ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

TTA เผยเมอร์เมดฯสั่งต่อเรือใหม่ 3 ลำรวม 1.45 หมื่นลบ.ทยอยส่งมอบปี 59

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 10, 14, 20:20:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เมอร์เมด มาริไทม์ ในกลุ่มของบมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ได้ลงนามในสัญญาสั่งต่อเรือขุดเจาะน้ำมันจำนวน 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฎิบัติการดำน้ำ 1 ลำ  มูลค่ารวมประมาณ 14,500 ล้านบาท โดยเรือขุดเจาะทั้ง 2 ลำจะทยอยส่งมอบได้ประมาณไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปี 59 ขณะที่เรือสนับสนุนการปฎิบัติการดำน้ำจะส่งมอบได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน


"การลงทุนสั่งต่อเรือใหม่ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถด้านงานวิศวกรรมใต้ทะเลและการให้บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่งของเมอร์เมด เพื่อรองรับการเติบโตและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น"นายเฉลิมชัย กล่าว

ทั้งนี้ หลังจากมีการส่งมอบเรือขุดเจาะใหม่ 2 ลำ ในปี 59 คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับ บมจ.เมอเมด มารีไทม์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ให้เติบโตเพิ่มอีก 10-15% และเมอร์เมดฯ มีแผนขายเรือขุดเจาะลำเก่าซึ่งมีอายุมากและไม่มีแท่นขุดเจาะออกไป 1 ลำในปีนี้ ชื่อ MTR 2 ส่วนจังหวะเวลาขึ้นอยู่กับการเจรจาราคาที่เหมาะสม

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า แนวโน้มของกิจกรรมการสำรวจและผลิตในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยผลักดันความต้องการใช้งานบริการนอกชายฝั่งให้สูงขึ้นตามไปด้วย แต่เรือขุดเจาะที่บริษัทมีอยู่อายุมากใกล้จะถึงกำหนดปลดระวางแล้ว จึงต้องสั่งต่อเรือลำใหม่มาทดแทน เนื่องจากเรือใหม่ๆ จะเป็นที่นิยมจากลูกค้ามากกว่า เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และประสิทธิภาพสูงกว่า และยังทำให้ได้รับอัตราค่าเช่าเรือรายวันที่สูงขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากสัญญาล่าสุดของบริษัท AOD ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนกับบริษัท ซีดริล ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการขุดเจาะในการนำเรือขุดเจาะสามขาที่เพิ่งได้รับมอบมา ไปให้บริการกับบริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย โดยเราได้รับค่าเช่าเรือในอัตราที่สูงมาก

ส่วนเรือ DSV ที่จะสั่งเพิ่มนั้น จะเป็นเรือ DSV ลำที่สี่ที่มาเสริมกองเรือบริการวิศวกรรมใต้น้ำทะเลของเมอร์เมด  เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของบริษัทน้ำมันรายใหญ่ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชีย  โดยในปัจจุบัน เรือ DSV สามลำแรกกำลังปฏิบัติงานอยู่ที่น่านน้ำอินโดนีเซีย อ่าวไทย และทะเลเหนือ

"เมอร์เมด เลือกใช้บริการต่อเรือของบริษัท ไชน่า เมอร์แช็นท์ เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสร้างเรือที่คุณภาพสูง ประกอบกับมีสถานะทางการเงินที่มั่นคง รวมถึงมีแนวทางการทำงานที่เปิดเผยและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้เรามั่นใจว่าบริษัท ไชน่า เมอร์แช็นท์ จะต่อเรือได้ตามความต้องการของเมอร์เมดและสามารถส่งมอบเรือทั้งหมดให้ได้ตรงตามกำหนดการ"

เรือขุดเจาะใหม่ทั้งสองลำ ถูกออกแบบโดยบริษัท เนชั่นแนล ออยล์เวล วาร์โก้ (National Oilwell Varco  - NOV) ให้มีพื้นที่ใช้งานบนดาดฟ้าเพิ่มจากเรือรุ่นเดิมถึง 50% มีห้องพักรองรับเจ้าหน้าที่ได้ถึง 200 คน และมาพร้อมกับอุปกรณ์ซ่อมบำรุงแบบครบครัน ราคาต่อเรือมีมูลค่าลำละ 149 ล้านเหรียญสหรัฐ  ส่วนเรือสนับสนุนการปฎิบัติการดำน้ำลำใหม่มีมูลค่า 138 ล้านเหรียญสหรัฐ จะได้รับการติดตั้งยานสำรวจใต้ทะเล (ROV) และอุปกรณ์ขนส่งนักประดาน้ำคู่ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้การปฏิบัติงานใต้ทะเลเช่น งานสำรวจก่อนการติดตั้ง ยานสำรวจใต้ทะเล งานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ใต้น้ำและบริการประดาน้ำ  สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ เมอร์เมด จะนำเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนก่อนหน้านี้จำนวน 176 ล้านเหรียญสหรัฐ ร่วมกับการหาเงินกู้ มาชำระค่าใช้จ่ายในการสั่งต่อเรือใหม่ในครั้งนี้

