Ens.Kim, Hyunmin Foreign Policy Division, ROKN HQs (Translator) และผู้แทนบริษัท DSME ร่วมพิธีฯ ณ อู่ต่อเรือบริษัท DSME เมืองปูซาน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

สำหรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือเรือหลวงท่าจีน ต่อโดยบริษัท DSME.(DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี เป็นเรือฟริเกตที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ เฮลิคอปเตอร์กองทัพเรือ ในการรับ-ส่ง เฮลิคอปเตอร์ และนำ เฮลิคอปเตอร์เข้าเก็บในโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ได้ นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ ได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ เป็นผลทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทฯ เสนอ จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือไทยและบุคคลากรทั้ง ทร. และภาคเอกชนให้มีความรู้ความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการบำรุงรักษา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในประเทศได้

กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้กองทัพเรือ ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกองทัพเรือ โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก แบบเรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือก เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี

อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด ตามมาตรฐานยุโรป สหรัฐฯ และกองทัพเรือที่มีใช้งานและกำลังจัดหา

การสร้างเรือ จะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,997 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพันระยะเวลา 6 ปี


คุณลักษณะและขีดความสามารถโดยสังเขปของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง

ภารกิจในยามสงคราม ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย กิจรอง คุ้มกันกระบวนเรือ

ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ

ขีดความสามารถทั่วไป โดยสามารถนำเรือ/เดินเรือแบบรวมการที่ทันสมัย ระบบขับเคลื่อนที่ควบคุมง่าย รวดเร็ว ทนทาน ง่าย และประหยัด ความทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6 ขึ้นไป โครงสร้างเรือแข็งแรง มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์/เคมี/ชีวะ

ขีดความสามารถด้านการควบคุมบังคับบัญชาและการตรวจการณ์ ด้วยระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ที่ทันสมัยและขีดความสามารถสูง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกับเรือ อากาศยาน และหน่วยบนฝั่ง ตลอดจนสามารถตรวจการณ์ครอบคลุมทุกมิติและทั้งกลางวันและกลางคืน

ขีดความสามารถการรบ โดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ โดยให้ความสำคัญในการการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำเป็นลำดับแรก โดยสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำได้ที่ระยะไกลด้วย Vertical Launch Anti-Submarine Rocket หรือตอร์ปิโด และลำดับที่สอง การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ โดยใช้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฎิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ ส่วนการป้องกันทางอากาศระยะไกล หรือพื้นที่ชั้นนอกของกองเรือ (Battle Group) จะใช้การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศในการค้นหา ตรวจจับและโจมตี และการปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ โดยสามารถโจมตีเป้าหมายได้ที่ระยะไกล โดยปฏิบัติร่วมกับเรือและอากาศยานในการพิสูจน์ทราบเป้า ส่งมอบเป้าและให้ใช้อาวุธจากระยะพ้นขอบฟ้า รวมทั้งโจมตีเป้าพื้นน้ำและใต้น้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ
ขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ ปืนใหญ่เรือและปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ

ขีดความสามารถในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้

ขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบร่วม โดยผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ให้สามารถปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) ได้แก่ ร.ล.จักรีนฤเบศร เรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร เรือคอร์เวต ชุด เเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับ เครื่องบินกองทัพอากาศ ตามบทบาทหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะทำหน้าที่ควบคุมการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก

เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย

ในการต่อเรือชุดนี้กองทัพเรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของการต่อเรือภายในประเทศ โดยกองทัพเรือจะทำการต่อเรือฟริเกตสมรรถณะสูงเองอีก 1 ลำ ตามแนวทางพระราชดำริพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยที่ผ่านมาบริษัท DSME. จำกัด และ บริษัท ไฮเทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทผู้แทนในระเทศไทยของบริษัท DSME จำกัด) ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับกองทัพเรือ และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท ในด้านความร่วมมือการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อ 30 กันยายน 2559 ณ รองรับรองกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม



ที่มา Data & Images -