ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เริ่มต้นการเชื่อมต่อระหว่างอ่าวเป่ยปู้ของกวางสีกับอาเซียน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 11, 13, 07:18:30 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมานี้ เรือสินค้าสิงคโปร์ลำหนึ่งแล่นเป็นเวลา 5 วันมาถึงท่าเรือชินโจวของเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกวางสี ซึ่งร่นเวลาได้ 5 วันเมื่อเทียบกับเส้นทางที่ต้องผ่านฮ่องกง นี่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จในการทดลองแล่นเรือระหว่างเขตชินโจวของกวางสีกับสิงคโปร์โดยตรง และก็แสดงให้เห็นว่า การเชื่อมต่อระหว่างเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ของกวางสีกับสิงคโปร์ได้เพิ่มเส้นทางใหม่ในการเชื่อมต่อกัน เมื่อปี 2012 เขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้บรรลุยอดการนำเข้าและส่งออกจำนวน 14,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.63 เท่าของช่วงก่อนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจดังกล่าวขึ้น นับเป็นเขตสาธิตที่ดีของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างแท้จริง


เมื่อเดือนมกราคม ปี 2008 จีนวางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้-กวางสีขึ้น และนำเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐอย่างเป็นทางการ แต่การที่เขตชนเผ่าส่วนน้อยที่ด้อยพัฒนาแห่งหนึ่ง ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างสรรค์เขตเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ 42,500 ตารางกิโลเมตรให้เป็นไปด้วยดี โดยไม่กระทบระบบการปกครองที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายิ่ง

ก่อนอื่น ต้องจัดตั้งเวทีที่มีรูปแบบหลากหลายและเปิดกว้างต่อภายนอก ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา งานเอ๊กซ์โปจีน-อาเซียนกับการประชุมสุดยอดการค้าการลงทุนจีน-อาเซียนถูกจัดขึ้นในเมืองหนานหนิงเป็นประจำทุกปี ถึงปัจจุบัน จีนกับประเทศต่างๆในอาเซียนได้มีความร่วมมือใน 20 กว่าด้าน และได้จัดตั้งกลไกการประชุมระดับรัฐมนตรี 12 ประการ ได้จัดตั้งเวทีความร่วมมือต่างๆ รวมถึงศูนย์จีน-อาเซียน ศูนย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจีน-อาเซียน และงานสัปดาห์แลกเปลี่ยนด้านการศึกษา เป็นต้น

ประการที่สอง ต้องยืนหยัดแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้เป็นสำคัญ ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา จีนได้จัดงบประมาณ 1 พันล้านหยวนทุกปี เพื่อเร่งการดำเนินโครงการสำคัญนี้


เจ้าหน้าที่ทางการกวางสีกล่าวว่า ในอนาคต จะเร่งการสร้างสรรค์พื้นที่ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างในเมืองหนานหนิง เขตสาธิตการบุกเบิกพัฒนาสำคัญระดับชาติเมืองตุงซิง นิคมอุตสาหกรรมเมืองชินโจวจีน-มาเลเซีย และนิคมอุตสาหกรรมกวนตันมาเลเซีย-จีน เป็นต้น เพื่อเปิดสถานภาพใหม่ของความร่วมมือกับอาเซียน และเร่งการสร้างสรรค์เขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ให้เป็นเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบบใหม่ของจีน

ที่มา -