ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

“คมนาคม”เตรียมสอบข้อเท็จจริงส่วยท่าเรือ อัดกลับสหภาพฯ ดูตัวเองรับจริงหรือไม่

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 10, 13, 20:26:47 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"ชัชชาติ"เตรียมตั้งกก.สอบส่วยท่าเรือ หลังถูกผู้ประกอบการแฉจ่ายส่วยค่าบริการตู้ละ 300 บาท ชี้ สหภาพฯกทท.บรรลุเป้าหมายขับไล่"วิโรจน์"จนลาออกแล้ว จากนี้ต้องหันมามองตัวเองว่า มีส่วยจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ส่วนค่าโอทีต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมกับการทำงานเพื่อความเป็นธรรม


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงกรณีที่เรือตรีวิโรจน์ จงชาญสิทโธ ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ว่า เป็นเรื่องของคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท.ที่มีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เป็นประธานจะพิจารณา แต่เรื่องที่ต้องตรวจสอบเร่งด่วนคือ กรณีที่มีภาคเอกชนทั้งสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก สมาคมขนส่งสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง และสมาคมชิปปิ้งออกมากล่าวหาว่าต้องจ่ายส่วยในการใช้บริการท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งจะหารือกับพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมเพื่อตั้งคณะกรรมการจากกระทรวงคมนาคมเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ รวมถึงอาจจะต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมให้ข้อมูลในการตรวจสอบด้วย

"เมื่อผอ.วิโรจน์ลาออกแล้วก็ต้องถือว่าสหภาพฯได้สิ่งที่ต้องการไปแล้ว ตอนนี้ทางสหภาพฯก็ต้องหันมาดูตัวเองด้วยว่า การที่ผู้ประกอบการร้องเรียนมานั้น พนักงานกทท.ทำจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ เพราะประเด็นเรื่องจ่ายส่วยที่เอกชนกล่าวหาเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข กระทรวงจะเข้าไปดูเรื่องนี้เอง ผมซีเรียสเพราะทราบว่าส่วยเป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในท่าเรือมานาน"นายชัชชาติกล่าว
นายชัชชาติยืนยันว่า ไม่มีนโยบายให้เรือตรีวิโรจน์ลาออก เพราะเห็นว่า หากเรือตรีวิโรจน์มีปัญหาบริหารงานบกพร่อง บอร์ดกทท.ต้องรู้และสามารถพิจารณาได้เลย ไม่ต้องให้สหภาพฯกทท.ออกมาขับไล่ และไม่อยากให้กลายเป็นผอ.กทท.ลาออกเพราะถูกสหภาพฯกดดัน ซึ่งจะส่งผลไปถึงรัฐวิสาหกิจอื่นที่จะบริหารงานได้ยากตามไปด้วย โดยส่วนตัวทราบเรื่องที่เรือตรีวิโรจน์ต้องการลาออกเมื่อช่วงค่ำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ซึ่งประธานบอร์ดกทท.ชี้แจงว่า จะมีการพิจารณาในการประชุมบอร์ดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ส่วนตัวเห็นว่า เรือตรีวิโรจน์อาจมีเหตุผลส่วนตัว หรืออาจเบื่อกับสถานการณ์ ซึ่งจะต้องเร่งกระบวนการสรรหาผอ.กทท.คนใหม่เพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจ

ส่วนกรณีพนักงานฟ้องร้องเรียกค่าล่วงเวลา (โอที) นั้นนายชัชชาติกล่าวว่า เรื่องอยู่ในการพิจารณาของศาล ซึ่งปัจจุบันเห็นว่า กทท.ต้องมีหลักเกณฑ์ค่าโอทีที่ชัดเจน และเหมาะสม กับการทำงาน ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศด้วย เมื่อกฎระเบียบชัดทุกคนต้องปฏิบัติตาม

