ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

พลังงานเดินหน้า ไฟฟ้าแดดโซลาร์ฟาร์มชุมชนปี 57 ขายเข้าระบบ

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 05, 13, 17:45:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เดินหน้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน 800 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 8 หมื่นล้าน แนะรัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ลดการนำเข้าอุปกรณ์ ด้าน ไฟฟ้าภูมิภาค ตู้ชำระเงินค่าไฟอัตโนมัติ 4 จังหวัด


นางกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร ผู้อำนวยการกลุ่มนวัตกรรม กรมพัฒนาทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนจำนวน 800 เมกะวัตต์ ว่าขณะนี้อยู่ในกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าภายในปี 2557 จะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเชิงพาณิชย์ได้โดยจะใช้เงินลงทุนเมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท รวมมูลค่าลงทุน 80,000 ล้านบาท โดยกองทุนหมู่บ้านจะเป็นผู้ลงทุนเอง โดยการกู้เงินจากธนาคารของรัฐในรูปแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

"ก่อนหน้านี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  (กพช.) เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานและสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เป็นประธาน เป็นผู้ดำเนินการในการออกระเบียบหลักเกณฑ์และคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อม และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกระเบียบในการรับซื้อไฟฟ้านั้น" นางกุลวรีย์กล่าว

ทั้งนี้ ภาครัฐจะส่งเสริมอัตราค่าไฟฟ้าในรูปแบบ Feed in Tariff (FIT) เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยมีอัตรา FIT ในช่วงปีที่ 1-3 ในอัตรา 9.75 บาทต่อหน่วย ในช่วงปีที่ 4-10 ในอัตรา 6.5 บาทต่อหน่วย และในช่วงปีที่ 11-25 ในอัตรา 4.5 บาทต่อหน่วย  จะช่วยให้โครงการมีผลตอบแทนที่น่าพอใจ และสถาบันการเงินของรัฐพร้อมที่จะให้เงินสนับสนุน อย่างไรก็ตาม แต่ภาครัฐควรส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นในการพัฒนาและขยายการลงทุน เพราะไม่เช่นนั้น โครงการจะต้องมีการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า

นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า ได้เปิดโครงการ "ต้นแบบการให้บริการ PEA Front Office และเปิดบริการตู้ชำระเงินค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ  โดยนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี อุบลราชธานี เชียงใหม่ และภูเก็ต ระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือน ส.ค.2556 - ม.ค.2557  อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มาชำระเงินค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพียงนำใบแจ้งหนี้มาสแกน นำเงินใส่ช่องชำระเงินอัตโนมัติและรอรับเงินทอนเท่านั้น.


ที่มา -




ผอ.พพ.เผยยังมีความต้องการโซลาร์ฟาร์มอีกกว่า 2,300 เมกะวัตต์

นางกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร ผู้อำนวยการกลุ่มนวัตกรรม สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเอกชนที่สนใจลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบ ลานกว้าง หรือโซลาร์ ฟาร์ม ช่วงกลางปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สนใจจะลงทุนติดตั้งรวม 576 โครงการ รวมกำลังผลิตไฟฟ้าเสนอขาย 2,881 เมกะวัตต์ จำนวนนี้มีโครงการที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วรวม 194 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายทั้งสิ้น 554 เมกะวัตต์ จึงเหลือไฟที่รอเข้าระบบมากถึง 2,327 เมกะวัตต์ 382 โครงการ จะมีส่วนช่วยให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าของประเทศมั่นคงขึ้น


"เมื่อแยกประเภทของโครงการที่เหลือพบว่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โครงการเสนอขายไฟฟ้าและอยู่ระหว่างการพิจารณา 170 โครงการ กำลังผลิต 938.37 เมกะวัตต์ โครงการที่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อแล้ว รอการลงนามสัญญา 5 โครงการ กำลังผลิต 7.22 เมกะวัตต์ และโครงการที่ลงนามในสัญญาแล้ว จึงรอการขายไฟฟ้าเข้าระบบ 214 โครงการ กำลังผลิต 1,393 เมกะวัตต์ ซึ่งกลุ่มนี้หากไม่พร้อมและมีเหตุผลเพียงพอ รัฐกำหนดให้สามารถเลื่อนได้เป็นเวลา 6 เดือน"
 
นางกุลวรีย์ กล่าวต่อว่า โครงการเสนอขายไฟฟ้าและอยู่ระหว่างการพิจารณา และโครงการที่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อแล้ว รอการลงนามสัญญาเป็นกลุ่มที่ไม่น่ากังวล เพราะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารการผลิตไฟฟ้า ที่มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน แต่ปัญหาคือโครงการที่ลงนามในสัญญาแล้ว จึงรอการขายไฟฟ้าเข้าระบบ กลุ่มนี้ควรเริ่มผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ แต่ปัจจุบันยังขอผ่อนผันการผลิตอยู่ ทั้งที่ได้รับใบอนุญาตและผ่านขั้นตอนอื่นทั้งหมดแล้ว

ที่มา -