ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เลือกได้ดี แต่ควรเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ โถสุขภัณฑ์

เริ่มโดย airrii, ก.ย 20, 24, 11:24:58 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

airrii



ทำความรู้จักกับประเภทของสุขภัณฑ์ ที่มีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ แต่ควรเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ บทความนี้ สรุปจุดเด่นมาให้แล้วแบบครบจบ

     ห้องน้ำ พื้นที่สำคัญที่บ้านและคอนโดทุกแห่งต้องมี ซึ่งหากใครเคยมีโอกาสไปเดินชมสินค้าในร้านขายสุขภัณฑ์ ก็จะรู้ว่าสุขภัณฑ์หรือ โถชักโครก มีให้เลือกหลากหลายประเภทมากกว่าที่คิด แต่ในการเลือกซื้อสุขภัณฑ์สำหรับห้องน้ำ นอกจากจะต้องเลือกจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้และมีรูปแบบที่สวยงามเหมาะกับสไตล์การตกแต่งห้องน้ำของคุณแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือต้องตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้านด้วย แล้วประเภทของสุขภัณฑ์มีกี่แบบ และแต่ละแบบมีคุณสมบัติเด่นอย่างไรบ้าง สำหรับคนที่กำลังพิจารณาเลือกสุขภัณฑ์ใหม่ เราได้รวบรวมเรื่องราวของสุขภัณฑ์ไว้ให้แล้วในบทความนี้
 
ประเภทของสุขภัณฑ์แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน
     ในการแบ่งประเภทของสุขภัณฑ์นั้น เราสามารถใช้เกณฑ์การแบ่งได้หลายแบบ อย่างแรกคือการแบ่งตามรูปแบบการใช้งานซึ่งเราสามารถเห็นความแตกต่างได้ด้วยตาเปล่า นั่นก็คือสุขภัณฑ์แบบนั่งราบและสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง โดยสุขภัณฑ์ทั้ง 2 ประเภทก็มีคุณสมบัติและจุดเด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. สุขภัณฑ์แบบนั่งยอง
     สุขภัณฑ์แบบนั่งยองหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า 'คอห่าน' เป็นสุขภัณฑ์ที่ใช้กันมาเป็นเวลานาน ในประเทศไทย สุขภัณฑ์แบบนี้มีจุดกำเนิดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2467 และมีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนเป็นสุขภัณฑ์นั่งยองที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน วิธีใช้งานคือผู้ใช้จะต้องย่อตัวลงนั่งยอง ๆ เพื่อขับถ่าย หลังจากนั้นจึงใช้น้ำตักราดเพื่อชำระล้าง หรือบางแห่งอาจใช้ร่วมกับฟลัชวาล์วเพื่อกดชำระล้าง ซึ่งแม้ว่าสุขภัณฑ์ประเภทนี้จะมีราคาถูกกว่าสุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนักในปัจจุบัน เนื่องจากไม่เอื้อต่อการใช้งานในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม เพราะไม่สามารถย่อตัวลงไปนั่งยองเพื่อขับถ่ายได้ อีกทั้งการชำระล้างด้วยการตักน้ำราดยังทำให้ห้องน้ำเปียกอยู่ตลอดเวลา พื้นลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และพื้นห้องน้ำที่เฉอะแฉะยังเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ตลอดจนเป็นที่สะสมของแหล่งเชื้อโรคอีกด้วย


2. สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ
     สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ มักถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'ชักโครก' ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะการใช้งานจะเป็นแบบนั่งราบไปบนโถเหมือนกับการนั่งบนเก้าอี้ ด้านหลังมีถังเก็บน้ำสำหรับชำระล้างติดตั้งอยู่ ด้วยความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งานสำหรับทุกช่วงวัย ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และประหยัดน้ำได้มากกว่าสุขภัณฑ์นั่งยอง ทำให้สุขภัณฑ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถูกพัฒนาต่อยอดเรื่อยมา อาทิ การเพิ่มเทคโนโลยีช่วยประหยัดน้ำ ไปจนถึงการคิดค้นสุขภัณฑ์อัตโนมัติที่เราพบเห็นกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมาพร้อมกับระบบก้านฉีดชำระในตัว


 
ประเภทของสุขภัณฑ์แบ่งตามลักษณะของโถส้วม
     อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าสุขภัณฑ์นั่งราบนั้น สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายกว่าสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบัน โถชักโครกแบบนั่งราบก็ถูกแบ่งประเภทแยกย่อยออกไปอีกหลายประเภท เราจึงสามารถแบ่งประเภทของสุขภัณฑ์นั่งราบตามลักษณะของโถได้ ดังนี้

