ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ชีวิตกลางทะเล "บุญล้อม เส็งสำราญ" 30 ปีบนแท่นขุดน้ำมั่น

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 07, 13, 19:21:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ในขณะที่ธุรกิจยานยนต์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจพลังงานก็ต้องเร่งพัฒนาตามความต้องการอย่างรวดเร็วเช่นกัน ปัญหาของอุตสาหกรรมพลังงานก็มีปัญหาไม่แตกต่างจากอุตสาหกรรมยานยนต์นัก


นั่นก็คือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หลายคนมองว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะต้องใช้วิศวกรจากต่างประเทศเพื่อมาดูแลงานเหล่านี้เท่านั้น แต่ในวันนี้มีคนไทยที่ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากต่างชาติ เป็นแบบอย่างของคนไทยที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติระดับโลกจนเป็นที่ไว้วางใจ

บุญล้อม เส็งสำราญ รักษาการผู้จัดการศูนย์เศรษฐพัฒน์ ศูนย์ฝึกอบรมช่างเทคนิคปิโตรเลียมแห่งแรกของประเทศ ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด วัย 57 ปีได้ถ่ายทอดเล่าเรื่องราวประสบการณ์กลางทะเลกว่า 30 ปีและแนวคิดที่จะทำให้เด็กไทยทุกคนเกิดแรงบันดาลใจ

บุญล้อมจบการศึกษาด้านช่างช่างยนต์ก่อนเข้าศึกษาต่อที่เทคนิคอุตสาหกรรมในระดับปวส.ที่เทคนิคกรุงเทพฯด้วยฐานะครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย จึงออกมาหางานทำ

เส้นทางการทำงานของบุญล้อม เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2523ขณะรับราชการในกรมชลประทานเกิดเห็นป้ายติดประกาศรับสมัครพนักงานของบริษัท ยูเนี่ยนออยล์ ออฟ ไทยแลนด์ ให้เงินเดือนสูงกว่าถึง 2 เท่า จึงเข้าไปสมัครจนได้รับการคัดเลือกเป็น "ปิโตรเลียมเทค รุ่นที่ 1 ของประเทศไทย"

นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในวันนี้บุญล้อมถือเป็นชาวไทยชุดแรกหนึ่งใน 45 คนที่เข้ามาสมัครและได้เป็นพนักงาน ผ่านการฝึกอบรมทางด้านปิโตรเลียมและเทคโนโลยีที่ศูนย์เศรษฐพัฒน์ สงขลา เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2523

ผ่านการเทรนนิ่งด้านภาษาอังกฤษ เทคนิคอลและอุปกรณ์การผลิตหนึ่งปีก็ได้ทำหน้าที่ยังแท่นขุดเจาะน้ำมันโดยย้อนวันวานให้ฟังว่า ตอนแรกจะต้องเทรนนิ่ง 1 ปีพอผ่านการเทรนและแยกแผนก ก็มาอยู่แผนก Production โดยเป็น Production Operator ต่อมาในปี 2524 ก็เริ่มทำงานลงไปที่แท่น โดยในยุคแรกๆเป็นการทำงานร่วมกับชาวต่างชาติผู้มีประสบการณ์ ทั้งชาวอเมริกัน อังกฤษ สกอตแลนด์ ทำหน้าที่เป็นลูกมือ ใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี จนเห็นความสามารถและเชื่อใจว่าคนไทยทำงานได้ จึงค่อยปล่อย จึงพัฒนาหาความรู้เรื่อยมาหลังจากได้รับความเชื่อมั่นจากชาวต่างชาติ

บุญล้อมก็ได้สัมผัสกับประสบการณ์การทำงานอีกรูปแบบหนึ่งบนแท่นขุดเจาะกลางทะเลเขาเล่าว่าตอนไปทำงานบนแท่นขุดเจาะกลางทะเลจะต้องนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปยังแท่นกลางทะเลอ่าวไทยใช้เวลาทำงาน 2 สัปดาห์ หยุดพัก 2 สัปดาห์ เหตุที่ผ่านงานหนักรวมทั้งความลำบากมาเยอะ การทำงานกับบริษัทเอกชนที่มีเครื่องมือที่ดีมีการอบรมชัดเจนเป็นระบบมาก จึงถือว่าไม่ได้หนักสำหรับตัวเอง

