ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

บทเรียนจากวิกฤตน้ำมันรั่วของโลก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 07, 13, 18:15:53 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ในอดีตมีบทเรียนจากกรณีน้ำมันรั่วเกิดขึ้นหลายครั้ง ทั้งอุบัติเหตุ ความผิดพลาด และผลลัพธ์ของสงคราม แต่ไม่ว่าต้นตอจะเกิดจากสิ่งใด คราบน้ำมันที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตรายหลายชนิดก็ยังเป็นประเด็นน่าวิตก เพราะถึงจะพยายามแก้วิกฤตอย่างเร่งด่วน แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงความน่าเชื่อถือในการบริหารอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของประเทศนั้นๆ


หายนภัยน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี 2534 หลังรัฐบาลอียิปต์ปล่อยน้ำมันดิบมากถึง 1,438-1,968 ล้านลิตร ลงสู่อ่าว เพื่อกีดกันกองกำลังสหรัฐอเมริกาเทียบชายฝั่ง

จากปริมาณน้ำมันมหาศาล กองกำลังพันธมิตรต้องใช้สมาร์ตบอมบ์อุดรอยรั่วของท่อลำเลียงน้ำมัน ยังไม่รวมถึงทุ่นดักคราบน้ำมันยาวกว่า 40 กิโลเมตร เครื่องสกิมเมอร์สำหรับแยกน้ำมันกับน้ำอีก 21 เครื่อง และรถดูดน้ำ รวมๆ แล้วสามารถกำจัดน้ำมันได้ราว 266 ล้านลิตร

เหตุการณ์น้ำมันรั่วอันดับ 2 เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโกเมื่อปี 2553 หลังแท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน ของบริษัทบริติช ปิโตรเลียม (บีพี) เกิดความผิดพลาดจากระบบแรงดัน จนแท่นขุดระเบิดและพังถล่มลงมา ส่งผลให้น้ำมันมากกว่า 779 ล้านลิตรไหลทะลักลงสู่อ่าว

เพื่อแก้วิกฤตดังกล่าว บีพี และเปโตรเลออส เมฮิกานอส (เปเม็กซ์) บริษัทปิโตรเลียมของเม็กซิโก ต้องใช้ทั้งโคลน ลูกเหล็ก และลูกตะกั่ว ปล่อยลงท่อลำเลียงเพื่ออุดรอยรั่ว ขณะที่น้ำมันอีกครึ่งซึ่งลอยไปติดชายฝั่งสหรัฐอเมริกาเป็นแนวยาวตั้งแต่รัฐเท็กซัส หลุยเซียนา มิสซิสซิปปี อลาบามา และฟลอริดา ต้องใช้วิธีเผาระเหย ก่อนใช้สารละลายเขม่ากำจัดคราบน้ำมัน รวมแล้วใช้เวลานานถึง 87 วันจึงสำเร็จ


อย่างไรก็ตาม เพราะความเสียหายมหาศาลกว่า 522,000 ล้านบาท บีพีจึงถูกฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยอีกกว่า 42,000 ล้านบาท จาก 15,000 ล้านบาทที่จ่ายไปแล้วในช่วงครึ่งปีแรกหลังเกิดเหตุ โดยบีพีมีกำหนดขึ้นศาลอีกครั้งในเดือนก.ย.นี้

เหตุน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ลำดับ 3 เกิดในปี 2522 เมื่อเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำของกรีซ คือแอตแลนติก เอ็มเพรซ และเอเจียน แคปตัน ถูกพายุพัดกระหน่ำ จนเรือชนกันเองใกล้ประเทศตรินิแดดและโตบาโก ขณะที่เรือเอเจียนถูกลากเข้าชายฝั่ง เรือแอตแลนติกซึ่งถูกแรงปะทะจนเกิดรอยรั่วก็ระเบิด และน้ำมันกว่า 340 ล้านลิตรจึงไหลทะลักสู่ทะเลแคริบเบียน

หน่วยกู้ภัยใช้สารสลายเขม่ากำจัดคราบน้ำมัน และเนื่องจากมีเพลิงไหม้เผาน้ำมันบางส่วนไปแล้ว จึงสามารถกำจัดน้ำมันที่หลงเหลืออยู่ได้อย่างรวดเร็ว แต่เพราะเป็นภัยธรรมชาติจึงไม่มีรายงานการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทต้นสังกัดของเรือบรรทุกน้ำมันทั้ง 2 ลำ

นอกจากนี้ ยังมีหายนะจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เช่น เหตุน้ำมันรั่วของแท่นขุดเจาะในเฟอร์กานา วัลเลย์ อุซเบกิสถาน กับปริมาณน้ำมัน 398 ล้านลิตร เมื่อปี 2535 แท่นขุดเจาะโนว์รุซ อ่าวเปอร์เซีย ในปี 2526 กับน้ำมันรั่ว 363 ล้านลิตร และเหตุระเบิดจากเรือบรรทุกเอบีที ซัมเมอร์ ของไลบีเรีย ทำให้น้ำมันราว 350 ล้านลิตรไหลลงสู่ชายฝั่งแองโกลาในแอฟริกา เมื่อปี 2534

