ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

พบซากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่หายไปเมื่อ 76 ปี

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 07, 18, 22:33:40 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ทัพสหรัฐฯปลื้ม! พบซากเรือบรรทุกเครื่องบินที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นจมเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกชายฝั่งออสเตรเลีย


การ์เดี้ยน - ภาพถ่ายใต้น้ำของซากเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส เลกซิงตัน ของสหรัฐ (USS Lexington) หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Lady Lex ซึ่งถูกกองทัพญี่ปุ่นจมลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกค้นพบโดยทีมสำรวจของบริษัทวูลแคน ซึ่งเป็นบริษัทของนายวู้ดดี้ อัลเลน มหาเศรษฐีผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ กับนายบิล เกตส์ เป็นผู้สำรวจจนค้นพบซากเรือดังกล่าวนอกชายฝั่่งของออสเตรเลีย

รายงานระบุว่าซากปรักหักพังนี้ถูกค้นพบเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาโดยเรือสำรวจของมหาเศรษฐีอัลเลน โดยซากเรือจมอยู่ใต้ก้นทะเลลึกถึง 3,000 เมตร บริเวณทะเลเคอรัล นอกชายฝั่งของออสเตรเลียประมาณ 800 กิโลเมตร

ทางทีมงานได้เผยแพร่ภาพวิดีโอที่ถ่ายจากยานสำรวจใต้น้ำเผยให้เห็นซากของเรือยูเอสเอส เลกซิงตัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกๆที่มีการสร้างในกองทัพเรือสหรัฐ

นอกจากนั้นในบริเวณใกล้เคียงยังพบซากของเครื่องบินราว 11 ลำ ที่บางลำยังมีสภาพสมบูรณ์อีกทั้งยังเห็นสัญลักษณ์ของกองทัพอากาศสหรัฐได้ชัดเจน

สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินเลกซิงตัน เป็นหนึ่งในฝูงเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่สู้รบกับเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 4 ถึง 8 พฤษภาคม 1942 และได้หายสาบสูญไปหลังจากนั้น เป็นเหตุให้มีทหารเสียชีวิตระหว่างการสู้รบมากกว่า 216 นาย และเครื่องบินอีกราว 35 ลำ ในระหว่างยุทธนาวีทะเลคอรัล

ด้านนายพลเรือ.แฮร์รี แฮร์ริส ผู้บังคับการกองเรือสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก อีกทั้งบิดาของเขายังเป็นหนึ่งในทหารเรือที่เคยสู้รบในยุทธการนี้ ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จของทีมสำรวจของนายอัลเลน พร้อมทั้งกล่าวสดุดีถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า "ในฐานะที่ผมเป็นบุตรชายของผู้รอดชีวิตของเรือยูเอสเอส เล็กซิงตันนี้ ผู้ของแสดงความยินดีต่อทีมค้นหาทุกคน เราเคารพในความกล้าหาญและความเสียสละของลูกเรือ 'Lady Lex 'และชาวอเมริกันทุกคนที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สองโดยการดำเนินการต่อเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพที่พวกเขาได้รับสำหรับพวกเราทุกคน"

ทั้งนี้ ทีมสำรวจของนายอัลเลนยังเคยค้นพบซากของเรือรบในประวัติศาสตร์หลายลำรวมไปถึง ยูเอสเอส อินเดียนาโปลิส ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนหนักของสหรัฐฯที่จมลงในทะเลฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1945 หลังจากถูกยิงโดยตอปิโดจากเรือดำน้ำญี่ปุ่น



ที่มา Data & Images -




พบซากเรือบรรทุกเครื่องบินมะกันจม 76 ปีก่อน

พบซาก "ยูเอสเอส เล็กซิงตัน" เรือบรรทุกเครื่องบิน ที่จมอยู่บนพื้นทะเลคอรัล ลึกลงไปจากผิวน้ำราว 3 กิโลเมตร


ทีมนักวิจัยนำโดย พอล อัลเลน ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟต์ และมหาเศรษฐีใจบุญ ประสบความสำเร็จในการค้นหาซากเรือของกองทัพสหรัฐในสมัยสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พบซาก "ยูเอสเอส เล็กซิงตัน" เรือบรรทุกเครื่องบิน ที่จมอยู่บนพื้นทะเลคอรัล ลึกลงไปจากผิวน้ำราว 3 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย 800 กิโลเมตร พร้อมกับเผยภาพถ่ายและคลิปวิดีโอของซากเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกๆ ของสหรัฐลำนี้ ที่จมลงใต้ทะเลพร้อมกับเครื่องบินบนเรือจำนวนหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

จากภาพที่เผยแพร่แสดงให้เห็นเครื่องบินยังอยู่ในสภาพค่อนข้างดี มีตราประจำกองทัพอากาศสหรัฐบนปีกและที่ตัวเครื่อง และเครื่องบินลำหนึ่งมองเห็นรูปตัวการ์ตูน แมวเฟลิกซ์ นอกจากนี้ยังมองเห็นแผ่นป้าย และปืนต่อสู้อากาศยานที่มีตะไคร่น้ำปกคลุม

เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส เล็กซิงตัน กับ ยูเอสเอส ยอร์กทาวน์ ต่อสู้กับเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่น 3 ลำช่วงวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2485 ในยุทธนาวีทะเลคอรัล ซึ่งเป็นครั้งแรกของสงครามระหว่างเรือบรรทุกเครื่องบินเล็กซิงตันที่มีชื่อเล่น ว่า "เลดี้ เล็กซ์" ถูกเรือรบสหรัฐอีกลำหนึ่งจมลงโดยเจตนาก่อนปิดฉากการสู้รบ

ลูกเรือกว่า 200 คนเสียชีวิตในยุทธนาวีคราวนั้น แต่ส่วนมากได้รับการช่วยเหลือไว้ได้ทันก่อนเรือดำดิ่งลงก้นทะเล

ยูเอสเอส เล็กซิงตัน บรรทุกเครื่องบิน 35 ลำขณะจมลง แต่ทีมวิจัยพบเครื่องบิน 11 ลำ รวมถึงเครื่องบินดักลาส ทีบีดี-1 เดวาสเตเตอร์ส และกรัมแมน เอฟโฟร์เอฟ-3 ไวลด์แคทส์

ที่ผ่านมา เรือวิจัย "เพเทรล" และทีมงานของมหาเศรษฐีอัลเลน ค้นหาจนเจอซากเรือรบประวัติศาสตร์ของสหรัฐแล้วหลายลำ รวมถึงยูเอสเอส อินเดียนาโพลิส ที่อับปางในทะเลฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคม 2488 หลังถูกเรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงจรวดตอร์ปิโดถล่ม



ที่มา Data & Images -







..