ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

กระทรวงพลังงานสั่ง ปตท. เร่งศึกษาคลังแอลเอ็นจี เฟส 3

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 25, 13, 22:08:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ก.พลังงาน 24 ต.ค. 56 - นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดแถลงถึงภารกิจหลังการเข้ามารับตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงานว่า  นโยบายจะเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านพลังงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติ โดยตามแผนจะดำเนินการทั้งเรื่องลดการใช้พลังงาน การส่งเสริมพลังงานทดแทน และการจัดหาพลังงานให้มั่นคงเพียงพอ โดยในส่วนของการลดใช้พลังงานจะมีการดำเนินการด้วยการใช้กองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานปีละประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท ด้านพลังงานทดแทนจะส่งเสริมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าต้นแบบหญ้าเนเปียร์ 12 แห่งจะให้เกิดได้ในปี 2557


สำหรับความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าที่น่าเป็นห่วงคือประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงถึงร้อยละ70 แผนระยะสั้นเร่งด่วน ต้องพร้อมรับมือการหยุดซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติแหล่งเยตากุน ในสหภาพเมียนมาร์ระหว่าง 25 ธันวาคม 56 - 8 มกราคม 57 ที่จะต้องไม่ส่งผลกระทบให้เกิดไฟฟ้าดับซ้ำรอยไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้ 21 พ.ค. 56 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ บมจ.ปตท.ไปเร่งสรุปหาพื้นที่สร้างคลังนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยให้ศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไปพร้อมกัน เพื่อรองรับการนำเข้า LNG ระยะที่ 3 อีก 5 ล้านตันรวมเป็น 15 ล้านตัน ซึ่ง ปตท. แจ้งว่าต้องการสร้างที่นิคมฯ มาบตาพุดเดิมเพื่อที่จะทำให้การขนถ่ายเชื่อมโยงกันและก่อสร้างได้เร็วขึ้น แต่กองทัพเรือเป็นห่วงความมั่นคงเพราะหากพื้นที่แอลเอ็นจีอยู่จุดเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายมหาศาลได้หากมีการก่อการร้ายขึ้น ดังนั้น จึงให้ศึกษาพื้นที่อื่นรวมทั้งการเตรียมพร้อมทั้งการนำเข้า การสั่งซื้อ การจองเรือขนถ่ายแอลเอ็นจี เพราะจะต้องใช้เรือขนส่งเป็นจำนวนมากในอนาคต


สำหรับการนำเข้า LNG ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) 2010 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จะต้องนำเข้าเมื่อสิ้นสุดแผนปี 2573 สูงถึง 23 ล้านตัน เพื่อรองรับกำลังผลิตไฟฟ้าที่จะสูงถึง 70,000  เมกะวัตต์ ซึ่งการก่อสร้างคลังขณะนี้เพิ่งเริ่มจะเข้าสู่เฟส 2 หรือ 10 ล้านตัน ที่มาบตาพุดหรือลงทุนรวมแล้ว 50,000 ล้านบาท ถือเป็นเรื่องที่จะต้องเร่งวางแผนรับมือเพื่อให้การจัดหาที่เพียงพอโดยยอมรับว่าการลงทุนสร้างคลังต้องใช้เงินลงทุนสูงแล้วยังต้องจัดหากองเรือในการขนถ่ายไม่น้อยกว่า 50 ลำ ซึ่งเรือ 1 ลำมีมูลค่าสูงถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ และการผลิตมีเพียง 5 ประเทศทั่วโลกการสั่งจองใช้เวลา 3-4 ปี  ดังนั้นต้องเร่งทำสัญญาระยะยาว เพราะปัจจุบัน  ปตท.มีสัญญาระยะยาวกับกาตาร์แค่ 2 ล้านตันเท่านั้น

ที่มา -