ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

สนพ.ชงก.พลังงาน เส้นทางขนส่งน้ำมันใหม่

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 23:38:01 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สนพ.เตรียมเสนอกระทรวงพลังงาน เส้นทางขนส่งน้ำมันใหม่


นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า เอ็นเนอร์ยี บริดจ์ จะเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันใหม่ ในภูมิภาคนอกเหนือจากช่องแคบสิงคโปร์ที่รองรับการส่งน้ำมันได้วันละ 17 ล้านบาร์เรล แต่ว่าอีก 20 ปี มีความต้องการน้ำมันของไทยและภูมิภาคจะเพิ่มเป็น 25 ล้านบาร์เรล เส้นทางขนส่งที่เป็นไปได้มี 2 ใน 3 เส้นทางคือ 1.ท่อส่งน้ำมันจาก อ.เขาหลัก จ.พังงาสู่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ระยะทางรวม 250 กิโลเมตร

โดยสองฝั่งมีคลังน้ำมัน 20 ล้านบาร์เรล ส่วนเส้นทางที่ 2.คือ ท่อส่งน้ำมันจากท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าสู่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และเดินท่อในทะเลขึ้นฝั่งที่ อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ภายใน 1- 2 เดือน คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ และสามารถเสนอให้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณา

ส่วนวิธีการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่นรัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด หรือว่าร่วมทุนกับนักลงทุนอื่นๆ หรือผู้ค้าน้ำมันร่วมกันลงทุน

ที่มา -




ก.พลังงาน ศึกษาแผนท่อเชื่อมส่งน้ำมันเชื่อมโยงทวาย-เอเชียแปซิฟิก

กรุงเทพฯ 27 ม.ค. 56 - นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ.เปิดเผยว่า นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สั่งเร่งศึกษาแผน ENERGY BRIDGE ท่อ-คลังน้ำมันเชื่อมโยงทวาย-มาบตาพุด และโครงการท่อเชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย เพื่อสร้างความมั่นคง และเสริมสร้างรายได้แก่ประเทศ โดยผลการศึกษาจะเสร็จสิ้นภายใน 2-3 เดือนนี้ ซึ่งการศึกษาทั้ง 2 โครงการ ได้พิจารณาจากหลายปัจจัยทั้งความต้องการน้ำมันของประเทศไทย และประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้


กรณีท่อเชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย จุดที่เหมาะสมจะเป็นการสร้างท่อน้ำมันตามแนวถนนที่ก่อสร้างไว้แล้ว ระยะทางประมาณ 200-300 กิโลเมตร สร้างจากพังงา มายัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจะมีการสร้างคลังน้ำมันรองรับในพื้นที่สิชล ในขณะที่พื้นที่รับน้ำมันที่พังงา จะสร้างสะพานเชื่อม หรือเจ็ตตี้ ลงกลางทะเล สูบน้ำมันดิบเข้ามา จึงไม่ส่งผลกระทบท่อสิ่งแวดล้อมมากนัก คาดท่อจะขนส่งน้ำมันได้ราว 8-10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งระบบคลังและท่อนี้ก็จะช่วยสร้างความมั่นคง รองรับแผนการเพิ่มสำรองน้ำมันของประเทศจาก 36 วัน เป็น 90 วัน และลูกค้านอกจากใช้ในไทยแล้วยังเป็นลูกค้าในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง โดยโครงการนี้ไม่ได้มีการศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแต่อย่างใด

"ปัจจุบันช่องแคบมะละกาที่ขนถ่ายน้ำมันไปเอเชียแปซิฟิกเริ่มคับคั่ง ปริมาณขนถ่ายเต็มที่ 17 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันขนส่งอยู่ 15 ล้านบาร์เรลวัน ใน 20 ปีข้างหน้าคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบของกลุ่มนี้จะเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากไทยไม่ทำโครงการท่อเอ็นเนอร์ยี่บริดจ์ กลุ่มนี้ต้องไปขนส่งที่ช่องแคบอินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย ซึ่งไกลและต้นทุนสูงกว่า ซึ่งคาดว่าทั้งกลุ่มผู้ซื้อและขายน้ำมันดิบจะให้ความสนใจและเข้ามาร่วมลงทุน" นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ในกรณีท่อน้ำมันทวายจะเป็นการสร้างท่อรองรับน้ำมันดิบขนาด 2 ล้านบาร์เรลวัน  สร้างเชื่อมท่อบนบกระหว่างทวาย-บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หลังจากนั้น เป็นท่อทางทะเล ไปยังโรงกลั่นน้ำมัน ในมาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร จะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเมียนมาร์ประเทศเพื่อนบ้านและรองรับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศที่คาดว่าใน 10-20 ปีข้างหน้าความต้องการของไทยจะเพิ่มจาก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 2 ล้านบาร์เรลวัน ในขณะที่ประเทศไทยมีโรงกลั่นฯ อยู่แล้ว ก็สามารถส่งน้ำมันที่กลั่นแล้วกลับไปใช้ที่เมียนมาร์ได้ด้วย

ทั้งนี้ โครงการสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมทวายของเมียนมาร์ ประเทศไทยศึกษาทั้งแผนการลงทุน การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การก่อสร้างโรงไฟฟ้า การดึงดูดนักลงทุน โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและประธานาธิบดีเมียนมาร์มีกำหนดการจะหารือเรื่องนี้ร่วมกันในเดือนเมษายนนี้

สำหรับแผนสร้างเอ็นเนอร์ยี่บริดจ์ดังกล่าว เป็นหนึ่งในแผนภาพรวมพลังงานของประเทศ ระยะยาว 20 ปี ที่ สนพ.กำลังศึกษา ซึ่งจะมีทั้งเรื่องความต้องการ การจัดหา โดยจะดูแหล่งที่มาของพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว ก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมโครงการพลังงานทดแทน เช่น โครงการหญ้าเลี้ยงช้าง

ที่มา -