1.สุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece Toilet)
     คือสุขภัณฑ์ที่รวมทั้งตัวโถและถังสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในชิ้นเดียว ทำให้เป็นสุขภัณฑ์ที่มีดีไซน์เรียบหรู ไร้รอยต่อ หมดปัญหาน้ำรั่วซึม มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และอุปกรณ์น้อยชิ้น ทำให้ติดตั้งได้ง่ายกว่าสุขภัณฑ์ประเภทอื่น แต่จะมีราคาสูงกว่าสุขภัณฑ์แบบสองชิ้น หรือหากมีอุปกรณ์ใดที่ชำรุดเสียหายก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่แบบยกชุด จึงควรมีการดูแลรักษาตรวจสอบอุปกรณ์ของสุขภัณฑ์ชิ้นเดียว อย่างสม่ำเสมอ สำหรับการใช้งานในระยะยาว

2.สุขภัณฑ์แบบสองชิ้น (Two Piece Toilet / Close Coupled Toilet)
     โถสุขภัณฑ์สองชิ้น มีลักษณะคล้ายกับสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว แต่ถังเก็บน้ำกับตัวโถจะแยกออกจากกัน จึงมีรอยต่อระหว่างตัวโถและถังพักน้ำ สามารถต่อท่อน้ำทิ้งได้ทั้งแบบต่อลงพื้น (S-Trap) หรือแบบต่อออกผนัง (P-Trap) ซึ่งการติดตั้งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของหน้างานนั้นๆ โถชักโครกแบบสองชิ้นเป็นสุขภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาก ราคาไม่แพง กรณีที่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดชำรุด ก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ทั้งชิ้น ง่ายต่อการดูแลรักษา แต่อาจมีขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่าสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว ทำความสะอาดยากกว่าเพราะมีหลายชิ้นส่วน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างตัวโถและถังพักน้ำ ซึ่งมักมีสิ่งสกปรกเข้าไปสะสมอยู่ อุปกรณ์ทำความสะอาดอาจเข้าถึงได้ยาก และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้



3. สุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall Hung Toilet)
     โถสุขภัณฑ์แขวนผนังจะถูกติดตั้งด้วยการยึดติดกับหม้อน้ำซ่อนผนังพร้อมโครงเหล็กที่ทำหน้าที่ยึดโถเข้ากับกำแพงอีกชั้นหนึ่ง แล้วปิดทับด้วยการก่อปูน ปูกระเบื้องให้เรียบร้อย เป็นการซ่อนระบบท่อน้ำและถังพักน้ำเอาไว้ด้านในผนัง ทำให้เห็นแค่โถสุขภัณฑ์และปุ่มกดชำระล้างเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่ายทั้งตัวโถและพื้นด้านล่าง ดูหรูหรา สวยงาม แต่มีราคาสูงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่างผู้ติดตั้งเป็นพิเศษ

4. สุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Wall Faced Toilet)
     อีกหนึ่งประเภทของสุขภัณฑ์ที่นิยมใช้กันในครัวเรือน ประกอบด้วยโถสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น ถังพักน้ำแบบซ่อนผนัง และที่กด ลักษณะคล้ายกับสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง แต่ระบบท่อน้ำของสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นสามารถต่อได้ทั้งแบบต่อลงพื้น (S-Trap) และแบบต่อออกผนัง (P-Trap) หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่หากติดตั้งไม่ดี อาจเกิดการรั่วซึมได้ อีกทั้งการที่ไม่เห็นถังพักน้ำ ช่วยให้ห้องน้ำของคุณดูโดดเด่น มีสไตล์มากยิ่งขึ้น

5. สุขภัณฑ์แบบอัตโนมัติ (Smart Toilet / Automatic Toilet)
     สุขภัณฑ์ประเภทสุดท้าย เป็นประเภทของสุขภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในระยะหลัง สุขภัณฑ์อัตโนมัติ หรือโถสุขภัณฑ์อัจฉริยะมาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานอัตโนมัติ เช่น ระบบก้านฉีดชำระทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ระบบชำระล้างทรงพลัง ทำความสะอาดสิ่งสกปรกโดยใช้น้ำน้อยลง ระบบทำความสะอาดของสุขภัณฑ์โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี อีกทั้งฟังก์ชันอัตโนมัติยังช่วยลดการสัมผัสเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย สะดวกสบายและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุก็ตาม แต่สุขภัณฑ์ประเภทนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน จึงควรเลือกซื้อสุขภัณฑ์อัตโนมัติจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย อีกทั้งยังต้องติดตั้งด้วยความระมัดระวัง โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้หากกำลังอยู่ในระหว่างการเลือกซื้อบ้านใหม่ หรือรีโนเวทห้องน้ำ และอยากใช้งานชักโครกอัตโนมัติ ควรเตรียมหน้างานให้มีการเดินสายไฟสำหรับใช้งานในห้องน้ำไว้ล่วงหน้า เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน และมาแก้พื้นที่หน้างานภายหลังได้ลำบาก อาจทำให้ห้องน้ำของคุณไม่สวยงาม