ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ปตท.อ่วม! รบ.อินโดฯ เรียกค่าเสียหาย 6.9 หมื่นล้าน ทำน้ำมันรั่วในทะเลติมอร์

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 07, 17, 09:35:57 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอพี/MGR Online - รัฐบาลอินโดนีเซียยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 69,000 ล้านบาท) จาก ปตท.รัฐวิสาหกิจพลังงานของไทยและบริษัทลูกในออสเตรเลีย กรณีทำน้ำมันรั่วในทะเลติมอร์ เมื่อเกือบ 8 ปีก่อน เจ้าหน้าที่รายหนึ่งเปิดเผยในวันศุกร์ (5 พ.ค. 60)


อาลีฟ ฮาวาส โอโกรเซโน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลของอินโดนีเซีย เผยว่าได้ยื่นฟ้องร้องทางกฎหมายต่อศาลแขวงจาการ์ตากลางเมื่อวันพุธ (3 พ.ค. 60) ในการเอาผิดกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และ พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (PTTEP Australasia) บริษัทลูกในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(ปตท.สผ.)

คาดว่ามีน้ำมันมากกว่า 400 บาร์เรลต่อวันรั่วไหลสู่ทะเลติมอร์ หลังเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ บริเวณแหล่งขุดเจาะมอนทาราของ ปตท.สผ. นอกชายฝั่งออสเตรเลียในปี 2009

พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ได้ส่งผ่านบทบาทการทำความสะอาดคราบน้ำมันให้หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลของออสเตรเลีย (the Australian Maritime Safety Authority: AMSA) จัดการตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ ด้วยวิธีการล้อมคราบน้ำมันและดูดกลับรวมถึงฉีดสารเคมี โดยใช้เวลาในการระงับเหตุทั้งหมด 74 วัน

โอโกรเซโน ชี้แจงการฟ้องร้องทางแพ่งในครั้งนี้ว่าเป็นความพยายามแสวงหาความยุติธรรม โดยเขาบอกระหว่างแถลงข่าวว่าข้อเรียกร้องเงินชดเชยนั้น จำนวน 1,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและอีก 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในยงานด้านฟื้นฟู

เขาระบุต่อว่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงป่าชายเลน 2,965 เอเคอร์ (ราว 7,500ไร่), หญ้าทะเล 3,460 เอเคอร์ (ราว 8,750 ไร่) และปะการัง 1,730 เอเคอร์(ราว4,300ไร่)

เมื่อปี 2011 คณะผู้ตรวจสอบอิสระในออสเตรเลียกล่าวโทษ ปตท.สผ.และผู้ดูกฎระเบียบที่หย่อนยานสำหรับเหตุน้ำมันรั่วครั้งนี้ โดยรายงานระบุว่าการที่ ปตท.สผ. ติดตั้งแนวกั้นในบ่อน้ำมันเพื่อป้องกันการรั่วไหลเพิ่มเติมนั้นดำเนินการอย่างไม่เพียงพอ และยังไม่ได้ติดตั้งแนวกั้นอันที่สองที่จำเป็นต้องทำอีกด้วย

ปลาหลายพันตัวลอยตายและพบกลุ่มคราบน้ำมันลอยไปใกล้ๆ แนวชายฝั่งของอินโดนีเซียราว 2 เดือนหลังจากเกิดเหตุ ขณะที่เหตุการณ์นี้ถือเป็นกรณีน้ำมันรั่วครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมปิโตรเลียมนอกชายฝั่งของออสเตรเลีย

อนึ่ง การตัดสินใจฟ้องร้องของรัฐบาลอินโดนีเซียเกิดขึ้นภายหลังการเจรจาต่อรองโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีกับ ปตท.สผ. ไม่มีความคืบหน้ามาตั้งแต่ปี 2012



ที่มา Data & Images -




PTTEP รับรู้ข่าวการฟ้องเรียกค่าเสียหายของอินโดฯจากเหตุน้ำมันรั่วในแหล่งมอนทารา แต่ยังไม่ได้เอกสารเป็นทางการ

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2560 - บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือ ปตท.สผ.ได้ออกคำชี้แจงฉบับที่ 1 กรณีการฟ้องร้องในประเทศอินโดนีเซียว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อเกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีต่อศาลในกรุงจาการ์ตาโดย The Coordinating Ministry for Maritime Affairs อินโดนีเซีย เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลของแหล่งมอนทารา ในทะเลติมอร์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2552 นั้น ปตท.สผ. ทราบข่าวเรื่องการฟ้องร้องดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการ จึงไม่ทราบรายละเอียดของการยื่นฟ้องครั้งนี้


ทั้งนี้ ปตท.สผ. ขอชี้แจงว่านับจากที่เกิดเหตุการณ์มอนทาราจนถึงปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอินโดนีเซียมาโดยตลอด และพร้อมให้ความร่วมมือต่อไป โดยจะพิจารณาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะรับผิดชอบตามข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ที่ผ่านมา PTTEP Australasia หรือ PTTEP AA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. และเป็นผู้ดำเนินการในแหล่งมอนทารา ยังไม่เคยได้รับพยานหลักฐานที่ชัดเจนจากรัฐบาลอินโดนีเซียที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุการณ์มอนทาราในประเทศอินโดนีเซียแต่อย่างใด

นอกจากนี้ จากผลการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งควบคุมโดยหน่วยงานรัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย ยืนยันได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณที่ติดกับน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยผลการศึกษาวิจัยมีเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ดังนี้ http://www.au.pttep.com/sustainable-development/environmental-monitoring/



ที่มา Data & Images -





..