ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เส้นทางเดินเรือจากเม็กซิโก ถึงฟิลิปปินส์ต่อมาที่อยุธยาเมื่อ 500 ปีที่แล้ว

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 15, 13, 19:26:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ นายโครเฆ่ เชน เป็นคนเม็กซิกันเชื้อสายจีน ซึ่งแซ่เดิมคือแซ่เฉิน (ภาษาจีนกลาง) หรือแซ่ตั้งในภาษาจีนแต้จิ๋วนั่นแหละ ซึ่งท่านทูตเม็กซิโกคนนี้เป็นคนที่ใฝ่รู้และมีความสนใจในวัฒนธรรมและประเพณีไทยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารการกินยอดนิยมของไทยคือส้มตำ เพราะส้มตำนั้นต้องมีมะละกอ พริกและมะเขือเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากเม็กซิโกและภูมิภาคอเมริกากลางทั้งสิ้น


ท่านทูตโครเฆ่ เชน สนใจว่า แล้วของเหล่านี้มาถึงสยามได้อย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ที่ถูกนำเข้ามาพร้อมๆ กับเส้นทางเดินเรือของสเปนที่หลังจากยึดครองเม็กซิโกได้ในปี พ.ศ.2064 (ค.ศ.1521) และฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ.2108 (ค.ศ.1565) จึงได้เปิดเส้นทางการค้าการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างทวีปอเมริกาและเอเชียขึ้น

เรื่องมันมีความเป็นมาดังนี้คือ หลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้เดินเรือจากสเปนไปพบทวีปอเมริกาเป็นครั้งแรกคือเกาะในหมู่เกาะบาฮามัสเมื่อ พ.ศ.2035 (ค.ศ.1492 - ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา) หลังจากนั้นสเปนก็ได้เริ่มเข้าสำรวจดินแดนแถบนั้นและประกาศให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจักรวรรดิสเปน

มีการบันทึกไว้ว่านักเดินเรือชาวสเปนไปถึงดินแดนที่เป็นแหลมยูคาตัน ประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2054 (ค.ศ.1511) และเริ่ม ?สำรวจ? อย่างจริงจังในปี พ.ศ.2090 (ค.ศ.1517)

สี่ปีให้หลังอาณาจักรเม็กซิกา อันมีเมืองหลวงคือ เตโนชติตลาน (Tenochtitlan) ก็ถูกสเปนที่นำโดย นายพลเฮอร์นาน กอร์เตส (Hernan Cortes) เข้าพิชิตได้อย่างสมบูรณ์และถือว่าวัฒนธรรมอาณาจักรเมโสอเมริกาของเม็กซิโกหลายชนเผ่าที่สืบเนื่องกันมากว่า 3,000 ปีก็ได้สิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2084 (ตรงกับสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช)

ในปีเดียวกันนั้นเอง เฟอร์ดินานด์ แมกแจลแลน นักสำรวจที่สเปนเป็นสปอนเซอร์ก็เดินทางไปถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์และประกาศให้เป็นดินแดนของสเปน ดินแดนที่เรียกว่าสเปนใหม่ (Nueva Espana) ในเม็กซิโกและฟิลิปปินส์นี้มีข้าหลวงปกครอง มีหมอสอนศาสนาและมีการผูกขาดสินค้า

ในเม็กซิโกมีการเริ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่เงินในหลายๆ เมืองเช่น ซากาเตกัส (Zacatecas) และตัสโก้ (Taxco) โชคยังเข้าข้างสเปนเมื่อค้นพบเส้นทางเดินเรือเพิ่มเติม จากเดิมที่การเดินเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกทำได้เพียงอาศัยลมตะวันตกที่พัดจากทวีปอเมริกาไปฟิลิปปินส์ โดยปี พ.ศ.2108 (ค.ศ.1565) อันเดรส เด อูร์ดาเนตา (Andres de Urdaneta) ได้ค้นพบเส้นทางเดินเรือตามกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) ล่องไปทาง 38 องศาเหนือหมุนตามเข็มนาฬิกาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือไปตามชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจนถึงเมืองท่าอะคาพุลโก (Acapulco) เม็กซิโกในปัจจุบัน (ดูรูป)


การติดต่อทางการค้าระหว่างเอเชียและอเมริกากลางจึงได้เริ่มต้นขึ้นนับจากปี พ.ศ.2108 เส้นทางเรือสำเภาระหว่างมะนิลาและอะคาพุลโกนี้ ภาษาสเปนเรียกว่าเส้นทาง ?เรือจีน? (Nao de China) ออกเดินทางปีละ 2 ครั้ง โดยเส้นทางจากอะคาพุลโก หรือจากเมืองลาส เปญาส (Las Penas) ปัจจุบันคือเมืองท่าปูเอร์โต บายาร์ตา (Puerto Vallarta) แวะผ่านเกาะกวมไปถึงมะนิลาใช้เวลาเดินทาง 3 เดือน ส่วนเส้นทางกลับที่อ้อมไปทางญี่ปุ่นและแคลิฟอร์เนียนั้นจะใช้เวลา 4-5 เดือน

เส้นทางเดินเรือระหว่างสองทวีปนี้กลายเป็นเส้นทางการค้าที่มีระยะเวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ คือตั้งแต่เริ่มในปี พ.ศ.2108 จนสิ้นสุดลงเมื่อเม็กซิโกเริ่มทำสงครามประกาศอิสรภาพจากสเปน เรือลำสุดท้ายได้ออกจากท่าอะคาพุลโกในปี พ.ศ.2358 รวมระยะเวลาติดต่อค้าขายกัน 250 ปีทีเดียว โดยเริ่มในช่วงปีท้ายๆ ของรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) และก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2112 สมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครับ ! ข้อมูลเหล่านี้ผู้เขียนได้รับมาจากคุณกิตติพงศ์ นาไสยา ผู้ทำงานอยู่สถานทูตเม็กซิโกซึ่งสร้างความประทับใจต่อผู้เขียนมาก เพราะมหาสมุทรแปซิฟิกมีความกว้างร่วม 20,000 กิโลเมตร เมื่อ 500 กว่าปีมาแล้ว คนเรายังสามารถข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่นี้มาค้าขายกันได้โดยอาศัยเรือใบที่ไม่มีเครื่องยนต์เลย

แต่เรื่องที่ท่านทูตโครเฆ่ เชน อยากรู้ว่ามะละกอ พริกและมะเขือเทศนั้นมาถึงเมืองไทยผ่านเส้นทางแปซิฟิกนี้ หรือมากับพวกโปรตุเกสผ่านทางมหาสมุทรอินเดียอย่างที่เชื่อๆ กันมานั้น ยังพิสูจน์ไม่ได้ครับ

ที่มา -