ที่มา -




ถอดบทเรียนสิ่งแวดล้อม จากมหันตภัยน้ำมันรั่วสู่ท้องทะเล

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลที่กล่าวกันว่าร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม คือการระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน "ดีปวอเตอร์ ฮอไรซัน" กลางอ่าวเม็กซิโก ซึ่งบริษัทบริติช ปิโตรเลียม หรือบีพี ได้รับสัมปทานจากสหรัฐ

อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2553 ซึ่งทำให้มีคนงานเสียชีวิต 11 คน และต้องใช้เวลา 87 วันกว่าจะหยุดการรั่วไหลของน้ำมันได้ ประเมินว่ามีน้ำมันปนเปื้อนสู่ท้องทะเลราว 780 ล้านลิตร จากภาพถ่ายดาวเทียมชี้ว่า ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงครอบคลุมพื้นที่ราว 68,000 ตารางไมล์ (180,000 ตารางกิโลเมตร)

ในเดือนมิถุนายน 2553 บีพีตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่คาดว่ามูลค่าความเสียหายทั้งต่อคนและสิ่งแวดล้อมสูงกว่าตัวเลขดังกล่าว หลายเท่า

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ สิ่งมีชีวิตในทะเล หรือระบบนิเวศในทะเล ซีบีเอสรายงานว่า สิ่งมีชีวิตประมาณ 400 สปีชีส์อยู่ในภาวะเสี่ยง แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 3 ปีเศษแล้ว แต่ภัยคุกคามที่มีต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่จางหายไป

หนังสือพิมพ์ ไทมส์-พิเคยูน อ้างรายงานของสมาพันธ์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติแห่งสหรัฐว่า ปัจจุบันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดในอ่าว เม็กซิโกยังไม่สิ้นสุด ทุกฝ่ายยังคงต้องร่วมมือกันหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ พร้อมระบุถึงสถานการณ์ของสัตว์และพืชทะเลหลังเหตุการณ์ผ่านไป 3 ปี


รายงาน ของสมาพันธ์ระบุว่า ชายฝั่งทะเลยาว 1,100 ไมล์ (1,770 กม.) มีน้ำมันปกคลุม รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในรัฐลุยเซียนา และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีเต่าทะเลกว่า 1,700 ตัว ที่ถูกคราบน้ำมันปกคลุมจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เต่าหญ้า (Kemps ridley turtle) ซึ่งเป็นเต่าทะเลสปีชีส์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก

นอก จากนี้ยังมี "โลมาปากขวด" 650 ตัว เคลื่อนไหวไม่ได้เพราะคราบน้ำมันบนผิวหนัง ซึ่งรวมถึงลูกโลมาหรือโลมาที่เพิ่งคลอด 130 ตัว ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรโลมา

ส่วนกรณีเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อะแลสกา เมื่อ 24 มีนาคม 2532 เมื่อเรือขนส่งน้ำมันของบริษัทเอ็กซอน จน กระทั่งมาติดอยู่บนโขดปะการังปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ บริเวณชายฝั่งรัฐอะแลสกา ส่งผลให้เกิดน้ำมันดิบรั่ว 260,000 ถึง 750,000 บาร์เรล กินพื้นที่กว่า 28,000 ตารางกิโลเมตร

เหตุการณ์ที่ปรากฏนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งเหตุการณ์น้ำมันรั่วล่าสุดที่อ่าวเม็กซิโกเมื่อ 2553

การ รั่วไหลน้ำมันครั้งดังกล่าวบริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ส่งผลให้สัตว์น้ำ เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งนิตยสารอเมริกัน ไซเอนติฟิกระบุว่า มีปลาแซลมอนจำนวนนับไม่ถ้วน นากทะเล 2,800 ตัว แมวน้ำ 300 ตัว นกทะเลหลายชนิดอีกกว่า 250,000 ตัว และวาฬอีก 22 ตัว รวมไปถึงกระทบต่อระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารในทะเลและผลกระทบต่อเนื่อง กระทั่งปี 2553 เอกสารของรัฐบาลสหรัฐประเมินว่า ยังมีน้ำมันอีก 23,000 แกลลอน แทรกซึมอยู่ในพื้นดิน

หลัง เกิดเหตุการณ์ 20 ปี ทีมจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาลงพื้นที่สำรวจบริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียม ซาวนด์พบว่า จากเหตุน้ำมันรั่วที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศตามชายฝั่งทะเล ที่อาจจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูมากกว่า 30 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์

ทั้ง นี้รัฐบาลของมลรัฐอะแลสกา และรัฐบาลกลางสหรัฐ ใช้เงินทั้งสิ้น 173.2 ล้านดอลลาร์ ในการจัดการฟื้นฟูและป้องกันเหตุรั่วไหลที่เกิดขึ้น โดยบริษัทเอ็กซอนใช้เงินอีก 39.9 ล้านดอลลาร์ สำหรับการทำความสะอาดบริเวณชายฝั่งและเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในท้ายที่สุดเอ็กซอนยอมจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับรัฐบาลเป็นจำนวนกว่า 507 ล้านดอลลาร์


ที่มา -