ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

โรงไฟฟ้าถ่านหิน MANJUNG โมเดลอยู่ร่วมชุมชนที่ กฟผ.วาดหวัง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 08, 13, 19:30:25 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เร่งเครื่องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการจะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ว่าจะเป็น 1) อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) อำเภอคลองรั้วจังหวัดกระบี่ และ 3) จังหวัดสตูล พร้อมกับการศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดแมนจุง MANJUNG หรือ Janamanjung ของประเทศมาเลเซีย บริษัท TNB Janamanjung Sdn Bhd.(TNBJ) บริษัทในเครือของการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB)


โรงไฟฟ้าถ่านหินแมนจุงเกิดขึ้นจากการถมที่ดินชายฝั่งทะเล รวมพื้นที่ 1,820 ไร่บนเกาะแมนจุง บริเวณนอกชายฝั่งเมือง Lekir เขตรัฐเปรัก ปัจจุบันเดินเครื่องผลิตไฟฟ้ารวม 2,100 เมกะวัตต์ รวม 3 ยูนิต เงินลงทุนประมาณ 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างยูนิตที่ 4 เพิ่มกำลังผลิตอีก 700 เมกะวัตต์โดยวางเป้าหมายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นี้สูงสุดที่ 3,000 เมกะวัตต์หรือจะมีรวมทั้งสิ้น 5 ยูนิต

โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ถ่านหินประเภทบิทูมินัสและซับบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง นำเข้าถ่านหินจากรัฐกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงออสเตรเลียและจากแอฟริกาใต้ กำลังผลิตทั้งหมดจะส่งผ่านสายส่งขนาด 500 KV ป้อนความต้องการแก่ผู้ใช้ในหลายรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียโรงไฟฟ้าทั้ง 3 ยูนิตในปัจจุบันเดินเครื่องต่อเนื่อง และเพื่อความมั่นคงได้สต๊อกถ่านหินไว้ประมาณ 1.5 เดือนในขณะที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงรวมอยู่ที่ 6 ล้านตัน/ปี หรือ 20,000 ตัน/วัน

โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีมาตรฐานการผลิตที่ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะในจังหวัดลำปางของ กฟผ. คือ มีทั้งระบบดักจับฝุ่นละอองต่าง ๆ ใช้ถ่านหินคุณภาพสูง เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตจะปล่อยมลพิษออกมาน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ หรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่ามาตรฐานกำหนด (ใช้มาตรฐาน DOE) ที่ธนาคารโลกกำหนด มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศถึง 3 จุดโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าที่ระยะห่าง 3-5 กิโลเมตร มีสถานีตรวจวัดความเป็นกรดของฝน, ตัวมอนิเตอร์วัดค่าคุณภาพน้ำ, ตัวดักจับน้ำมัน และบ่อเก็บขี้เถ้า ทั้งที่สามารถจำหน่ายต่อให้กับอุตสาหกรรมผลิตซีเมนต์ และที่จำหน่ายไม่ได้ ปัจจุบันบ่อเก็บขี้เถ้าใช้พื้นที่ไปเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น

Mr.SHAMSUL AHMAD ผู้จัดการโรงไฟฟ้าแมนจุง กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโรงไฟฟ้าแมนจุงมาจากทำเลที่ตั้งเหมาะสมที่สุด เพราะสะดวกในการขนส่งถ่านหินนำเข้า เนื่องจากใกล้ทะเลที่เป็นทะเล

น้ำลึก สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ระดับ 150,000 ตัน และสามารถผันน้ำทะเลเพื่อใช้ในระบบหล่อเย็นได้ด้วย ก่อนที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้ามีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างโรงไฟฟ้าและชุมชน และที่ผ่านมาชุมชนไม่ได้มีการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า แต่มองว่าโรงไฟฟ้าทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับพื้นที่ เพราะตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2542 ส่งผลให้เมืองอีโปห์ (Ipoh) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเกิดการลงทุนในพื้นที่มากขึ้น

การขนส่งถ่านหินจะมีการสร้างสายพานยาวพร้อมสายพาน (Jetty) ออกไปในทะเลเพื่อรับถ่านหินที่ขนถ่ายจากเรือใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 1.2 กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวจะถูกประกาศห้ามทำการประมง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออาชีพประมง เพราะพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมเพราะเป็นทะเลน้ำตื้น และในพื้นที่ฝั่งมีเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กน้อยเท่านั้น


"โรงไฟฟ้าเดินเครื่องมาหลายปี แต่ไม่ได้รับรายงานว่ามีคนในพื้นที่ป่วยเพราะมลพิษจากโรงไฟฟ้า และที่ผ่านมามีโครงการเชิง CSR เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น การจัดแข่งขันกีฬา หรือแม้แต่การแจกสิ่งของที่จำเป็น ส่วนระบบหล่อเย็นที่มีการผันน้ำทะเลเข้ามาใช้ในพื้นที่โรงไฟฟ้าจะต้องเข้าสู่บ่อพัก เข้ากระบวนการบำบัดก่อนที่จะถูกส่งผ่านไปตามท่อเพื่อปล่อยลงสู่ทะเลตามเดิมในพื้นที่น้ำลึก ซึ่งอุณหภูมิน้ำจะไม่กระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล"

สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแมนจุงเป็นแบบอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่อัตรา 2.10 บาท/หน่วย ไปจนถึง 4 บาท/หน่วย การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ต้นทุนค่อนข้างคงที่และไม่ผันผวนเหมือนกับราคาก๊าซธรรมชาติที่ต้องอิงราคาน้ำมันตลาดโลก ราคาถ่านหินนำเข้าปัจจุบันอยู่ที่ 90 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ซับบิทูมินัส) ก่อนหน้านี้ราคาถ่านหินได้ปรับเพิ่มขึ้นไปค่อนข้างสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากความต้องการใช้ถ่านหินในประเทศจีนเพิ่มขึ้น ทางบริษัท TNBJ เคยยื่นขอปรับเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าต่อภาครัฐ แต่ก็ไม่สามารถปรับได้เพราะไม่ต้องการให้กระทบค่าครองชีพของประชาชน

ที่มา -