ประสบการณ์ด้านการทำงานกว่า 33 ปีของบุญล้อม แบ่งเป็น การเทรนนิ่ง 1 ปี เป็นเทรนเนอร์ 1 ปี ไปอินโดนีเซีย 1 ปี เท่ากับเหลือ 30 ปี บนผืนทะเลบุญล้อมบอกถึงจุดสำคัญที่เป็นการแจ้งเกิดของคนไทยในด้านการขุดเจาะน้ำมันคือ กระบวนการ Start up Field นั่นหมายถึงการเริ่มใหม่เลยคือการนำแท่นไปวาง เจาะท่อ ขุดหลุม นำก๊าซที่อยู่ใต้ดิน ผ่านสู่ในระบบถ้าพลาดอาจเกิดความเสียหายได้เป็นระบบใหม่ที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาทำ แต่คนไทยก็สามารถทำได้

"ต่อมาทางไพลินเป็นยูโนแคลเล็งเห็นว่าคนไทยมีประสบการณ์คิดว่าน่าจะทำได้ จึงลองให้โอกาสทีมของตนทำ Start upเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยในการขุดเจาะน้ำมันและสร้างความภาคภูมิใจให้เหล่าทีมงานทุกคนมาก" บุญล้อมกล่าว


บุญล้อมขยายความถึงความสำคัญของหน้าที่ช่าง การทำงานของช่างนั้นต้องทำร่วมกับวิศวกรอย่างสัมพันธ์กัน โดยคนที่เป็นวิศวกรปิโตรเลียมจะมีความรู้ในเชิงบริหารและจัดการธุรกิจ

ขณะที่ช่างจะมีความสามารถในการปฏิบัติภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติต้องประสานงานกันให้ได้โดยคุณสมบัติสำคัญของผู้ที่เป็นช่างเทคนิคปิโตรเลียม จะต้องมี คือ 1.แรงบันดาลใจอยากจะเป็นก่อน จากนั้นความเก่งความขยันจะตามมา 2.จะต้องไปเจอกัลยาณมิตรที่เป็นคนดี เป็นแบบอย่างในการพัฒนาตัวเรา ท่ามกลางการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง มักต้องเจอกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ในครั้งนั้นนับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ บุญล้อมให้อุทาหรณ์ว่า "ประมาณปี 2531 พายุเกย์ พัดผ่านเข้ามา ทำให้เรือเจาะสำรวจของเราลำหนึ่ง อับปางลง มีเพื่อนร่วมงาน เสียชีวิต 90 ศพ ถือเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ พวกเราเสียใจ อีกเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์รับ-ส่งพนักงานตก มีผู้เสียชีวิต 13-14 คน ตอนนั้นเป็นวันเปลี่ยนกะ ตนเองจึงไม่ได้ลงไปยังเเท่น เหตุการณ์เหล่านี้เตือนให้มีสติทุกครั้งเวลาปฏิบัติงาน "การเปลี่ยนแปลง คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่หารู้ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของธรรมชาติ ถ้าเราไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง หรือต่อต้าน จะอยู่กับสังคมโลกมนุษย์ไม่ได้ ส่วนเคล็ดลับทำงานนั้น ก็คือการ การเรียนรู้อย่างไม่มี อย่าไปกลัว อาย เวลาถาม บุคลากรเก่งๆขอให้ถามเราจะได้คำตอบและแนวทางในการนำมาปฏิบัติงานได้ชัดเจน การไม่รู้เป็นธรรมดา ที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าเราไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรต่างหาก (They don"t Know What they don"t Know)" บุญล้อมเผยเคล็ดลับความสำเร็จ

ที่มา : นสพ.มติชน

ที่มา -