ที่มา -




เมอร์เมดฯ สั่งต่อเรือขุดเจาะน้ำมัน 14,500 ล้าน

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บมจ.เมอร์เมด มาริไทม์ หนึ่งในผู้ให้บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่งและบริการวิศวกรรมใต้ทะเลชั้นนำ และเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ได้ลงนามในสัญญา กับบริษัท ไชน่า เมอร์แช็นท์ อินดัสตรีส์ โฮลดิ้ง จำกัด เพื่อสั่งต่อเรือขุดเจาะน้ำมันจำนวน 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฏิบัติการดำน้ำ 1 ลำ มูลค่ารวมประมาณ 14,500 ล้านบาท


ทั้งนี้ แนวโน้มของกิจกรรมการสำรวจและผลิตในธุรกิจ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยผลักดันความต้องการใช้งานบริการนอกชายฝั่งให้สูงขึ้นตามไปด้วย แต่เรือขุดเจาะที่มีอยู่อายุมาก ใกล้จะถึงกำหนดปลดระวาง จึงต้องสั่งต่อเรือลำใหม่มาทดแทน

ที่มา -




TTA ดันเมอร์เมดฯ - พีเอ็ม โทรีเซน เอเซีย โฮลดิ้งเข้าตลาดหุ้นไทยปีนี้

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการนำ บมจ. เมอร์เมด มาริไทม์ ในกลุ่ม TTA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีนี้ ซึ่งจะเป็นการจดทะเบียนสองตลาด(Dual Listing)ควบคู่กับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

ราคาหุ้นเมอร์เมดฯ ในตลาดสิงคโปร์ช่วงต้นปีที่แล้วซื้อขายอยู่ในช่วง 28-30 เซนต์/หุ้น ขณะที่ผลประกอบการทำกำไรต่อเนื่อง โดยปี 56 มีกำไร 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 450 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นมาที่ 55 เซนต์/หุ้น หลังจากนักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้น และทำให้การเพิ่มทุนของเมอร์เมดฯ ในช่วงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จสามารถเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ครบทั้ง 100% โดยระดมทุนได้ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

"Dual Listing เป็นหนึ่งใน Strategic แต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะมี cash พร้อมอยู่แล้วโดยปัจจุบันมีมาร์เก็คแคปที่ 19,000 ล้านบาท"นายเฉลิมชัย กล่าว

นอกจากนี้ อยู่ระหว่างศึกษานำบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเซีย โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TTA ที่ถือหุ้น 100% ในบริษัท บาคองโก้ ทำธุรกิจผลิตปุ๋ยในเวียดนาม เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้ โดยคาดว่าจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) ในช่วงสิ้นเดือน ม.ค.นี้

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ในปีนี้ TTA คาดวังหว่าผลประกอบการจะพลิกเป็นกำไร จากปี 56 ที่ขาดทุน 5 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขาดทุนทางบัญชี แต่ปีนี้การบันทึกขาดทุนทางบัญชีหมดไปแล้ว ขณะที่ 3 ธุรกิจหลักก็สร้างผลกำไรได้ ทั้งธุรกิจเดินเรือ พลังงาน สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สัดส่วรายได้ประเภทละ 30% ที่เหลือเป็นธุรกิจอื่นๆ ซึ่งทุกธุรกิจมีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะ เมอร์เมดฯ สร้างผลกำไรกับ TTA ในปี 56 ราว 320 ล้านบาท จากการถือหุ้นในเมอร์เมดฯสัดส่วน 57.14% อีกทั้งในปี 57 ยังมีสัญญารับงานจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดิอาระเบียระยะยาว 5 ปี และร่วมลงทุนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของนอร์เวย์รับงานล่วงหน้า 3 ปีเป็นสัญญาที่มีรายได้เข้ามาแน่นอน

ส่วนธุรกิจเดินเรือของ TTA เองนั้น แนวโน้มค่าระวางเรือมีทิศทางที่ดี โดยขณะนี้ค่าระวางเรือได้ปรับตัวขึ้นมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในระดับ  9-9.5 พันเหรียญสหรัฐ/ลำ/วันไปแล้ว ซึ่งในจุดที่คาดการณ์ดังกล่าวเป็นจุดที่คุ้มทุน และในการทำสัญญากับลูกค้าก็มีอัตราค่าระวางเรือสูงกว่าระดับดังกล่าว

ขณะที่ธุรกิจปุ๋ยภายใต้บาคองโก้ก็เป็นกำไร และการลงทุนใน บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ก็หาทางพลิกผลประกอบการกลับมามีกำไรอยู่ โดยยืนยันว่าไม่มีแผนขายกิจการของ UMS ออกไปแต่อย่างใด

"ทุกธุรกิจอยู่บนความพร้อม ก็หวังปี 57 จะทำตัวเลขกลับมาเป็นบวก"นายเฉลิมชัย กล่าว

ที่มา -