ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เปิดวิชั่น "สุทธินันท์ หัตถวงษ์" ผอ. ท่าเรือแหลมฉบัง ส่งเสริมศักยภาพขนส่งประเทศ

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 25, 13, 18:08:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สัมภาษณ์พิเศษ

ท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ภาคขนส่งทางน้ำ และถือเป็นหัวใจหลักของระบบลอจิสติกส์ของประเทศ ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพและการเชื่อมต่อการขนส่งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ด้วยเหตุนี้ ทีมข่าว "สยามธุรกิจ" จึงขอโอกาสเข้าสัมภาษณ์ "เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์" ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ถึงแผนการดำเนินงานต่างๆ โดยมีประเด็นดังนี้


+ ภาพใหญ่ของท่าเรือแหลมฉบัง
ภาพใหญ่ของท่าเรือมีแผนจะดำเนินงาน 3 ขั้น โดยขั้นที่ 1 ได้เปิดให้บริการเต็ม 100% รอง รับตู้สินค้าได้ประมาณ 4 ล้านทีอียู/ปี รถยนต์ 1 ล้านคัน/ปี และท่าน้ำตาล 1 ล้านตัน/ปี ส่วนขั้นที่ 2 เปิดให้บริการแล้ว 50% สามารถรองรับตู้สิน ค้าได้จำนวน 6.8 ล้านทีอียู/ปี รถยนต์ 1 ล้านคัน/ปี และสินค้าทั่วไป 2 แสนตัน/ปี รวมขั้นที่ 1 และ 2 สามารถรองรับสินค้าได้ 10.8 ล้านทีอียู/ปี สำหรับขั้นที่ 3 อยู่ระหว่างการศึกษา

+ ความคืบหน้าท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3
จากการคาดการณ์ที่ผ่านมาท่าเรือแหลมฉบังมีการเติบโตปีละ 10% ตลอดการเปิดดำเนินการมา 20 ปี แต่การขนส่งสินค้ามา สะดุดในปี 2552 จากวิกฤติเศรษฐกิจทาง ฝั่งของอเมริกาและยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบ ไปทั่วโลกจนส่งผลให้สินค้าลดลง หลังจากนั้นปี 2553 เศรษฐกิจเริ่มกลับมาบวก 10% เช่นเดิม แต่พอมาปี 2555 ก็ต้องมาเจอผลพวงจากวิกฤติน้ำท่วมเมื่อปลาย ปี 2554 ส่งผลให้ปริมาณตู้สินค้าลดเหลือเพียง 3% ส่วนปี 2556 คาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเติบโตประมาณ 3-4% เนื่องจากมีมรสุมด้านเศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องชะลอแผนท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ออก ไปก่อน เดิมทีจะเริ่มก่อสร้างปี 2558 และเปิดให้บริการปี 2563 อาจจะต้องขยับไปก่อน และจะเริ่มก่อสร้างเมื่อมีความจำเป็น เพราะตัวเลข ตั้งต้นเริ่มเปลี่ยนไปจึงต้องมาคาดการณ์กันใหม่

"ยังไม่มีความจำเป็นต้องก่อสร้างท่าเรือขั้นที่ 3 ให้ตากแดดตากลมไว้ เพราะตัวเลข 3% เริ่มติดต่อกันแล้ว 2 ปี เราต้องวางแผนตามความจำเป็นของปริมาณสินค้า เพื่อรักษาเงินของแผ่นดินไว้ให้คงนาน ที่สุด และไม่ให้สูญเสียโดยใช่เหตุ ดังนั้นจึงต้องใช้ทรัพยากรตรงนี้ให้คุ้มค่ามากที่สุด"

+ แผนส่งเสริมการขนส่งของประเทศ
สำหรับโครงการที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพการขนส่งของประเทศ คือ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่งของท่าเรือแหลมฉบัง บริเวณท่าเทียบเรือเอ วงเงิน 1,959.49 ล้านบาท และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ วงเงิน 3,062.65 ล้านบาท เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติเร็วๆ นี้ ทั้ง 2 โครงการ การ ท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จะเป็นผู้ลงทุน หาก ดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยลดต้นทุนลอจิสติกส์ เพิ่ม สัดส่วนการขนส่งทางน้ำ และรางมากขึ้น คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2558

