ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เล็งดันไทยเป็นศูนย์กลางต่อเรือฯ สร้างรายได้ทะลุ 5 หมื่นล. จ้างงาน 1.3 แสนคน

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 25, 13, 22:13:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ชี้อนาคตไทยศูนย์กลางต่อเรือฯ สร้างรายได้ทะลุ 5 หมื่นล้านบาท  สร้างงานกว่า 1.3 แสนคน เผย ธุรกิจน้ำมันต้องการสร้าง-เปลี่ยนเรือรุ่นใหม่จำนวนมาก ร่วมเป็นหนึ่งในงาน "อนาคตเศรษฐกิจไทย ภายใต้ประชาคมอาเซียน"


นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  เปิดเผยว่า ในเวลาไม่ถึง 2 ปี ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)อย่างสมบูรณ์  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนต้องเตรียมความพร้อมรับการแข่งขันการค้าเสรีทั้งการเป็นฐานการผลิต ตลาดการค้าและการลงทุนเดียวกัน ภายใต้นโยบายนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ต้องการให้ทุกภาคส่วนรับรู้ ส่งเสริมการเกิดธุรกิจใหม่และการขยายตัวของธุรกิจเดิม การสร้างนวัตกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและการซ่อมเรือในไทยเป็น 1 ใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรม(คลัสเตอร์)ที่ไทยจะผลักดัน เนื่องจากมีศักยภาพสูง แนวโน้มและลู่ทางตลาดสดใส

"ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร มีความยาวของ ชายฝั่งทะเลสิ้นกว่า 2,815 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด อุตสาหกรรมต่อเรือฯนี้เป็นภาคการผลิตที่เป็นส่วนของโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงทางสมุทธานุภาพของประเทศในระยะยาวและเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างรายได้ภาคบริการระบบการขนส่งทางน้ำที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบโลจิสติกส์ กิจการพาณิชย์นาวีของประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมากกว่า90%  ต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำ" นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า อีกทั้งยังก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานจำนวนมาก รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น เหล็ก เครื่องจักรกล สีและเคมีภัณฑ์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์และวัสดุตกแต่ง เป็นต้น ในแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาล ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบกิจการอู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทยทั้งสิ้น 306 ราย มีการจ้างงานราว 1 แสนคน

ทั้งนี้ภาคเอกชนได้ประเมินไว้ว่า อุตสาหกรรมต่อเรือฯมีอนาคตที่สดใสมาก โดยล่าสุดจากข้อกำหนดตามอนุสัญญา MARPOL : Regulation 13G, 13F โดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ(IMO)รวมทั้งข้อบังคับการเข้ารับน้ำมันจากคลังน้ำมันในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับให้เรือขนส่งน้ำมันจะต้องมีเปลือกเรือ 2 ชั้น ประกอบกับกองเรือขนส่งน้ำมันชายฝั่งของไทย ซึ่งมีเขตการเดินเรือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขนาดเรือ 500 - 5,000 DWT จำนวน 190 ลำนั้น พบว่าประมาณ 113 ลำ มีอายุการใช้งานเกิน 25 ปีและเป็นเรือน้ำมันปริเภทเปลือกเรือชั้นเดียว จึงต้องเปลี่ยนเป็นเรือน้ำมันประเภทเปลือกเรือ 2 ชั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีมากของอุตสาหกรรมต่อเรือฯของไทย หากได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายและมาตรการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ เพื่อได้มีโอกาสให้อุตสาหกรรมฯนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทันกับประเทศเพื่อนบ้าน

"หากได้โอกาสนี้จะส่งผลให้มีการรวมกลุ่ม สร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการต่อเรือทั้งระบบลดลง สร้างระดับการแข่งขันกับต่างประเทศได้ อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ควบคู่กับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย หรือ ประเทศเกาหลีที่มีรากฐานมาจากอุตสาหกรรมต่อเรือแล้ว พัฒนาอย่างก้าวกระโดยไปสู่อุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ เรือจำนวน 113 ลำนี้ แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุน อุตสาหกรรมฯนี้จะตกอยู่มือของอู่ต่อเรือต่างประเทศ ทำให้ไทยสูญเสียเงินตราสูงถึง 39,550 ล้านบาทและกระทบต่อการจ้างงานทางตรงมีมูลค่า 11,865 ล้านบาท หรือ คิดเป็นแรงงานรวม 131,183 คนต่อปี ทั้งนี้ยังไม่รวมการจ้างงานที่เกิดจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศ ตลอดจนสูญเสียโอกาสในการพัฒนาบุคลากรเฉพาะ  "

