ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

คมนาคมจี้แก้ปัญหา เรือไทยไปจดทะเบียนต่างประเทศ

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 09, 13, 21:57:32 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ รมว. คมนาคม เปิดเผยหลังประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอการจัดตั้งกรมส่งเสริมกิจการพาณิชย์นาวี (ส.พ.ว.) โดยแยกออกมาจากกรมเจ้าท่า ว่าเป็นไปได้ยาก เพราะสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) ไม่เห็นด้วย ดังนั้นแนวทางที่เป็นไปได้คงอยู่ภายใต้กรมเจ้าท่า และตั้งรองอธิบดีขึ้นมาดูแลรับผิดชอบโดยตรง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญในด้านนี้ โดยให้ประสานกับสมาคมเจ้าของเรือไทยเพื่อรวบรวมปัญหาที่เป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคของผู้ประกอบการเรือไทย รวมทั้งเหตุผลที่เรือขนส่งสินค้าไม่จดทะเบียนเรือสัญชาติไทย (ชักธงไทย) ต้องเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานี้


ทั้งนี้เมื่อ 11 ปีก่อนมีการยุบรวบสำนักงานกิจการส่งเสริมกาพาณิชย์นาวี (ส.พ.ว.) ซึ่งเทียบเท่าระดับกรม ไปเป็นกองหนึ่งในสังกัดของกรมเจ้าท่า แต่ขณะนี้สมาคมเจ้าของเรือไทยเห็นว่าควรจะแยกออกมาเป็นหน่วยงานต่างหาก เพื่อให้การดำเนินภารกิจต่างๆมีความชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ทาง ก.พ.ร.เห็นว่าภารกิจงานยังไม่มากที่จะแยกเป็นกรมได้ ดังนั้นต้องไปเน้นปรับปรุงการทำงาน และหาแนวทางและสร้างแรงจูงใจที่จะผลักดันให้มีการจดทะเบียนเรือสัญชาติไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องไปแก้ที่ปัญหาหรือข้อจำกัดทั้งมาตรการภาษีหรือเงื่อนไขกฎระเบียบต่างๆ

"เรื่องแก้กฎระเบียบหรือมาตรการภาษีหากจำเป็นก็ต้องทำ ต้องคุยกับกระทรวงการคลัง ส่วนสิทธิพิเศษให้เรือไทยได้สิทธิในการรับจ้างขนสินค้าของหน่วยงานราชการ อาจต้องทบทวน ต่อไปเราจะเปิดเสรีอาเซียน ข้อจำกัดเหล่านี้จะต้องหมดไป เรื่องนี้จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาดูความเป็นไปไดอย่างละเอียด รวมทั้งผลดี-เสียด้วย "

ด้านนายภูมินทร์ หะรินสุต ประธานสมาคมเจ้าของเรือไทย และรองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาช่วยสรุปและรวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจการพาณิชยนาวี จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้เสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับแก้ไข โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีกรมเจ้าท่า สมาคมเจ้าของเรือไทย และสภาหอการค้าไทย คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะทำหนังสือถึงนายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า เพราะปัญหาใหญ่ที่เรือขนส่งสินค้าไม่จดทะเบียนเป็นเรือไทยเพราะมาตรการภาษีต่างๆที่เพิ่มต้นทุนภาระให้กับผู้ประกอบการ ในขณะที่เรือต่างชาติไม่มีภาระในส่วนนี้

สำหรับตัวเลขมูลค่าการขนส่งสินค้าทางเรือ 3 – 4 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าปีละ 5 – 6 หมื่นล้านบาท แต่เม็ดเงินต่างๆไม่ได้เข้าประเทศ เพราะเรือเหล่านี้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นเรือไทย เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือรายใหญ่ทยอยลดการจดทะเบียนเป็นเรือไทย เหลืออยู่เพียงประมาณ 100 ลำ ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็ก ขนาด 2 – 3 พันเดทเวทตันเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นเรือที่รับขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนเรือที่ขนส่งค้าระหว่างประเทศหนีไปจดทะเบียนต่างประเทศ เพราะได้รับการยกเว้นภาษีต่างๆ เช่น การซื้อเรือในสิงค์โปร์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เรือไทยต้องวางเงินสดแม้จะขอคืนในภายหลังได้ แต่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และทำให้ผู้ซื้อเรือมีภาระด้านธุรกรรมทางการเงินด้วย


"มาตรการภาษีของไทยเป็นแบบกั๊กๆ เช่นซื้อเรือมือสอง 1 ลำ ราคา 70 – 80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,100 – 2,400 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและวางเงินสด 140 กว่าล้านบาท เมื่อขอคืนภาษีต้องถูกตรวจสอบและอาจมีการจับผิดเพื่อไม่ให้คืนภาษีอีก ส่วนเรือต่างชาติเข้ามาขนส่งสินค้าในไทยไม่ต้องเสียภาษี แต่เรือไทยต้องเสียภาษี ทำให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่จดทะเบียนเป็นเรือต่างชาติเพราะไม่มีการเรียกเก็บภาษีต่างๆ"

นายภูมินทร์ กล่าวว่า ส.พ.ว.ถูกยุบรวมมาเป็นกองหนึ่งของกรมเจ้าท่า เมื่อ 11 ปีที่แล้ว มีการแยกบุคลากรออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปรวมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และอีกส่วนไปรวมกับกรมเจ้าท่า แต่ปรากฏว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่เคยมีการพัฒนางานด้านนี้ รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกิจการพาณิชย์นาวีก็ลดจำนวนลงจนแทบหาไม่ได้ในหน่วยงานราชการ ส่วนคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย์นาวี ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก็ยังไม่มีการเรียกประชุม สะท้อนให้เห็นว่า งานส่งเสริมพาณิชย์นาวีไม่เคยได้รับความสำคัญ ทำให้ที่ผ่านมาไม่มีการพัฒนาทั้งบุคลากรและการดำเนินงาน

ที่มา -