"การก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง เพราะปัจจุบัน ไม่มีท่าเทียบเรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ เรือชายฝั่งต้องใช้ร่วมกับท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ เมื่อตารางเวลาเรือเทียบท่าเต็ม เรือชายฝั่งต้องรอเทียบ ท่า บางครั้งต้องใช้เวลารอนานถึง 7-8 วัน มีค่าใช้จ่ายในการยกขนสินค้าซ้ำซ้อน เมื่อมีท่าเทียบเรือชาย ฝั่งแล้วจะช่วยลดเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้"

นอกจากนี้ ท่าเรือชายฝั่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งได้รวด เร็วมากขึ้น ท่าเรือชายฝั่งแห่งนี้เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งประเทศในแถบอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงจะเข้ามาใช้บริการมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะเพิ่มมูลค่าการขนส่งเป็น 10 ล้านตันต่อปี

สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ตั้งอยู่บริเวณโซน 4 ท่าเรือแหลมฉบัง พื้นที่ 600 ไร่ ระยะแรกดำเนินการ 370 ไร่ รองรับตู้สินค้าได้ปีละ 2 ล้านทีอียู จะติดตั้งเครื่องมือยกขนชนิดปั้นจั่นเดินบนราง ซึ่งจะใช้เวลาในการยกขนตู้สินค้าทางรถไฟได้เร็วขึ้นจากเดิมที่ยกขนตู้สินค้าได้เพียงด้านเดียว ส่งผลให้ขบวนรถไฟต้องเสียเวลาจอดรอ กระทบต่อการหมุน เวียนการใช้งานของขบวนรถไฟ ขณะเดียวกันยัง จะเพิ่มรางจอดรถไฟด้วยโครงการดังกล่าวผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจของโครงการอยู่ที่ 23.15% เบื้องต้นจะจ้างเอกชนบริหารทั้ง 2 โครงการ


+ อันดับโลกท่าเรือแหลมฉบัง
ปัจจุบันอันดับโลกอยู่ที่ 23 ซึ่งการมาตรวจเยี่ยมของท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้อง ชีวานันท์Ž พร้อมจะให้การสนับสนุน และตั้งเป้าหมายผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าสูงสุดเป็นอันดับที่ 19 ของโลก ภายในปี 2558 โดยท่าเรือแหลมฉบังมีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าอยู่ที่ 5.73 ล้านทีอียู ขณะที่ท่าเรือที่มีปริมาณสินค้าผ่านท่ามากที่สุด คือท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ของจีน จำนวน 32.53 ล้านทีอียู รองลงมาเป็นท่าเรือสิงคโปร์ 31.26 ล้านทีอียู

+ แผนแก้ไขปริมาณจราจรท่าเรือ
การจราจรในปีหนึ่งที่ผ่านมามีปัญหามากจึงเริ่มทำแผนเร่งด่วน หลังจากนั้นท่าเรือแหลมฉบังได้ดำเนินการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในระยะเร่งด่วน ทั้งถนนเข้า-ออกท่าเรือ หน้าประตู ตรวจสอบสินค้า และภายในเขตรั้วศุลกากร โดย ได้ปรับปรุงประตูตรวจสอบสินค้า ปัจจุบันรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคันต่อวันผ่านเข้าออกได้คล่องตัวขึ้น รวมถึงใช้เวลาในการดำเนินการในเขตท่าเรือ (Truck Turnaround Time) ตามเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ยไม่เกิน 25 นาทีในหลายท่า แต่ยังมีบางช่วงเวลาที่ยังใช้เวลาเกิน 25 นาทีบ้าง จากเดิม 1-2 ชม. ซึ่งจะเพิ่มเครื่องมือในการให้บริการเพื่อความรวดเร็วขึ้น

ส่วนในระยะต่อไป คือ โครงการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและภายนอกเขตท่าเรือฯ เช่น ขยายประตูเข้าท่าเรือ และขยายถนนและทางยกระดับ (Over Pass) วงเงินลงทุน ประมาณ 940 ล้านบาท (ดำเนินการ 3 ปี 56-58) ซึ่งได้เปิดประกวดราคาแล้วแต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ โดยอ้างว่าราคากลางต่ำกว่าราคาตลาด 30-40% ไม่สามารถดำเนินการได้จริง ซึ่งกำลังตรวจสอบข้อมูลว่าราคากลางที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่ และต้องยอมรับการกำหนดราคากลางค่อนข้างเข้มข้น เนื่องจาก กทท.ไม่มีความเชี่ยวชาญงานก่อสร้างถนนหรือทางยกระดับ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคาใหม่ 

ที่มา -