นายวิรัตน์ ชนะสิทธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยว่า ปัจจุบันธุรกิจต่อเรือและซ่อมเรือซบเซาต่อเนื่องมายาวนานกว่า 5 ปีแล้ว เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจ โลก คาดว่าอุตสาหกรรมต่อเรือน่าจะฟื้นตัวในปีหน้าตามเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น จะมีการลงทุนในการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มปตท.มีแผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้ากว่า 9 แสนล้านบาท, ความต้องการเรือให้บริการสำหรับแท่นเจาะน้ำมันในทะเล ในอนาคตเพิ่มขึ้น  กลุ่มเรือที่มีศักยภาพในการเติบโตระดับสูง ดังนั้นเรืองที่มีศักยภาพ ได้แก่ เรือให้บริการสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือขนส่งน้ำมันชายฝั่งในประเทศ เรือขนส่ง เรือขนส่งในลำน้ำ เรือท่องเที่ยวและสำราญกีฬา

ร่วมเป็นหนึ่ง เพื่อสร้างแข็งแกร่งไปกับกระทรวงพาณิชย์ พบอีก 11 คลัสเตอร์ อาทิ อาหาร แฟชั่น &ไลฟ์ สไตล์, สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, ก่อสร้างและวัสดุ ที่จะเผยให้เห็นศักยภาพของไทยในงาน "อนาคตเศรษฐกิจไทย ภายใต้ประชาคมอาเซียน" ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์ราชการ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.moc.go.th หรือ โทร 1169

ที่มา -




สอท. ลุ้นธุรกิจต่อเรือฟื้นปีหน้า หลังซบเซายาวนาน 5 ปี

สอท.ลุ้นธุรกิจต่อเรือฟื้นปีหน้า หลังซบเซายาวนาน5ปี พาณิชย์เชื่อสดใสรับ AEC


นายวิรัตน์ ชนะสิทธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือ และซ่อมเรือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)?เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจต่อเรือและซ่อมเรือซบเซาต่อเนื่องมายาวนานกว่า 5 ปีแล้ว เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก คาดว่าอุตสาหกรรมต่อเรือน่าจะฟื้นตัวในปีหน้าตามเศรษฐกิจโลก และจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจะจูงใจให้มีการลงทุนในการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มปตท.มีแผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้ากว่า 9 แสนล้านบาท ความต้องการเรือให้บริการสำหรับแท่นเจาะน้ำมันในทะเลในอนาคตเพิ่มขึ้น?กลุ่มเรือที่มีศักยภาพในการเติบโตระดับสูง?ดังนั้นเรือที่มีศักยภาพ ได้แก่ เรือให้บริการสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือขนส่งน้ำมันชายฝั่งในประเทศ เรือขนส่ง เรือขนส่งในลำน้ำ เรือท่องเที่ยวและสำราญกีฬา

ด้าน นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ?กล่าวว่า อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ และการซ่อมเรือ

ในไทยยังเป็น 1 ใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรม(คลัสเตอร์)ที่ไทยจะผลักดัน เนื่องจากมีศักยภาพสูง แนวโน้มและลู่ทางตลาดสดใส โดยเฉพาะในปี 2558 หรือในเวลาไม่ถึง 2 ปี ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)อย่างสมบูรณ์ ขณะที่?นายนิวัฒน์ธำรง?บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ต้องการให้ทุกภาคส่วนรับรู้ ส่งเสริมการเกิดธุรกิจใหม่และการขยายตัวของธุรกิจเดิม การสร้างนวัตกรรม ซึ่ง "ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร มีความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งสิ้นกว่า 2,815 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด อุตสาหกรรมต่อเรือฯนี้เป็นภาคการผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงทางสมุททานุภาพของประเทศในระยะยาวและเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างรายได้ภาคบริการระบบการขนส่งทางน้ำที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบโลจิสติกส์ กิจการพาณิชย์นาวีของประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมากกว่า 90% ต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำ"

นางนันทวัลย์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบกิจการอู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทยทั้งสิ้น 306 ราย มีการจ้างงานราว 1 แสนคน และภาคเอกชนยังประเมินว่า อุตสาหกรรมต่อเรือฯมีอนาคตที่สดใสมาก โดยล่าสุดจากข้อกำหนดตามอนุสัญญา MARPOL : Regulation 13G, 13F?โดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ(IMO)รวมทั้งข้อบังคับการเข้ารับน้ำมันจากคลังน้ำมันในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับให้เรือขนส่งน้ำมันจะต้องมีเปลือกเรือ 2 ชั้น ประกอบกับกองเรือขนส่งน้ำมันชายฝั่งของไทย ซึ่งมีเขตการเดินเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขนาดเรือ 500-5,000 DWT จำนวน 190 ลำนั้นพบว่าประมาณ 113 ลำ มีอายุการใช้งานเกิน 25 ปี และเป็นเรือน้ำมันประเภทเปลือกเรือชั้นเดียว จึงต้องเปลี่ยนเป็นเรือน้ำมันประเภทเปลือกเรือ 2 ชั้น

"หากได้โอกาสนี้จะส่งผลให้มีการรวมกลุ่ม สร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง?ส่งผลให้ต้นทุนการต่อเรือทั้งระบบลดลง สร้างระดับการแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุน อุตสาหกรรมฯนี้จะตกอยู่ในมือของอู่ต่อเรือต่างประเทศ"?นางนันทวัลย์ กล่าว

ที่มา -