ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กนอ. เปิดบริการท่าเทียบเรือสินค้า (MIT) ใหม่ในพื้นที่ท่าเรือมาบตาพุด

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 25, 17, 06:30:58 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ "กนอ." เปิดให้บริการท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (MIT) แห่งใหม่ในพื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ย้ำมั่นใจดันไทยเป็นศูนย์กลางการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางทะเลในอาเซียนรับการขยายตัวการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งปิโตรเคมี สารเคมี ปุ๋ย วัตถุดิบผลิตเหล็ก รองรับ EEC


วันนี้ (23 ก.ค. 60) ที่บริเวณท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (MIT) ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) นางสาวนลินี กาญจนามัย ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ร่วมเปิดให้บริการท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (MIT) ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และร่วมต้อนรับเรือสินค้าบรรทุกเหล็กมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลำแรกที่เข้าใช้บริการเทียบท่าเป็นปฐมฤกษ์ พร้อมกับมอบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบการที่ใช้บริการท่าเทียบเรือดังกล่าว จำนวน 12 รายด้วย

นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่าหลังจากได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือเดินทะเล จากกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งท่าเรือ MIT นี้ เป็นท่าเรือหนึ่งที่จะรองรับการขยายตัวของการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ และจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเร่งส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่พัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ให้สอดรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ขีดความสามารถในการให้บริการของท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (MIT) มีท่าเทียบเรือ ทั้งหมด 4 ท่า มีขนาดหน้าท่ายาว ประมาณ 1,024 เมตร ความลึกของหน้าท่า 12.0 เมตร สามารถให้บริการรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้สูงสุดถึง 60,000 DWT (Deadweight Tonnage) รองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทเทกอง เช่น เหล็ก เศษเหล็ก เศษไม้ (woodchips) สินค้าประเภท Oversized Cargo และในระยะต่อไปจะรองรับสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งท่าเรือฯ ดังกล่าวจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและพนักงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาจัดระบบการให้บริการการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกให้กับผู้ประกอบการได้มีความคล่องตัวในการเข้าใช้บริการ โดยหลังจากเปิดให้บริการท่าเรือแล้ว คาดว่าจะรองรับการขนถ่ายสินค้าในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นได้ถึง 7 ล้านตันต่อปี และช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากความแออัดในการใช้บริการของท่าเทียบเรือสาธารณะบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดได้เป็นอย่างดี

รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวด้วยว่าปัจจุบันท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ดำเนินการตามมาตรฐานสากล ที่สามารถรองรับเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ และให้บริการรับสินค้าในหลายอุตสาหกรรมเพื่อการนำเข้าและส่งออก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทของเหลวและก๊าซ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมโซดาแอซ เป็นต้น



ที่มา Data & Images -




ว้าว !! "กนอ."เปิดให้บริการท่าเทียบเรือสินค้าแห่งที่2'แล้ว

"กนอ."เปิดให้บริการท่าเทียบเรือสินค้าแห่งที่2 ที่มาบตาพุด ย้ำมั่นใจ ดันไทยเป็นศูนย์กลาง "การนำเข้า-ส่งออก"สินค้าทางทะเลในอาเซียน รองรับEEC

เมื่อวันที่  23 ก.ค.2560 - ที่บริเวณท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่2 (MIT)ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) นางสาวนลินี กาญจนามัย ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดร่วมเปิดให้บริการท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่2 (MIT)ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และร่วมต้อนรับเรือสินค้าบรรทุกเหล็กมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งลำแรกที่เข้าใช้บริการเทียบท่าเป็นลำปฐมฤกษ์ พร้อมกับมอบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบการที่ใช้บริการท่าเทียบเรือดังกล่าว จำนวน 12 ราย ด้วย

นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)กล่าวว่าหลังจากได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือเดินทะเล จากกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งท่าเรือMITเป็นท่าเรือหนึ่งที่จะรองรับการขยายตัวของการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ และจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเร่งส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่พัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)ให้สอดรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ขีดความสามารถในการให้บริการของท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่2 (MIT)มีท่าเทียบเรือ ทั้งหมด4ท่ามีขนาดหน้าท่ายาว ประมาณ1,024เมตร ความลึกของหน้าท่า12.0เมตร สามารถให้บริการรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้สูงสุดถึง60,000 DWT (Deadweight Tonnage)รองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทเทกอง เช่น เหล็ก เศษเหล็ก เศษไม้ (woodchips)สินค้าประเภทOversized Cargoและในระยะต่อไปจะรองรับสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งท่าเรือฯ ดังกล่าวจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและพนักงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาจัดระบบการให้บริการการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกให้กับผู้ประกอบการได้มีความคล่องตัวในการเข้าใช้บริการ

โดยหลังจากเปิดให้บริการท่าเรือแล้วคาดว่าจะรองรับการขนถ่ายสินค้าในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นได้ถึง7ล้านตันต่อปี และช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากความแออัดในการใช้บริการของท่าเทียบเรือสาธารณะบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดได้เป็นอย่างดี

รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)กล่าวด้วยว่าปัจจุบันท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ดำเนินการตามมาตรฐานสากล ที่สามารถรองรับเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ และให้บริการรับสินค้าในหลายอุตสาหกรรมเพื่อการนำเข้าและส่งออก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทของเหลวและก๊าซ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี และ อุตสาหกรรมโซดาแอซ เป็นต้น



ที่มา Data & Images -




กนอ.ดันมาบตาพุดศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน

กนอ.เปิดท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งใหม่ในมาบตาพุด มั่นใจดันไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอาเซียน


นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (เอ็มไอที) พื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เปิดให้บริการแล้ว โดยมีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวของการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ สอดรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลเร่งส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ และในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและโลจิส ติกส์ในภูมิภาคอาเซียน

"หลังจากเปิดให้บริการท่าเรือ กนอ.คาดว่าจะรองรับการขนถ่ายสินค้าในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นได้ถึง 7 ล้านตัน/ปี และช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากความแออัดในการใช้บริการของท่าเทียบเรือสาธารณะบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดได้เป็นอย่างดี" นายวีรพงศ์ กล่าว

ขณะนี้มีผู้เข้ามาใช้บริการแล้ว เร็วๆ นี้ กนอ.จะมีพิธีเปิดท่าเทียบเรือสาธารณะแห่งที่ 2 พร้อมให้บริการเรือขนส่งสินค้าจากบริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเข้าใช้บริการอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการติดต่อขอใช้บริการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการให้บริการของท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือทั้งหมด 4 ท่า มีขนาดหน้าท่ายาวประมาณ 1,024 เมตร ความลึกของหน้าท่า 12 เมตร สามารถให้บริการรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้สูงสุดถึง 60,000 DWT (Deadweight Tonnage) รองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทเทกอง เช่น เหล็ก เศษเหล็ก เศษไม้ สินค้าประเภทที่ใหญ่กว่าคาร์โก และในระยะต่อไปจะรองรับสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ โดยท่าเรือดังกล่าวจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและพนักงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดระบบการให้บริการการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกให้กับผู้ประกอบการ เพื่อความคล่องตัวในการเข้าใช้บริการ

อย่างไรก็ตาม ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ดำเนินการตามมาตรฐานสากล ให้บริการรับสินค้าในหลายอุตสาหกรรมเพื่อการนำเข้าและส่งออก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรม โซดาแอซ เป็นต้น มีผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย จำนวนท่าเทียบเรือให้บริการถึง 32 ท่า โดยเป็นผู้ให้บริการท่าเทียบเรือเฉพาะกิจจำนวน 9 ราย และผู้ให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย 1.ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปสาธารณะ โดยบริษัท ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล (ทีพีที) 2.ท่าเทียบเรือสินค้าเหลวสาธารณะโดยบริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล (ทีทีที) และ 3.ท่าเทียบเรือสินค้าสาธารณะแห่งที่ 2 (เอ็มไอที)



ที่มา Data & Images -







..