ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ปตท.ซื้อก๊าซ LNG "โรวูม่า" โมซัมบิก สัญญา 2.6 ล.ตันอีก 6 ปีถึงไทยเร่งสร้างท่าเรือรองรับ

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 21, 13, 19:46:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปตท.เตรียมเสนอบอร์ด ขออนุมัติข้อตกลงซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่ง Rovuma ประเทศโมซัมบิก 2.6 ล้านตัน นำเข้ามาถึงไทยปี 2562 ไว้รองรับความต้องการใช้เชื้อเพลิงก๊าซรรมชาติของโรงไฟฟ้าใหม่ พร้อมเจรจาอีก 2 แหล่งเพิ่มอีก 2 ล้านตัน คาดนำเข้าปี"58 ด้าน "พีทีที แอลเอ็นจี" เตรียมขยายท่าเรือ LNG Receiving Terminal เฟส 2 รองรับการนำเข้าเพิ่มเป็น 10 ล้านตัน


นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เร็ว ๆ นี้จะมีการลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement : HOA) เพื่อซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับเจ้าของแหล่งสัมปทานโรวูม่า (Rovuma offshore Area 1) ในสาธารณรัฐโมซัมบิก โดย ปตท.สผ.จะถือหุ้นผ่าน บริษัทโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ (Cove Energy Plc.) (ปตท.สผ.ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 8.5) ในปริมาณ 2.6 ล้านตัน โครงการดังกล่าวจะเริ่มพัฒนาและผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 มีกำลังผลิตรวม 10 ล้านตัน/ปี จาก 2 โรงงาน โรงงานละ 5 ล้านตัน ส่วนกำลังผลิต LNG ที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและอินเดีย เฉพาะ LNG ส่วนที่นำเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก

ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้ทำสัญญาซื้อขาย LNG กับบริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited ประเทศกาตาร์ ปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี และยังมี LNG จากแหล่งอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างเจรจาอีก 2 ล้านตัน/ปี ขณะนี้ ปตท.เตรียมจัดหา LNG มารองรับความต้องการใช้ภายในประเทศไว้แล้วประมาณ 6-7 ล้านตัน/ปี แต่ยังจำเป็นต้องมีการนำเข้าก๊าซ LNG มารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

"ข้อตกลงที่เกิดขึ้นคือ จะระบุถึงปริมาณซื้อขาย LNG ที่ชัดเจนในช่วงเริ่มต้นการผลิต และที่สำคัญก็คือ คอนเซ็ปต์ของราคา LNG จากแหล่งนี้ ซึ่งในอนาคตแหล่ง Rovuma Area 1 และ Area 4 จะกลายเป็นผู้ผลิตก๊าซ LNG สำคัญของโลก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีปริมาณสำรองสูงถึง 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และเมื่อรวมพื้นที่ทั้งหมดคาดว่าจะมีสำรองสูงถึง 100 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ถือว่าการลงทุนในแหล่งดังกล่าวของ ปตท.สผ. เป็นการเชื่อมโยงการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และจะเน้นการเข้าไปเป็นเจ้าของแหล่งผลิตตั้งแต่ต้นทาง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ปตท. และนโยบายการจัดหาพลังงานของกระทรวงพลังงานด้วย" ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.เตรียมนำรายละเอียดข้อตกลงการซื้อขาย LNG (HOA) กับประเทศโมซัมบิก เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร เร็ว ๆ นี้ โดยสัญญาซื้อขายมีอายุ 20 ปี ปริมาณ 2.6 ล้านตัน ตามความต้องการใช้จริงในปี 2562 นอกจากการนำเข้าจากโมซัมบิก ปตท.สผ.ได้เจรจากับบริษัทผู้ผลิต LNG อีก 2 ราย เพื่อนำมารองรับความต้องการใช้ในช่วงปี 2558


ตามแผนการจัดหา LNG. ภายในปี 2558 จะมีการนำเข้ารวม 5 ล้านตัน หลังปี 2560 ความต้องการจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ล้านตัน ทำให้ ปตท.เตรียมแผนขยายท่าเรือ-คลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) ระยะที่ 2 รองรับนำเข้าได้ถึง 10 ล้านตัน จากปัจจุบันที่รองรับได้ 5 ล้านตัน โดยเร็ว ๆ นี้ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด จะประกาศหาผู้รับเหมาเพื่อขยายท่าเรือนำเข้าก๊าซ LNG

ท่าเรือ-คลังก๊าซ LNG ปัจจุบันมีการนำเข้าก๊าซ LNG (Spot) ประมาณ 70,000-80,000 ตัน/เดือน ทั้งปีนี้จะนำเข้ารวม 1.5-1.7 ล้านตัน ส่วนปีหน้านั้นคาดว่าจะนำเข้ารวม 2 ล้านตัน

"ปตท.พยายามบาลานซ์การซื้อก๊าซ LNG ทั้งแบบสัญญาระยะยาวและระยะสั้น ที่สำคัญจะไม่ซื้อ LNG จากแหล่งใดมากเป็นพิเศษ เพื่อความมั่นคง หากเกิดปัญหาไม่สามารถจัดส่งให้ได้ รวมถึงราคา LNG แบบระยะยาวนั้นจะฟิกซ์ราคายาว บางครั้งการหาซื้อในตลาดอาจจะมีราคาถูกกว่าในบางช่วงจึงต้องบาลานซ์ให้เหมาะสมด้วย"

ที่มา -