สำหรับกรณีส่วยท่าเรือนั้น นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานที่ปรึกษาและกรรมการสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก ที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยได้ออกมาระบุว่า ผู้ประกอบการต้องจ่ายส่วยในการใช้บริการ ตั้งแต่ผ่านเข้าใช้ท่าเรือ ยกสินค้าขึ้นลงเรือ เป็นต้น เป็นต้นทุนแฝงหรือส่วยที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายตู้ละ 300 บาทส่วนปัญหาการจ่ายค่าล่วงเวลา (โอที)ควรมีการตรวจสอบเพราะมีการเบิกเงินเกินจากที่ปฏิบัติงานจริง เช่นการให้บริการเครน ยกสินค้าหน้าท่า เป็นต้น ในขณะที่ นายอนันต์ รัตนพันธ์ ที่ปรึกษาประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กทท.ยอมรับว่า ส่วยมีจริงแต่เป็นการ

ที่มา -





'ชัชชาติ'ตั้งกก.สอบข้อเท็จจริงส่วยการท่าฯ

"ชัชชาติ"เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเรื่องส่วยภายในท่าเรือ พร้อมใช้วิกฤติผอ.กทท.ลาออก จัดระบบภายในกทท.ใหม่


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าท่าเรือออกระบุว่า พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เรียกรับผลประโยชน์ หรือส่วยจากผู้ประกอบการ โดยจะขอหารือกับพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการจากกระทรวงคมนาคมเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปัญหานี้มีการพูดกันมานาน ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้จัดระบบภายใน กทท. รวมทั้งหลังจากนี้จะต้องเร่งสรรหา ผู้อำนวยการ.กทท.คนใหม่ด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเรื่องส่วยนั้น ตนจะแต่งตั้งคนจากกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกรรมการ เพื่อให้การสอบสวนเกิดความเป็นธรรม และไม่ได้รับการกดดันจากภายใน กทท. เพราะหากแต่งตั้งคนใน กทท. เป็นกรรมการ อาจถูกตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใสได้ และสิ่งที่ กทท. จะต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องให้ความสำคัญเรื่องการปรับปรุงการทำงาน เพราะการที่ผู้ประกอบการออกมาเปิดเผยข้อมูลปัญหาส่วยนั้น แสดงว่าจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (สร.กทท.) เองก็ต้องช่วยตรวจสอบในข้อกล่าวหาจากกลุ่มผู้ประกอบการด้วยว่ามีมูลหรือไม่

ส่วนกรณีที่ เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการ กทท.ขอลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีปัญหาภายใน กทท.นั้น ที่ผ่านมาไม่เคยได้ยินว่าเรือตรีวิโรจน์ มีปัญหาในการทำงาน มีแต่สหภาพฯ เท่านั้นที่มาร้องเรียน และการลาออกของ ผอ.กทท.ก็ไม่อยากให้สังคม มองว่าลาออกเพราะถูกสหภาพฯกดดัน เพราะจะทำให้การบริหารงานลำบาก แต่เรื่องนี้ต้องดูเหตุผลของการลาออก ซึ่งการลาออกอาจเป็นเหตุผลส่วนตัว เพราะบางคนไม่อยากถูกกดดันจึงเลือกที่จะลาออก ดังนั้นเชื่อว่ากรณีนี้ไม่มีใครบังคับให้ลาออกได้

"ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ต้องว่ากันตามข้อเท็จจริงไม่ใช่เรื่องที่มากลั่นแกล้งกัน ส่วนปัญหาเรื่องการฟ้องร้องก็มีมานาน ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการในชั้นศาล ทุนฟ้องสูงถึง 3 พันล้านบาท จึงควรรอให้ศาลตัดสิน แต่หลังจากนี้การทำงานจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา รวมทั้งจะให้คณะกรรมการ กทท.ไปพิจารณาเรื่องปรับระบบการทำงานให้เหมาะสม กำหนดกฎระเบียบให้ชัดเจนและดูให้เหมาะสม"นายชัชชาติ กล่าว

ที่มา -